เตาชีวมวลปั้นมือ ประหยัดเชื้อเพลิง ทำง่าย รายได้งาม

เตาชีวมวล

การเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรของชุมชนในภาคเหนือส่งผลต่อปัญหาหมอกควัน เพื่อช่วยลดและแก้ปัญหาดังกล่าว ทางชุมชนบ้านสันติสุข ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมกับสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีเตาชีวมวลเชื้อเพลิงซังข้าวโพด หรือเตาชีวมวลปั้นมือสำหรับครัวเรือน ให้ประชาชนบ้านสันติสุขและชุมชนใกล้เคียง ซึ่งครัวเรือนกว่า 40% ในชุมชนใช้เตาชีวมวลอยู่แล้ว จากการเรียนรู้นี้ชาวบ้านสามารถนำความรู้ไปพัฒนาการผลิตเตาชีวมวลปั้นมือไว้ใช้ในครัวเรือนและจำหน่าย เตาชีวมวลเชื้อเพลิงซังข้าวโพดไม่เพียงช่วยลดปัญหาการเผาทำลายซังข้าวโพด แต่ด้วยคุณสมบัติที่โดนเด่นของเตาสามารถให้พลังงานความร้อนได้มากกว่าเตาทั่วไป จึงช่วยลดการใช้ฟืนได้กว่าครึ่งหนึ่ง ชุมชนบ้านสันติสุขจึงได้จัดตั้ง “กลุ่มเตาชีวมวลปั้นมือบ้านสันติสุข” เพื่อผลิตเตาจำหน่าย ในระยะเพียงไม่ถึงสองเดือนหลังจากการได้รับความรู้จากการฝึกอบรม กลุ่มฯ ได้พัฒนาทักษะการปั้นเตาจนชำนาญ สามารถปั้นเตาได้อย่างสวยงามและมีคุณภาพ จนมีผู้สนใจสั่งซื้อหลายสิบใบ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาต่อยอดให้มีหูจับเตาเพื่อความสะดวกในการขนย้าย ทาสีเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ สวยงาม แม้ว่าราคาขายจะใกล้เคียงกับเตาอั้งโล่ในท้องตลาด แต่การใช้งานดีกว่าเนื่องจากอุณหภูมิความร้อนคงที่กว่า โดยเฉพาะใช้งานประเภทต้ม ปิ้งย่าง นึ่งข้าวเหนียว นายประวิต บุญมา หนึ่งในผู้ที่เข้าร่วมอบรมเทคโนโลยีเตาชีวมวลเชื้อเพลิงซังข้าวโพด สร้างรายได้จากการปั้นเตาชีวมวลจำหน่ายให้ผู้สนใจทั้งในและนอกชุมชน เขาเล่าว่า

อื่นๆ

อื่นๆ

เกริ่น บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ เตาชีวมวลปั้นมือ ประหยัดเชื้อเพลิง ทำง่าย รายได้งาม สิ่งพิมพ์ ผลผลิตจาก ‘เตาอิวาเตะ’ ‘เตาอิวาเตะ’ เตาเผาถ่านคุณภาพ เตาเผาถ่าน 200 ลิตร เตาชีวมวล ประหยัดเชื้อเพลิง ทำง่าย สร้างรายได้ วิดีโอ พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน เตาชีวมวลแบบปั้นมือได้ด้วยตนเอง การทำเตาชีวมวลเชื้อเพลิงซังข้าวโพด1

สานต่อเกษตรอินทรีย์..ตามแม่บอก-พ่อพาทำ

สานต่อเกษตรอินทรีย์..ตามแม่บอก-พ่อพาทำ

“ถ้าคนรุ่นใหม่สนใจงานด้านการเกษตรจะช่วยต่อยอดงานเกษตรได้ เพราะคนรุ่นใหม่เข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ได้ง่ายกว่า เวลามีข่าวหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาก็จะเปิดรับและปรับตัวได้ง่ายกว่า” ในยุคที่โลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี มีคนรุ่นใหม่ไม่มากนักที่สนใจหรืออยากทำงานกลางแดดแบบหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน หนึ่งในนั้นมี “น้ำ” กัลยาณี เหมือนมาต ทายาทเกษตรกรผู้มีทั้งพ่อและแม่เป็นต้นแบบการดำเนินชีวิต จนเป็นแรงบันดาลใจให้เธอตัดสินใจเลือกเรียนคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านเกิดที่บ้านโคกสว่าง ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี กัลยาณี เป็นลูกสาวคนโตของ พ่อสุรทอนและแม่สำรอง เหมือนมาต งานของพ่อแม่ในความทรงจำครั้งเป็นเด็กของเธอ คือ การทำนาสลับกับปลูกพืชหลังนาและการใช้สารเคมีบนผืนนาหลายสิบไร่ “เห็นพ่อทำเกษตรโดยใช้เคมีมาตลอด หลังจากปลูกข้าวแล้วก็ปลูกพริกส่งขายตลาด พ่อมีอาการแพ้ถึงขั้นเลือดกำเดาไหล ส่วนมากมาจากการฉีดยาฆ่าแมลงจำพวกแมลงวันทองที่พบมากในพริก ต้องฉีดสัปดาห์ละครั้ง แม้จะป้องกันตัวเองแต่ก็ยังทำได้ไม่ได้ดี” ผลกระทบต่อสุขภาพในครั้งนั้นทำให้ สุรทอน ตัดสินใจหันหลังให้การทำเกษตรแบบใช้สารเคมีโดยเด็ดขาดก่อนตั้งต้นเดินหน้าทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง ปัจจุบัน สุรทอนและสำรอง เหมือนมาต เป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง ยืนหยัดปลูกข้าวและผักอินทรีย์ส่งขายเป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัวมาร่วม 14

