โคขุน ขุนโคด้วยอาหารหมักคุณภาพ

โคขุน ขุนโคด้วยอาหารหมักคุณภาพ

ทุกๆ วันก่อนไปทำงานและเลิกงานจากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์พะเยา สุริยะ ทองสา จะแบ่งเวลามาดูแลโคสายพันธุ์ลูกผสมบราห์มัน-ชาโลเล่ย์ที่ “สุนิสาฟาร์ม” ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา ฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อที่เขาตั้งใจทำไว้รองรับชีวิตหลังเกษียณ ด้วยคลุกคลีอยู่ในแวดวงการเลี้ยงสัตว์ สุริยะ มองว่าหากเลี้ยงสัตว์เป็นรายได้เสริม “โค” หรือ “วัว” เป็นตัวเลือกที่ให้ราคางาม แม้จะมีต้นทุนค่าอาหารสูง แต่วัตถุดิบทางการเกษตรที่มีมากมายในท้องถิ่นเป็นตัวช่วยได้ “ถ้าลดต้นทุนได้มาก จะมีกำไรมาก แม้ว่าขายราคาเท่ากัน แต่ต้นทุนจะเป็นตัวกำหนดว่าได้กำไรมากหรือน้อย” เป็นแนวคิดการทำฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อของ สุริยะ ที่เริ่มจากเลี้ยงปล่อยทุ่งและขายให้พ่อค้าทั่วไป ก่อนเปลี่ยนมาเลี้ยงวัวแบบไขมันแทรกหรือ “โคขุน” ส่งให้ “สหกรณ์โคขุนดอกคำใต้” ด้วยเหตุผลตลาดรับซื้อแน่นอนและราคารับซื้อสูงกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 110 บาท ขณะที่วัวเนื้อทั่วไปราคากิโลกรัมละ 80 บาท เมื่อตัดสินใจหันมาเลี้ยงวัวไขมันแทรก สุริยะ หาความรู้จากหน่วยงานที่สังกัดและค้นคว้าข้อมูลจากวารสารต่างๆ ทำให้พบว่านอกจากสายพันธุ์และการจัดการสภาพแวดล้อมในฟาร์มแล้ว “อาหาร” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้วัวมีไขมันแทรก “เดิมเน้นให้หญ้าเนเปียร์ รูซี่ กินนี่ แต่วัวที่ต้องการไขมันแทรก ไม่เน้นหญ้า จะเน้นฟาง อาหารข้น อาหารประเภทแป้ง เคยเอาเปลือกข้าวโพดมาให้วัวกิน เพราะคิดว่าคล้ายฟางและเป็นของเหลือทิ้งอยู่แล้ว เห็นแล้วเสียดาย

นวัตกรรมฟางข้าวอินทรีย์: ผลิตภัณฑ์จากบ้านสามขา จังหวัดลำปาง

นวัตกรรมฟางข้าวอินทรีย์: ผลิตภัณฑ์จากบ้านสามขา จังหวัดลำปาง

อย่าโยนฉันทิ้ง ให้โอกาสฉันงอกงามในสวนคุณ “กระดาษที่สื่อสารมากกว่าตัวหนังสือ” คุณเคยได้รับกระดาษโน๊ตที่ส่งผ่านด้วยข้อความสั้นๆ ไหม? หลังจากคุณอ่านข้อความแล้ว กระดาษเหล่านั้นหายไปไหน? วันนี้กระดาษโน๊ตจากฟางข้าว หรือ “สวนกระดาษ” ทำให้คุณเข้าใจมากกว่าตัวหนังสือ เพราะสวนกระดาษ คือสิ่งที่สื่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการดูแลเอาใจใส่เมล็ดพันธุ์ในกระดาษให้งอกเจริญเติบโตเป็นต้นกล้า กระทั่งนำไปบริโภคได้ กระดาษฟางข้าวไม่เพียงใช้เขียนเพื่อสื่อข้อความ แต่เป็นปุ๋ยไร้สารเคมีชั้นดี ทำให้พืชเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อศัตรูพืช เมื่อถึงช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวในหลายพื้นที่ในประเทศไทย “ฟางข้าว” ส่วนที่เหลือใช้จากการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูกกลายเป็นของเหลือใช้ทางการเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมกำจัดฟางข้าวโดยการเผาทำลายมากกว่าการปล่อยให้ย่อยสลาย เพราะความสะดวก รวดเร็ว และการขาดแคลนแรงงาน กลายเป็นปัญหาหมอกควันหรือมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นทุกปี รวมทั้งการสูญเสียอินทรีย์วัตถุที่กลับคืนสู่ผืนดิน “หมู่บ้านสามขา” มีการรณรงค์ในเรื่องการเผา จนได้รับรางวัลเป็นหมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผาฟางข้าว หมู่บ้านสามขา อ.แม่ทะ จ.ลำปาง เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ล้อมรอบด้วยภูเขา เป็นแหล่งต้นน้ำธรรมชาติที่บริสุทธิ์จากยอดดอย ชาวบ้านสามขาใช้น้ำธรรมชาติจากยอดดอยสำหรับอุปโภคและบริโภค การทำเกษตรทำนายึดถือตามวิถีชีวิตคนในชุมชนที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ใช้หลักการของเกษตรแบบอินทรีย์ คือการทำนาโดยไม่ใช้สารเคมี

