ทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยความรู้และเชื่อมั่น

ทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยความรู้และเชื่อมั่น

‘เซ่ง ผลจันทร์’ ‘ขวัญเรือน นามวงศ์’ และ ‘ธนากร ทองศักดิ์’ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์ที่ได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์และการผลิตพืชผักจากโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ที่มุ่งให้เกษตรกรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาปรับประยุกต์การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยที่ได้มาตรฐานและคุณภาพ เกิดการพึ่งพาตนเอง สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แม้ล่วงสู่วัย 62 ปี เซ่ง ผลจันทร์ หรือลุงเซ่ง สมาชิกสหกรณ์ผลิตผักน้ำดุกใต้ จำกัด อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ดูแลจัดการแปลงผักขนาดพื้นที่ 200 ตารางวา ตัดผักส่งสหกรณ์ฯ สัปดาห์ละ 3 วัน และผลิตผักส่งตามออเดอร์จากท็อปส์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ได้ไม่ขาด มีรายได้หลักหมื่นต่อเดือน

“ผักสดคุณภาพ” ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าและ “คนปลูกมีความรู้”

“ผักสดคุณภาพ” ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าและ “คนปลูกมีความรู้”

กลางปี 2562 ดิเรก ขำคง เจ้าของฟาร์ม Be Believe Organic Farm จ.ราชบุรี และ ภัทรนิษฐ์ ภุมมา เจ้าของสวนกล้วยภัทรนิษฐ์ จ.นครปฐม ต่างเป็นตัวแทนของกลุ่มภายใต้เครือข่ายสามพรานโมเดล เข้าร่วมอบรม “การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์คุณภาพดีไว้ใช้เอง” ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใครจะคิดว่าหลังการอบรมวันนั้นเพียง 6 เดือน ชีวิตของเขาทั้งสองได้เปลี่ยนไป ดิเรก อดีตวิศวกรหนุ่มที่อิ่มตัวกับงานประจำ จับพลัดจับผลูเดินบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์กับผลผลิต “ต้นอ่อนผักบุ้ง” ที่เขาและภรรยาใช้เวลาถึงสองปีลองผิดลองถูกเพื่อหวังเป็นอาชีพใหม่ “แฟนผมแพ้เคมีทุกอย่าง แม้แต่ผงชูรส ตอนนั้นต้นอ่อนผักบุ้งมีน้อย เป็นต้นสั้นและใช้เคมี เรามองว่าถ้าปลูกเป็น ใช้เวลา 7 วันก็สร้างรายได้ แต่ข้อมูลการปลูกต้นอ่อนผักบุ้งแทบไม่มี เราต้องลองผิดลองถูกกันเอง ทิ้งไปเยอะมาก กว่าจะได้ความยาวต้นที่เหมาะ

ถั่วเขียว KUML …จากพืชหลังนา สู่สินค้าส่งออก

ถั่วเขียว KUML …จากพืชหลังนา สู่สินค้าส่งออก

“ผมเห็นกองถั่วเขียวก็นึกย้อนไปสมัยเด็ก เราเคยรับจ้างเก็บถั่ว แล้วแถวนี้ก็ไม่เคยมีคนค้าถั่ว น่าจะเป็นไปได้ที่จะลองทำ แล้วยังได้ช่วยชุมชนให้มีรายได้เสริม แทนที่จะทิ้งนาไว้เฉยๆ หรือรอความช่วยเหลือจากรัฐบาล”  มนตรี สมงาม ลูกหลานเกษตรกรบ้านหนองผักนาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี คนรุ่นใหม่ที่เชื่อมต่อถั่วเขียวจากแปลงนาสู่บริษัทแปรรูป เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนบ้านเกิด หลังหาข้อมูลและติดต่อจนได้บริษัทรับซื้อถั่วเขียวเพื่อแปรรูป เขากลับมาชักชวน นิมิตร สว่างศรี ผู้เป็นลุงและเป็นแกนนำเกษตรกรบ้านหนองผักนาก ซึ่งปลูกถั่วเขียวไว้บำรุงดินและบริโภคอยู่แล้ว “ตอนนั้นผมเพิ่งลองส่งถั่วเขียวให้ตลาดที่อำเภอชัยบาดาล จ.ลพบุรี เขาให้ราคา 32 บาท/กก. ซึ่งสูงมาก พอมนตรีมาชวนให้ส่งกับบริษัทที่เขาติดต่อได้ ให้ราคาพอกันและยังมีรถมารับถึงที่ ผมก็ตอบตกลงและไปชวนชาวบ้านให้ปลูกถั่วเขียว” ช่วงปี 2558 นิมิตร และชาวบ้านอีกสองรายเริ่มผลิตถั่วเขียวส่งให้ มนตรี โดยปลูกสายพันธุ์ชัยนาท 84-1 พื้นที่ผลิตประมาณ 100 ไร่ ได้ผลผลิตรอบแรกราว