ใช้ความรู้ปลูกผัก ที่ “รักษ์ศรีเทพ”

ใช้ความรู้ปลูกผัก ที่ “รักษ์ศรีเทพ”

“แต่ก่อนปลูกโดยไม่มีความรู้ ผลผลิตก็ได้ตามสภาพ ทำ 100 ได้ 50 พอมีความรู้ กล้าสวย ต้นใหญ่ แขนงโต ลูกใหญ่ ผลสวย ต้านทานโรค เข้าแปลงไปเห็นแล้วชื่นใจ” อนงค์ สอนชา เล่าด้วยรอยยิ้ม อนงค์เป็นหนึ่งในสมาชิก “สหกรณ์รักษ์ศรีเทพ” อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ จากวิถีชีวิตการทำเกษตรที่พึ่งพิงรายได้หลักจากพืชเชิงเดี่ยวอย่างไร่อ้อยมาทั้งชีวิต หันกลับมาปลูกพืชผักปลอดภัยหลังจากที่เห็น รจนา สอนชา ลูกสาวและสมาชิกคนรุ่นใหม่ของกลุ่ม ลงแรงทำโดยมีตลาดใหญ่รองรับ สภาพดินเสื่อมจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว การใช้สารเคมีทั่วพื้นที่ บวกกับราคาอ้อยที่ไม่แน่นอน เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ที่ตั้งใจกลับมาทำเกษตรที่บ้านเกิดต้องการเปลี่ยนแปลง พวกเขาจึงเลือกพืชผักเป็นทางออก “เป็นความตั้งใจที่จะทำปลอดภัย เรามานั่งคุยแลกเปลี่ยนกัน ไม่จำเป็นไม่อยากใช้สารเคมี เราใช้เองในแปลง เราก็กินเองจากแปลงเรา ถ้าเราต้องการอะไรที่ปลอดภัยสำหรับตัวเรา ก็ต้องปลอดภัยสำหรับคนอื่น ไม่ใช่คำพูดสวยหรู

“Bright ข้าวเม็ดเคี้ยว” ขายข้าวให้แตกต่าง

“Bright ข้าวเม็ดเคี้ยว” ขายข้าวให้แตกต่าง

ประสบการณ์เพียงไม่กี่ชั่วโมงจากการศึกษาดูงานที่ดินส่วนพระองค์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก ได้เห็นวิธีการปลูกข้าวต้นเดียวบนพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตร สร้างความประทับใจและเป็นแรงผลักดันให้ ปรีดาธพันธุ์ จันทร์เรือง อดีตผู้จัดการโรงงาน ดีกรีปริญญาโทด้านธุรกิจเทคโนโลยี หันมาเรียนรู้การทำเกษตรบนหลักเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมกับเก็บเกี่ยวความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านอยู่สองปี จนตัดสินใจละทิ้งเงินเดือนกว่าครึ่งแสนบาท กลับมาทำเกษตรที่จังหวัดชัยนาทเมื่อปี 2558 “ครอบครัวไม่เห็นด้วย แม่ก็เครียด เรียนจบมาทำงานเงินเดือนก็เยอะ เสียดายเงินเดือน การงานกำลังไปได้ดี แต่ผมคิดแล้วว่าทำเกษตรนี่ล่ะคือใช่ แต่ต้องทำเกษตรแบบใช้ความรู้และทำให้เป็นเกษตรเชิงอุตสาหกรรม ถึงจะรอด” “ทำข้าวให้มีคุณสมบัติเชิงยา” เป็นเป้าหมายที่ปรีดาธพันธุ์ตั้งไว้และลงมือทำด้วยการพลิกพื้นที่ 4 ไร่ที่ขอแบ่งจากครอบครัวทำเป็นนาอินทรีย์ โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้าน “ข้าวอินทรีย์ออริจิไรซ์ (Origi Rice)” ผลิตภัณฑ์แรกจากแปลงนาอินทรีย์ที่ขายผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และไลน์ ได้รับการตอบรับอย่างดี ออเดอร์สั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปรีดาธพันธุ์ตัดสินใจขอใช้พื้นที่นาอีก 17 ไร่ แต่ครั้งนี้ไม่มีเสียงคัดค้านใดๆ จากครอบครัว

