รู้จักและรู้ใช้ IoT …ก้าวสำคัญของเกษตรกรไทย

รู้จักและรู้ใช้ IoT …ก้าวสำคัญของเกษตรกรไทย

“เทคโนโลยี IoT (Internet of Thing) ไปได้ทุกสายงาน จะทำสมาร์ทโฮม สมาร์ทอินดัสเทรียลก็ได้ แต่ผมมองว่าพื้นฐานของประเทศไทย คือ เกษตร ทำอย่างไรให้เกษตรกรรู้จัก IoT แล้วเอาไปใช้ประโยชน์” ด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศบวกกับความสนใจส่วนตัวในเรื่องเกษตร ทำให้ ผศ.ว่าที่ ร.ต.ภูมินทร์ ฮงมา คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม ไม่รีรอที่จะสมัครเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “ระบบเซนเซอร์ไร้สายสำหรับการติดตามสภาวะแวดล้อมในฟาร์มเพื่อการควบคุมและบริหารจัดการ” ของ สวทช. เมื่อปี 2560 “ช่วงนั้นเรื่อง IoT มาแรง ผมก็ซื้ออุปกรณ์ที่มีขายตามท้องตลาดมาลอง แต่ไม่ค่อยเสถียร ถ้าอยากได้ของดี ราคาก็แพงมาก ก็มีคำถามว่าแล้วของไทยไม่มีเหรอ จนได้มาอบรมและรู้ว่ามี TMEC ของ สวทช. ที่ทำเซนเซอร์วัดความชื้นดินขึ้นเอง

“ข้อมูล” อาวุธสำคัญของเกษตรยุคใหม่

“ข้อมูล” อาวุธสำคัญของเกษตรยุคใหม่

ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ “ไร่เพื่อนคุณ ผักและผลไม้ไร้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 100%” ริมถนนโชคชัย-เด่นอุดม อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เชื้อชวนให้คนรักสุขภาพแวะจับจ่ายผลผลิต ภายในพื้นที่ 26 ไร่ถูกจัดสรรเป็นโรงเรือนเพาะปลูก 48 โรงเรือนที่หมุนเวียนปลูกพืชหลักอย่างเมล่อนและแตงโม สลับกับพืชผักอย่างถั่วฝักยาว คะน้า กวางตุ้ง แตงกวา ขณะที่ด้านหน้ามีห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพพืชผัก ห้องประชุม ร้านค้าและร้านอาหาร “ไร่เพื่อนคุณ” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2558 โดย มงคล สุระสัจจะ อดีตข้าราชการที่เห็นปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ การกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง รวมถึงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เขาจึงตั้งใจที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณทำศูนย์เรียนรู้ให้เกษตรกร โดยยึดแนวทางสำคัญ “3 ปลอดภัย 3 เอาชนะ” คือ เกษตรกรปลอดภัย สิ่งแวดล้อมปลอดภัย ผู้บริโภคปลอดภัย และเอาชนะกลไกตลาด

