“ชันโรง”: ผึ้งจิ๋ว รายได้แจ่ม

“ชันโรง”: ผึ้งจิ๋ว รายได้แจ่ม

“ใช่ผึ้งมั้ย” “เก็บน้ำผึ้งขายได้มั้ย” คำถามยอดนิยมที่คุณวสันต์ ภูผา เกษตรกรสวนผลไม้และผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงชันโรง ได้ยินเสมอจากผู้มาเยี่ยมชม “ศูนย์สาธิตการเพาะเลี้ยงชันโรง (ผึ้งจิ๋ว)” ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม แต่กว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องชันโรงและมีศูนย์สาธิตเพาะเลี้ยงผึ้งจิ๋วแห่งใหญ่นี้ได้ ก็ไม่ใช่เรื่องจิ๋วๆ จาก “ผึ้ง” สู่ “ชันโรง” ตอบโจทย์สวนผลไม้ เช่นเดียวกับเกษตรกรทั่วไปที่ต้องการให้สวนผลไม้ตนเองมีผลผลิตเพิ่ม เมื่อรู้ว่าสวนลิ้นจี่ในพื้นที่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการเลี้ยง “ผึ้ง” ช่วยผสมเกสร คุณวสันต์ไม่รีรอที่จะเรียนรู้และลงทุนร่วมครึ่งล้านบาทเลี้ยงผึ้งในพื้นที่ของตน แต่กลับไม่เป็นดังที่คาดหวัง ด้วยพฤติกรรมของผึ้งที่จะผสมพันธุ์บนอากาศ จึงกลายเป็นอาหารอันโอชะของนกประจำถิ่นอย่าง “นกจาบคา” แม้สูญเงินจำนวนมากไปแล้ว แต่ด้วยความต้องการเพิ่มผลผลิตให้สวนผลไม้ตนเอง คุณวสันต์ย้อนนึกถึงแมลงผสมเกสรอีกชนิดหนึ่งที่คุ้นเคยมาแต่เด็ก “รู้ว่าชันโรงเป็นแมลงผสมเกสร ก็ไปแคะรังชันโรงที่อยู่ใต้เตียงนอนได้มา 4 รัง เอามาใส่รังที่เหลือจากการเลี้ยงผึ้ง ผ่านไป 6 เดือนจำนวนเพิ่มขึ้นเต็มรัง ก็ลองแยกรังเอง” แม้จะรู้ว่าชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรตระกูลเดียวกับผึ้ง เพียงแต่ไม่มีเหล็กไน

ยกดินขึ้นโต๊ะ…แล้วมาปลูกผักกัน

ยกดินขึ้นโต๊ะ…แล้วมาปลูกผักกัน

เมื่อพูดถึงการปลูกผักบนโต๊ะ เรามักจะนึกถึงการปลูกผักโดยไม่ใช้ดินหรือที่เรียกกันว่า ไฮโดรโพนิกส์ แต่ปัจจุบันการปลูกผักบนโต๊ะโดยใช้ดินเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น และหากจะปลูกผักบนโต๊ะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง จะปลูกอะไร ต้องทำอย่างไร …ไปหาความรู้กัน! รศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้คร่ำหวอดการปลูกพืชไฮโดรโพนิกส์และการปลูกพืชในระบบโรงเรือน บอกว่า ปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจการทำเกษตรมากขึ้น แต่หลายคนมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่และการจัดการดูแลแปลง “โต๊ะปลูกผัก” จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากความนิยมปลูกพืชไฮโดรโพนิกส์ ซึ่งไม่ต้องใช้ดินและสามารถดัดแปลงโต๊ะปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ แต่การปลูกพืชระบบนี้จะมีต้นทุนที่สูงกว่าปลูกบนดิน ต้องอาศัยความรู้และการดูแลเอาใจใส่อย่างดี ด้วยความตั้งใจที่อยากให้ผู้สนใจการทำเกษตรแต่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ สามารถเข้าถึงการปลูกพืชโดยมีต้นทุนไม่สูง อาจารย์บุญส่งจึงได้ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชบนโต๊ะจากระบบไฮโดรโพนิกส์เป็นการปลูกพืชโดยใช้ดินแทน ซึ่งพบว่าการปลูกพืชผักบนโต๊ะนั้นดูแลจัดการแปลงง่าย ห่างไกลแมลงศัตรูพืช มีวัชพืชและโรคระบาดน้อย และที่สำคัญสามารถเก็บผลผลิตได้เร็วขึ้น 5-7 วันเมื่อเทียบกับการปลูกผักบนดิน “การปลูกผักบนดินโดยเฉพาะในระบบผักอินทรีย์ แมลงและโรคบนดินจะเยอะ โดยเฉพาะหมัดกระโดด จากการทดลองปลูกผักบนโต๊ะที่มีความสูง 1 เมตรจากพื้นดิน ไม่พบแมลงชนิดนี้ เกษตรกรสามารถดูแลจัดการแปลงบนโต๊ะได้ง่าย