เมื่อปุ๋ยดีๆ เปลี่ยนชีวิตมนุษย์เงินเดือน

เมื่อปุ๋ยดีๆ เปลี่ยนชีวิตมนุษย์เงินเดือน

    “เป็นเรื่องสำคัญถ้าเราจะเริ่มต้นทำในสิ่งที่เราไม่รู้จัก เราไม่ควรทดลองโดยที่ไม่มีหลักวิชาการ ถ้าทดลองเลี้ยงตามที่เราเรียนมา แล้วเกิดปัญหา เราพอจะรู้ว่าเราออกนอกกรอบอะไรไปบ้าง ก็พอจะหาแนวทางแก้ไขได้” คุณนุจรี โลหะกุล หรือคุณเจี๊ยบ ผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มไส้เดือนดินไม้งามและฟาร์มไรน้ำนางฟ้า ธุรกิจเกษตรที่เกิดจากการเข้าร่วมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก สวทช. จากมนุษย์เงินเดือนที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้ แต่ปลูกอย่างไรก็ไม่ออกดอกให้ชื่นชม คุณเจี๊ยบจึงเสาะหาความรู้จนได้อ่านเรื่องราวของ “ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน” และได้ทดลองหาซื้อมาใช้ ผลลัพธ์ที่ได้พาให้หัวใจคนรักต้นไม้เบิกบานเมื่อได้เห็นต้นไม้ผลิดอกสวยงาม แม้จะเจอ “ปุ๋ยดีๆ” ที่ต้องการแล้ว แต่คุณเจี๊ยบไม่หยุดเพียงเท่านั้น หากยังเสาะหาความรู้ของปุ๋ยดีๆ นี้ “เริ่มไปอบรมตั้งแต่ปี 2548 ไปเรียนทุกที่ที่มีสอนเรื่องไส้เดือนดิน ในช่วงนั้นก็มีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจะเป็นสายพันธุ์ขี้ตาแร่ และที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสายพันธุ์เอเอฟและขี้ตาแร่ พี่ไปอบรมกับอ.อานัฐที่แม่โจ้หลายรอบ แต่ละรอบก็ได้ความรู้และเทคนิคใหม่ๆ เรียนกลับมาก็มาฝึกเลี้ยงที่บ้านเริ่มจากกะละมัง ตู้ลิ้นชักพลาสติก ขยายมาเป็นบ่อวงซีเมนต์ 8 วง” ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่ผลิตได้จากการฝึกฝีมือ คุณเจี๊ยบทดลองใช้เองและนำไปแจกเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง นานวันเข้าทุกคนที่ได้ใช้ต่างติดใจ อยากได้ไปใช้เพิ่ม

ควบคุมทรงพุ่ม เพิ่มประสิทธิภาพผลิตทุเรียน

ควบคุมทรงพุ่ม เพิ่มประสิทธิภาพผลิตทุเรียน

ด้วยรสชาติและคุณภาพ “ทุเรียนไทย” ทำให้แนวโน้มความต้องการบริโภคทุเรียนทั้งในประเทศและต่างประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การดูแลเอาใจใส่และบริหารจัดการแปลงปลูกทุเรียนให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ (มากกว่าปริมาณ) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เกษตรกรชาวสวนไม่อาจมองข้าม แต่จากสภาพอากาศที่แปรปรวน การแพร่ระบาดของโรคและแมลง รวมถึงต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นในปัจจุบัน เป็นปัญหาที่เกษตรกรชาวสวนทุเรียนประสบ ซึ่ง “การควบคุมทรงพุ่มต้นทุเรียน” เป็นอีกหนึ่งทางออกของปัญหาให้เกษตรกรได้ ลดค่าแรง-โรคระบาด-ความเสียหาย ดร.ยศพล ผลาผล อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ได้ศึกษาวิจัยการควบคุมทรงพุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียน พบว่า การควบคุมทรงพุ่มมีความสัมพันธ์ต่อทั้งต้นทุนแรงงาน โรคแมลง และสภาพภูมิอาศ “ปัจจุบันต้นทุนแรงงานสูงขึ้น แรงงานที่มีทักษะในสวนทุเรียนหายากขึ้น และในอนาคตพื้นที่ปลูกทุเรียนจะเพิ่มขึ้น การแย่งชิงแรงงานที่มีทักษะก็จะมากขึ้น หรือแม้แต่การกลับคืนถิ่นของแรงงานเพื่อนบ้าน เป็นอีกแนวโน้มด้านแรงงานในสวนทุเรียนที่เกษตรกรเจ้าของสวนจะต้องพบเจอ เมื่อควบคุมทรงพุ่ม ต้นจะมีขนาดเล็กลง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปลูกทุเรียนก็จะลดลง เช่น การโยงผล การตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งดอกหรือผล การเก็บเกี่ยว เมื่อต้นเล็กลง