แปลง “ความรู้สึก” เป็น “ค่าตัวเลข” เพิ่มคุณภาพให้สวนทุเรียน

แปลง “ความรู้สึก” เป็น “ค่าตัวเลข” เพิ่มคุณภาพให้สวนทุเรียน

“เกษตรกรควรเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้และมีความอยากเรียนรู้” สมบูรณ์ งามเสงี่ยม เจ้าของสวนทุเรียนบัวแก้ว และรองประธานกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียนบ้านวังจันทร์ ต.วังจันทร์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ให้มุมมองการทำเกษตรในยุคสมัยนี้ “คนทำสวนที่ทำตามพ่อแม่มา ถามว่าปีนี้คิดว่าจะได้ทุเรียนเท่าไหร่ ไม่รู้ จะออกดอกเมื่อไหร่ ไม่รู้ แต่ตัวผมทำสวนเป็นธุรกิจ ต้องคาดการณ์ว่าจะต้องได้เท่าไหร่” ด้วยบุคลิกที่เป็นนักทดลองและมองหาวิธีที่จะทำให้การทำสวนทุเรียนได้ทั้งคุณภาพและราคา สมบูรณ์และภรรยาตัดสินใจทำสวนทุเรียนนอกฤดูเมื่อเกือบสิบปีก่อน เพื่อหนีปัญหาผลผลิตทุเรียนในฤดูที่ล้นตลาดและราคาตก ท่ามกลางเสียงคัดค้านและคำสบประมาท เขาและภรรยาไม่ตอบโต้ แต่ลงมือทำให้เห็นจากพื้นที่ 24 ไร่ และเพิ่มเป็น 70 ไร่ในปัจจุบัน สร้างรายได้ถึงสิบล้านบาทต่อปี แม้ประสบความสำเร็จจากการทำสวนทุเรียนนอกฤดู แต่ สมบูรณ์ ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ยังคงเปิดโอกาสให้ตัวเองรับความรู้ใหม่ๆ มาทดลองและปรับใช้กับสวนทุเรียนของเขา ดังที่เขายินดีให้ใช้ต้นทุเรียน 30 ต้น บนพื้นที่ 2 ไร่

จุดเปลี่ยนชีวิต..จุดพลิกเกษตรกร

จุดเปลี่ยนชีวิต..จุดพลิกเกษตรกร

อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ขึ้นชื่อว่าเป็นพื้นที่ห่างไกลติดชายแดนอันดับต้นๆ ของประเทศ หากเดินทางต่อตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1328 จะยิ่งเข้าใกล้แม่น้ำเหืองซึ่งคั่นพรมแดนระหว่างไทยและ สปปป.ลาว เป็นที่ตั้งของบ้านห้วยน้ำผักและบ้านบ่อเหมืองน้อยซึ่งกองทัพภาคที่ 2 ขอจัดตั้งหลังเสร็จศึกร่มเกล้าด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง พร้อมกับรับสมัครทหารกองหนุนเข้ามาอยู่หมู่บ้านละ 75 ครอบครัว จัดสรรที่ดินทำกินให้ครอบครัวละ 10 ไร่ และส่งเสริมให้ปลูกพืชตามแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 เนื่องด้วยศักยภาพพื้นที่และภูมิอากาศเหมาะแก่การปลูกพืชเมืองหนาว “ในพื้นที่ 10 ไร่ไม่ได้ให้อิสระในช่วงเริ่มต้น แต่บังคับให้ปลูกพืชยืนต้น คือ แมคคาเดเมียคนละ 50 ต้น อะโวคาโด พลับ ท้อ และพืชที่นำพันธุ์มาแจกให้ ส่วนพืชระยะสั้นเป็นสตรอว์เบอร์รี่ เสาวรสคนละ 2 ไร่ เพราะเป็นพืชที่ได้ผลผลิตเร็ว คนปลูกจะได้เลี้ยงตัวเองได้เร็ว นอกนั้นจะปลูกข้าวโพดหรืออะไรอื่นก็ได้”  กัลยณัฎฐ์

ชุดเทคโนโลยี สวทช. ที่บ้านหนองมัง

การเติบโตอย่างเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง บ้านหนองมัง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ด้วยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิต สร้างรายได้ และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้สมาชิก ผลผลิตของกลุ่มฯ ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภคทั้งในและนอกพื้นที่ และยังจัดส่งผลผลิตให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในกรุงเทพฯ กลุ่มฯ จัดทำกระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม หรือ PGS (Participatory Guarantee System) ได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทย (Organic Thailand) และมีทายาทเกษตรกรและนักการตลาดรุ่นใหม่ที่บ่มเพาะความรู้เพื่อต่อยอดการทำเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มฯ ให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน ชุดเทคโนโลยีที่ สวทช. ได้สนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์โนนกลาง บ้านหนองมัง ได้แก่ โรงเรือนพลาสติกเพื่อการผลิตพืชผักคุณภาพ โครงสร้างโรงเรือน ออกแบบให้มี 2 ชั้น เพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทอากาศ เมื่ออุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงขึ้น อากาศลอยตัวออกทางช่องลมระหว่างหลังคาทั้ง 2 ชั้น ระบบบริหารจัดการโรงเรือน ดิน หัวใจของการปลูกพืช