พลังกลุ่ม พลังเกษตรอินทรีย์…ไร้สูตรสำเร็จ

พลังกลุ่ม พลังเกษตรอินทรีย์…ไร้สูตรสำเร็จ

ธรรมชาติของการรวมกลุ่มก่อเกิดจากคนที่มีความคิดอ่านคล้ายกัน ยอมรับในข้อกำหนดหรือแนวทางที่ตกลงร่วมกัน เช่นเดียวกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง ที่หลอมรวมขึ้นจากสมาชิกผู้มุ่งมั่นทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี มีเจตจำนงแน่วแน่ในการลดใช้สารเคมี ปฏิเสธสารสังเคราะห์ เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งผู้ผลิตผู้บริโภค สร้างระบบนิเวศที่สมดุล ควบคู่กับการสร้างอาชีพที่มั่นคง และเป็นแบบอย่างการเรียนรู้แก่ผู้สนใจ กว่าสมาชิกจาก 14 ครัวเรือนจะฝังรากบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์ได้ แทบทุกคนเคยผ่านการทำเกษตรเคมีมาแล้ว บางคนต้องล้มป่วยเพราะผลจากการใช้สารเคมีอย่างหนักจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด ดังเช่น สุรทอน เหมือนมาต “ตอนทำเกษตรเคมีลงทุนเยอะ ทั้งทุน ทั้งสุขภาพ ทำไปทำมาไม่คุ้ม ตอนแรกดินยังดี แต่พอ 5 ปีขึ้นไปดินเริ่มเสีย พืชเริ่มเป็นโรค ยิ่งใช้สารเคมีหนัก จนมีอาการเหมือนมีลมดันในจมูกขึ้นไปสมอง หายใจไม่อิ่ม นอนก็ไม่อิ่ม ไม่เหมือนทำเกษตรอินทรีย์ใช้ลูกเก็บผักได้เพราะรู้ว่าปลอดภัย” ถวัลย์ ถีระทัน เป็นอีกคนที่ “เคยสนุกกับการทำเคมีและไม่รู้สึกว่าเป็นคนนำสารพิษมาให้ภรรยาและลูก” กระทั่งภรรยาแพ้สารเคมีอย่างหนักจนเข้าออกโรงพยาบาลประจำ จึงทดลองปลูกผักอินทรีย์ตามคำเชิญชวนของ ปิยะทัศน์ ทัศนิยม ผู้ก่อตั้งและประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง หลังจากปลูกผักอินทรีย์ขายได้ 2 ปี ถวัลย์มีรายได้มากกว่าอาชีพขายเสื้อผ้าเร่ที่ทำอยู่เดิม แถมได้สุขภาพที่แข็งแรงของภรรยากลับมา

“เลี้ยงผึ้ง” ที่ได้มากกว่า “น้ำผึ้ง”

้honey

    เรารู้จัก “ผึ้ง” ในฐานะแมลงผสมเกสรที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่ภายใต้เหล็กไนที่เป็นอาวุธประจำกาย แมลงตัวเล็กนี้ยังสัมพันธ์กับระบบนิเวศ ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน หรือแม้แต่งบประมาณค่ารักษาพยาบาลของประเทศ โดยมี “งานวิจัย” ที่เชื่อมโยงและสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่ามหาศาลของ “ผึ้ง” – – – – – – – – – – – – – –   พื้นที่แปลงสับปะรด 25 ไร่ ถูกแปลงสภาพเป็นพื้นที่เกษตรผสมผสาน ปลูกไม้ผลไม้ดอก พืชผัก เลี้ยงเป็ด วัว ฯลฯ ซึ่ง แมนรัตน์ ฐิติธนากุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 ต.บ้านคา อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ตั้งใจให้พื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ หวังช่วยปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำเกษตรเชิงเดี่ยวอย่างสับปะรดให้ชาวบ้าน