ทำน้อย มากด้วยคุณภาพ

ทำน้อย มากด้วยคุณภาพ

“ทำน้อยแต่มากด้วยคุณภาพผลผลิต ระบบจัดการที่เล็ก แต่เป็นระเบียบ”  เกล้า เขียนนุกูล สมาชิก “สวนภูภูมิ” บอกเล่าถึงแนวคิดการทำเกษตรเชิงท่องเที่ยวที่เป็นทั้งรีสอร์ทและสวนเกษตร โดยมี “สตอร์วเบอร์รี่อินทรีย์” เป็นผลผลิตขึ้นชื่อ “สวนภูภูมิ” เกิดขึ้นจากความตั้งใจและความชื่นชอบการทำเกษตรของ พันโทกิติภูมิ เขียนนุกูล อดีตข้าราชการทหารที่ตัดสินใจลาออกจากราชการเพื่อทำเกษตรเชิงท่องเที่ยวมากว่า 5 ปีที่บ้านเข็กกลาง อ.นครไท จ.พิษณุโลก บนพื้นที่ 20 ไร่ โดยมีโรงเรือนปลูกสตอร์เบอร์รี่ขนาด 1 ไร่ ก่อนจะโยกย้ายสมาชิกครอบครัวมาปักหลักทำรีสอร์ทได้เพียงสองปีที่ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ บนพื้นที่ 3 ไร่ พร้อมแปลงสตอร์วเบอร์รี่เพียง 1 งาน “สตอร์วเบอร์รี่อินทรีย์สวนภูภูมิ” เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบผลไม้เมืองหนาวนี้ ไม่เพียงปราศจากสารเคมี แต่ด้วยรสชาติที่เข้มข้น เนื้อแน่น หวานกรอบ ผลผลิตไม่เละ และเก็บได้นาน ทำให้มีลูกค้าสั่งจองตั้งแต่เริ่มปลูกและเฝ้ารอผลผลิตจากสวนแห่งนี้ทุกปี “เราไม่ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เคมีไม่ยุ่งเลย ใส่แต่ขี้หมูขี้ไก่ล้วนๆ จนคนม้งยังบอกว่าบ้า จะทำได้เหรอ แต่เราก็ได้ผลผลิต

เมื่อ “จุลินทรีย์” เปลี่ยนชีวิต

เมื่อ “จุลินทรีย์” เปลี่ยนชีวิต

จากคนที่ทำสวนลำไยมีรายได้เป็นแสนบาทต่อปีให้หยิบจับ รัตฑนา จันทร์คำ หรือ แม่หลวงอ้อ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ต.หนองตอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ใช้เวลาเรียนรู้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอยู่กว่า 7 ปี จึงตัดสินใจปรับเปลี่ยนจากเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรผสมผสาน “ไปอบรมแรกๆ ก็แย้งในความรู้สึกว่ามันดูกระจอก จะได้จริงเหรอ กระจอกคือรายได้นิดเดียว ขายลำไยปีนึงได้เป็นแสน เก็บผักได้วันละ 100-300 บาท ทำเหนื่อย รายได้น้อย แต่เป็นผู้ใหญ่บ้านถูกส่งไปอบรมเรื่อยๆ ก็ซึมซับว่าน่าจะดี จะดีจริงมั้ย ก็ต้องลงมือทำ พอมาทำก็ยากอยู่ ต้องใช้ความอดทน ความขยันและเรียนรู้ตลอด แต่ผลที่ได้ ทำแล้วคุ้ม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ เพราะไม่ใช้สารเคมี” วิถีการทำสวนลำไยที่พึ่งพาการใช้สารเคมี ทำให้สมาชิกในชุมชนได้รับผลกระทบเรื่องสุขภาพ ผลตรวจเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย แม่หลวงอ้อ ใช้เวลากว่า 2 ปี ลงมือทำและปรับเปลี่ยนการทำเกษตรในพื้นที่ 7 ไร่ของตนเองให้เป็นเกษตรผสมผสานเพื่อเป็นตัวอย่างให้สมาชิกได้เข้ามาเรียนรู้ จนเกิดเป็น “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านป่าลาน” ที่มีทั้งแปลงผักอินทรีย์