รู้จัก “บิวเวอเรีย” อย่างเข้าใจ จัดการศัตรูพืชด้วยความรู้

รู้จัก “บิวเวอเรีย” อย่างเข้าใจ จัดการศัตรูพืชด้วยความรู้

“ผมไม่ได้มองว่าต้องประสบความสำเร็จที่รุ่นผม แต่ทำเพื่อสร้างพื้นฐานให้รุ่นต่อไป การทำเกษตรทุกวันนี้สาหัสทั้งจากการใช้ยาเคมี ปัจจัยการผลิตและภูมิปัญญาที่หายไป แล้วก็คนไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นต้นเหตุด้วย …อาชีพเกษตรยังต้องอยู่กับประเทศ ความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีจะสร้างความยั่งยืนให้เกษตรได้” ชนะพล โห้หาญ อดีตพนักงานบริษัทที่หันมาทำสวนผลไม้ตั้งแต่ปี 2543 บนพื้นที่ 16 ไร่ของภรรยา ในตำบลตรอกนอง อ.ขลุง จ.จันทบุรี เริ่มต้นทำสวนมังคุดด้วยความรู้ที่เท่ากับศูนย์ อาศัยขอความรู้และทำตามเกษตรกรเพื่อนบ้าน แต่ผลผลิตกลับได้ไม่เท่าเขาและยังเสียหายมากกว่า “ช่วง 3-4 ปีแรกยังใช้สารเคมี ทำสวนแบบไม่มีความรู้ ทำตามเขา ใช้ยาเคมี ก็ใช้ไม่เป็น จนมีช่วงที่เกษตรกรตื่นตัวเรื่องน้ำหมักชีวภาพ ได้ไปอบรม ก็รู้สึกว่าตรงจริตเรา ไม่ต้องซื้อ ใช้วัตถุดิบในสวนมาใช้ได้” ชนะพล เริ่มใช้น้ำหมักชีวภาพในสวนโดยลดสัดส่วนการใช้สารเคมี เพื่อตอบโจทย์ “ทำอย่างไรให้ได้ผลผลิต” ซึ่งเขาก็ไม่ผิดหวัง และเห็นคล้อยตามเกษตรกรคนอื่นที่ว่า “ผลผลิตดีขึ้นเพราะน้ำหมัก” แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่

กว่าจะเป็น “ไม้ผลอินทรีย์” บนเส้นทางของการ “เรียนรู้”

กว่าจะเป็น “ไม้ผลอินทรีย์” บนเส้นทางของการ “เรียนรู้”

“ทุเรียน สื่อถึงไม้ผลที่ปลูกในระบบอินทรีย์ยากที่สุด ส่วนผึ้ง เป็นตัวแทนแมลงที่ดีในระบบนิเวศ” รัฐไท พงษ์ศักดิ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรเพื่อสุขภาพบ้านปัถวี อ.มะขาม จ.จันทบุรี บอกถึงความหมายของโลโก้ “ปัถวีโมเดล” ที่มีสมาชิก 22 สวนในอ.มะขาม จ.จันทบุรี และเครือข่ายอีกกว่า 20 สวนจาก 6 อำเภอในจังหวัดจันทบุรีที่ผลิตผลไม้อินทรีย์ภายใต้มาตรฐาน Organic Thailand รัฐไท เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาพืชอินทรีย์ ปี 2562 เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่พลิกวิถีการทำสวนไม้ผลจากระบบเคมีเป็นระบบอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2541 ด้วยเหตุผลที่ไม่ต่างจากคนหัวใจอินทรีย์อีกหลายคน นั่นคือ ผลกระทบต่อสุขภาพ เขาเริ่มต้นจากหยุดการใช้สารเคมี ปรับลดการใช้ปุ๋ยเคมี และแสวงหาสิ่งที่จะทดแทนสารเคมีกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช โดยหาความรู้จากทุกแหล่งทั้งจากปราชญ์ชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรอิสระอย่างศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ที่ทำให้เขาได้แนวคิด “ศรัทธาว่าต้องทำได้”