หมอนยางพาราบ้านแพรกหา ต้นแบบการแก้ปัญหาราคาน้ำยาง ด้วยการพึ่งพาตัวเอง

หมอนยางพาราบ้านแพรกหา ต้นแบบการแก้ปัญหาราคาน้ำยาง ด้วยการพึ่งพาตัวเอง

ในภาวะวิกฤติราคาน้ำยางตกต่ำ อนันต์ จันทร์รัตน์ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด หนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่ต้องการแก้ปัญหาราคาน้ำยางเช่นกัน ด้วยวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลและความมุ่งมั่น จึงเกิดเป็นธุรกิจแปรรูปน้ำยางพาราในระดับชุมชนแห่งแรกที่สามารถผลิตหมอนยางได้เองทุกกระบวนการ ตั้งแต่การรับน้ำยางสดจากสมาชิกไปจนถึงการผลิตเพื่อจำหน่าย พึ่งพาตัวเองและแก้ไขปัญหาราคาน้ำยางได้อย่างยั่งยืน ย้อนหลังไปเมื่อปี 2557 อนันต์ เป็นผู้ช่วยผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรพนมวังก์ จำกัด เขามีแนวคิดผลิตหมอนยางพาราเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางสด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคุณชาย คงแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ดำเนินการของบประมาณตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ปี 2558 (โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางพารา) จัดตั้งโรงงานผลิตหมอนและที่นอนยางพาราเพื่อสุขภาพ “โครงการที่ไม่มีวันเป็นไปได้ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เกษตรกรไม่มีทางทำได้” คือคำสบประมาทที่ได้ยินจนชินหู แต่กลับเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ อนันต์ เดินหน้าแก้ไขปัญหาราคาน้ำยางตามแนวคิดที่ตนเองมองแล้วว่า “เป็นไปได้” หนทางความฝันของเขาเริ่มชัดเจนขึ้น แต่กลับไม่ได้รับการตอบรับจากชุมชนให้จัดตั้งโรงงานผลิตหมอนยางพาราตามโครงการ อนันต์ นำความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาพร้อมโครงการกลับสู่บ้านเกิดที่ตำบลแพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง หารือผู้นำท้องถิ่นและชุมชนถึงโครงการที่ได้มา จนได้รับการยอมรับ และนำมาสู่การจัดตั้ง สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558 มีสมาชิกจัดตั้งจำนวน 50 คน เริ่มผลิตหมอนยางพาราเมื่อวันที่

“ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่” กลับบ้าน สร้างอาชีพ มีรายได้

“ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่” กลับบ้าน สร้างอาชีพ มีรายได้

“คิดอย่างเดียว ถ้าไปเป็นลูกจ้างเขา เหนื่อยก็เหนื่อยให้เขา ไม่ได้กลับบ้านซะที แต่ถ้าเราลองทำดู โครงการ 3 ปี ถ้าไม่ได้จริงๆ ค่อยว่ากัน” สุวิตรี แดนขนาน บอกไว้ในช่วงจบปีแรกที่เข้าร่วม “โครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ รุ่นที่ 1” ถึงวันนี้จบโครงการฯ แล้ว แต่ สุวิตรี ยังคงเดินบนเส้นทาง “ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์” “กลับมาปีแรก ไฟแรง อยากหาลูกไล่ล่ะ” สุวิตรี ย้อนความถึงวันที่กลับมา “สร้างอาชีพ” ที่บ้านเกิด หลังจบการศึกษาจากสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเพิ่มพูนทักษะการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่บริษัท สุพรีมโกลด์ จำกัด อีก 6 เดือนก่อนกลับมาผลิตเมล็ดพันธุ์มะระและถั่วฝักยาวส่งให้บริษัทฯ โดยมี วรนารี แดนขนาน พี่สาวที่เรียนจบด้านเกษตรและลาออกจากงานประจำมาร่วมด้วยช่วยกัน ด้วยมองว่า “ทำของตัวเอง เหนื่อยก็เป็นของเรา” “ตอนฝึกงานกับบริษัท เรียนรู้สบายๆ แต่กลับมาเจอของจริงที่บ้าน ต้องรับสภาพทุกอย่าง เป็นแรงงานด้วย เป็นคนดูด้วย ปีแรกยังไม่ท้อ