สานต่อ “ผ้าทอโบราณ” ด้วยความรู้และเทคโนโลยี

สานต่อ “ผ้าทอโบราณ” ด้วยความรู้และเทคโนโลยี

“ผ้าสมัยยุค 1.0 แต่เดี๋ยวนี้ยุค 4.0 แล้ว เราจึงต้องปรับตัว การอนุรักษ์ผ้า ไม่ใช่แค่ทำผ้านุ่งผ้าผืน ทำแค่นั้นเท่ากับรอเวลาให้กลุ่มตาย ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ถ้าทำแล้วต่อยอดพัฒนา ชีวิตเขาต้องดีขึ้นด้วย” เกษม อินทโชติ กำนันตำบลบ้านปึก อ.เมือง จ.ชลบุรี หัวเรือใหญ่ผู้ต่อลมหายใจผ้าทอบ้านปึก-อ่างศิลา หรือ “ผ้าทอคุณย่าท่าน” ให้มุมมองต่อการสืบสานผ้าทอลายโบราณของชุมชน ในอดีตชุมชนบ้านปึกประกอบอาชีพทำนา ทำน้ำตาลโตนด ทำสวนมะพร้าว และงานหัตถกรรมผ้าทอที่มีประวัติความเป็นมากว่าร้อยปี จากอาชีพเสริมที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานแก่ชาวบ้าน กลายเป็นอาชีพหลักให้หลายครัวเรือน จวบจนกาลเวลาแปรเปลี่ยน งานผ้าทออันเป็นเอกลักษณ์เริ่มเลือนลาง เหลือช่างทอน้อยคนที่ยังทอผ้าส่งขายตลาดอ่างศิลา แม้วันนี้ สาย เสริมศรี หรือป้าไอ๊ หนึ่งในสองช่างทอท้องถิ่นและผู้ร่วมก่อตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านปึก

ยกระดับอาชีพกลุ่มสตรี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ยกระดับอาชีพกลุ่มสตรี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

“ผ้าล๊อตเดียวกัน สีเหมือนกัน ตัดเย็บเหมือนกัน ระยะเวลาผ่านไปสักระยะ ผ้าที่ไม่ได้เคลือบด้วยเทคโนโลยีนาโน หมองคล้ำ ไม่ขาวสดใสเหมือนผ้าที่ผ่านการเคลือบคุณสมบัติพิเศษ” “เราไม่เคยรู้เลยว่าแค่เปลือกผลไม้ ใบไม้ สามารถให้สีสันที่สวยงาม เพิ่มมูลค่าให้เสื้อเราได้ตัวละหลายร้อยบาท” คำบอกเล่าจาก เจษฎา ปาระมี ประธานกลุ่มปิ๊กมาดี จ.ลำปาง และ ดรุณี ภู่ทับทิม ประธานกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าแฟชั่นมุสลิมตำบลหินตก จ.นครศรีธรรมราช สองกลุ่มอาชีพจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ที่เข้าร่วมโครงการยกระดับอาชีพกลุ่มสตรีด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) เพื่อยกระดับการผลิตสิ่งทอของชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่ม จากจุดเริ่มที่เป็นเพียง “ศูนย์ประสานเพื่อความช่วยเหลือผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส” ส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานท้องถิ่น เจษฎา ปาระมี และ กฤษฎา เทพภาพ สองหนุ่มนักพัฒนาของตำบลวอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ได้จดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์เมื่อปี 2559 ในนาม “ปิ๊กมาดี” ที่สื่อความถึงการที่ผู้พิการ

“Inspector” ผู้ปิดทองขับเคลื่อน “ข้าวอินทรีย์”

“Inspector” ผู้ปิดทองขับเคลื่อน “ข้าวอินทรีย์”

การปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวเพื่อให้ได้มาตรฐาน Organic Thailand ภายใต้โครงการเกษตรอินทรีย์ล้านไร่ของภาครัฐ กำหนดระยะเวลาปรับเปลี่ยนไว้ 3 ปี แบ่งเป็น ระยะปรับเปลี่ยนปี 1 (T1) ระยะปรับเปลี่ยนปี 2 (T2) และระยะปรับเปลี่ยนปี 3 (T3) มีข้อกำหนดปฏิบัติและการตรวจสอบที่เข้มข้นขึ้นในแต่ละระยะ และที่สำคัญเป็นการตรวจรับรองแบบกลุ่ม นั่นหมายถึงสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องผ่านการตรวจ หากคนใดคนหนึ่งไม่ผ่าน ทั้งกลุ่มจะไม่ได้รับการรับรอง สมาชิกจึงต้องร่วมแรงร่วมใจปฏิบัติให้ได้ตามข้อกำหนด โดยมีผู้ตรวจสอบภายใน หรือ Inspector ประจำกลุ่ม ทำหน้าที่ทั้ง “ผู้ตรวจ” และ “ผู้ขับเคลื่อน” ให้การผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเดินหน้าได้สำเร็จ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดอบรมให้ความรู้ “กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อขอรับรองกระบวนการกลุ่ม” และ “การตรวจรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์แบบกลุ่ม เพื่อสร้างผู้ตรวจสอบภายในองค์กร