ผึ้ง/ชันโรง

ผึ้ง/ชันโรง

“ผึ้งและชันโรง” เป็นแมลงผสมเกสรดอกไม้ที่สำคัญ ช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร ขณะเดียวกันผลพลอยได้จากแมลงทั้งสองชนิด ไม่ว่าจะเป็น น้ำผึ้ง หรือไขผึ้ง ยังอุดมด้วยคุณค่าโภชนาการ และนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกด้วย  บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ “เลี้ยงผึ้ง” ที่ได้มากกว่า “น้ำผึ้ง” “ชันโรง” : ผึ้งจิ๋ว รายได้แจ่ม สิ่งพิมพ์ น้ำเชื่อมจากผลลำไย อาหารเสริมสำหรับ “ผึ้งพันธุ์” ชันโรง แมลงผสมเกสรพืชชั้นยอด วิดีโอ Club Farm Day The Series ตอน เลี้ยงผึ้ง พึ่งเทคโนโลยี Club Farm Day The

ฐานเรียนรู้ “การผลิตอาหารโคคุณภาพ”

ฐานเรียนรู้ “การผลิตอาหารโคคุณภาพ”

“การเลี้ยงโคแม่พันธุ์เพื่อเลี้ยงเอาลูกโค แต่ก่อนที่ฟาร์มผมเน้นให้อาหารหยาบที่หาวัตถุดิบได้ง่ายในท้องถิ่น จะเป็นพืชชนิดไหนก็ได้ ขอให้ต้นทุนถูกที่สุด เอามาผสมกับอาหารข้น โรยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ด้านบนเป็นท็อปปิ้งให้โคกินจนอิ่ม จนได้มาอบรมกับ สวทช. ถึงได้รู้ว่า อาหารหยาบหรือพืชแต่ละชนิดให้สารอาหารและพลังงานที่แตกต่างกัน” “FP Samanmit Farm” ของ ภุมรินทร์ สมานมิตร-สุนันทา สังข์ทอง ได้รับคัดเลือกจากสมาชิกกลุ่มโคเนื้อทาจิมะในจังหวัดระยอง ให้เป็นต้นแบบฐานเรียนรู้การเลี้ยงโคเนื้อของพื้นที่ ด้วยบริหารจัดการฟาร์มขนาดกลางที่มีโคราว 60 ตัว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โคมีคุณภาพ ได้น้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน รวมถึงการดูและสภาพแวดล้อมฟาร์มให้สะอาด อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนความรู้เทคโนโลยีการผลิต­­อาหารโค ภายใต้โครงการ การผลิตอาหารโคเพื่อความยั่งยืนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) พัฒนาสูตรอาหารโคที่เน้นการใช้วัตถุดิบหลักในท้องถิ่น สำรวจและเก็บตัวอย่างวัตถุดิบเพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางโภชนะ สร้างทางเลือกให้เกษตรนำไปปรับใช้เพื่อให้ได้คุณค่าตามความต้องการโภชนะของโค

ยางชุมน้อยโมเดล: การปลูกพริกยอดสนเข็ม 80 เพื่อแปรรูป

ยางชุมน้อยโมเดล: การปลูกพริกยอดสนเข็ม 80 เพื่อแปรรูป

อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็นพื้นที่ผลิตพริกชั้นดีของประเทศไทย เกษตรกรในพื้นที่มีอาชีพผลิตพริกจำหน่ายให้ลูกค้าในประเทศ แต่เกษตรกรยังมีรายได้น้อย ทั้งๆ ที่ทำการเกษตรมานาน มีความชำนาญและขยัน การผลิตพริกแบบเดิมมีต้นทุนสูง มีปัญหาโรคแมลงและใช้สารเคมีปริมาณมาก ทำให้ สุจิตรา จันทะศิลา ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และต้องการกลับบ้านมาช่วยเหลือเกษตรกรที่บ้านเกิด จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโนนติ้ว ตำบลโนนคูณ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ 27 สิงหาคม 2558 ให้เกษตรกรผลิตพริกแห้งปลอดภัยเพื่อแปรรูปและส่งออก เช่น ผลิตพริกสายพันธุ์ “ยอดสนเข็ม 80” ป้อนให้บริษัท บางกอกแลปแอนด์คอสเมติก จำกัด โดยประกันราคารับซื้อ บริษัทฯ ต้องการผลผลิตพริกแห้งพันธุ์นี้ประมาณปีละ 5 – 10 ตันต่อปี หรือ พริกสด