“ข้าวเหนียวธัญสิริน” ต้านทานโรคไหม้ หอมนุ่มนาน อีกทางเลือกของผู้ปลูกผู้บริโภค

“ข้าวเหนียวธัญสิริน” ต้านทานโรคไหม้ หอมนุ่มนาน อีกทางเลือกของผู้ปลูกผู้บริโภค

กลางปี 2562 สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านร่องคำ ต.ป่าสังข์ อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด กว่า 30 คน ซึ่งปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ได้เข้าร่วมอบรม “การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี” ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จัดขึ้น นอกจากได้เรียนรู้การทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ตั้งแต่กระบวนการเตรียมแปลง การเก็บเกี่ยว และการผลิตเพื่อจำหน่ายอย่างถูกต้องตาม พรบ. เมล็ดพันธุ์ข้าว แล้ว ในวันนั้นพวกเขายังได้รู้จักพันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า “ธัญสิริน” “เขาบอกว่าต้นแข็งแรง ไม่ล้ม ให้ผลผลิตเยอะ ต้านทานโรคด้วย สนใจที่ต้นไม่ล้มนี่ล่ะ” สุพัฒน์ ศิลศร ประธานกลุ่มฯ ย้อนความถึงจุดเด่นของสายพันธุ์ข้าวนี้ที่ดึงดูดความสนใจให้เขาและสมาชิก ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นพันธุ์ข้าวขึ้นชื่อในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อจำหน่าย แต่สำหรับการบริโภคนั้น “ข้าวเหนียว” เป็นอาหารหลักของคนแถบนี้ ซึ่งข้าวเหนียว

สถานีปูนาเมืองบัว: เรียนรู้เพื่อรักษาและต่อยอด

สถานีปูนาเมืองบัว: เรียนรู้เพื่อรักษาและต่อยอด

“เลี้ยงปูนาปีแรกเหมือนคนบ้า อยู่คอกปูทั้งวัน ส่องไฟฉายดูพฤติกรรมปูตลอด จะไปไหนก็ห่วงก็คิดถึง” ประชา เสนาะศัพท์ และปรีชา ยินดี คู่หูผู้เลี้ยงปูนา เล่าถึงความผูกพันที่เกิดขึ้นกับสัตว์ตัวน้อยนี้ ในวันที่พวกเขาเริ่มต้น “เลี้ยงปูนา” เพื่อหวังอนุรักษ์ ประชา หนุ่มสุรินทร์มาเป็นเขยเมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด มาเกือบ 20 ปี เขาเล่าว่า แต่ก่อนที่นี่ปูนาเยอะมาก แต่ช่วง 10 ปีหลัง ปูหายหมดเพราะยาฆ่าปู เพื่อไม่ให้ปูกัดต้นข้าว ถึงแม้ว่าจะไม่มีปูแล้ว แต่ชาวบ้านยังหว่านยา เพื่อความมั่นใจ เมื่อสัตว์ที่เป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศการทำนาข้าว ถูกจัดให้เป็น “ศัตรูพืช” ของนาข้าว และวิถีการทำนาที่ใช้สารเคมี จำนวนปูนาจึงลดน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงวงจรในระบบนิเวศจะแหว่งวิ่น หากยังสะเทือนถึงวิถีการดำเนินชีวิตผู้คนไม่น้อยที่มี “ปูนา” เป็นวัตถุดิบในมื้ออาหาร