“ถั่วเขียว KUML” ปลูกด้วยใจ ได้คุณภาพ

“ถั่วเขียว KUML” ปลูกด้วยใจ ได้คุณภาพ

“สมัยก่อนหว่านถั่วเขียวที่หัวไร่ปลายนา เอาไว้ทำไส้ขนม หว่านถั่วลิสงไว้ทำกระยาสารท รุ่นพ่อแม่เก็บเมล็ดไว้นิดหน่อยเพื่อใช้หว่านรอบต่อไป” ประดิษฐ์ เขม้นเขตร์กิจ ผู้ใหญ่บ้านดอยหวาย หมู่ 7 ต.บ่อยาง อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี บอกเล่าวิถีการปลูกพืชหลังของคนรุ่นพ่อแม่เมื่อกว่า 40 ปีจากพืชที่ปลูกไว้เพื่อใช้ในครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกไม่มากมาย วิถีการปลูกถั่วเขียวของชุมชนเริ่มปรับเปลี่ยนได้ราว 15 ปี หลังมีข้อกำหนดห้ามทำนาปรัง เกิดการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกถั่วเขียวเป็น “อาชีพเสริม” มีทั้งส่งจำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพืชไร่ชัยนาทและจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางป้อนสู่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สำหรับชาวนาจะเริ่มปลูกถั่วเขียวหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว โดยปลูกในช่วงพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ส่วนชาวไร่จะปลูกถั่วเขียวในช่วงเดือนพฤษภาคมก่อนลงปลูกข้าวโพด สายพันธุ์ถั่วเขียวที่ชาวบ้านนิยมปลูก เช่น ชัยนาท 84-1 กำแพงแสน 1 กำแพงแสน 2 “ช่วงปี 2559 เมล็ดพันธุ์กำแพงแสนมีไม่พอ ลูกบ้านอยากได้พันธุ์อื่นมาปลูกเพิ่ม ก็ไปสอบถามจากเกษตรอำเภอ ถึงได้รู้ว่ามีพันธุ์ KUML เข้ามาใหม่” ประดิษฐ์ ย้อนความเมื่อวันที่ได้รู้จักถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่

พืชอื่นๆ

พืชอื่นๆ

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการผลิตพืชที่วิจัยและพัฒนาโดย สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร ถ่ายทอดสู่เกษตรกร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชให้ได้คุณภาพ ตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ไปถึงการผลิตผลสด อาทิ พริก มะเขือเทศ ฟักทอง ผักสลัด เป็นต้น  บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ “ปลูกให้เป็น ปลูกให้มีกิน” สร้างความมั่นคงทางอาหารที่แนวชายแดน “สับปะรดบ้านสา” ผลผลิตคุณภาพ-สร้างมูลค่า ด้วยความรู้-ความใส่ใจ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ PGS ใต้ร่มบุญ : ปันความรู้ สร้างแนวร่วม พัฒนาไปด้วยกัน “ฟาร์มฝันแม่” ความฝัน ความจริง และความรู้เกษตรอินทรีย์ “สมุนไพรอินทรีย์” สร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรชีวภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน รู้หลักและจัดการ สร้างผลผลิตกาแฟ

สวนปันบุญ…ปันสิ่งดีๆ เพื่อทุกคน

สวนปันบุญ…ปันสิ่งดีๆ เพื่อทุกคน

“เริ่มแรกเลยเราทำนาอินทรีย์ซึ่งทำยาก คนเฒ่าคนแก่หลายคนก็ท้อ ได้แต่บอกว่าให้ทำต่อ อดทน ทำนาอินทรีย์มันยากแต่เราได้บุญ ทำผักอินทรีย์ ผักที่ไม่มียา มันก็ได้บุญ” คือที่มาที่ไปของชื่อ “สวนปันบุญ” แห่งบ้านดอนแคน ต.ฆ้องชัยพัฒนา อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ แหล่งผลิตข้าวและผักอินทรีย์ซึ่งคนปลูกเชื่อมั่นว่าคือสิ่งดีๆ ที่อยากแบ่งปันนับตั้งแต่ก้าวแรกของการก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญตั้งแต่ปลายปี 2555 ก่อนหน้านี้ชาวบ้านคุ้นชินกับการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และสารกำจัดศัตรูพืชในแปลงนาจนล้มป่วยด้วยโรคผิวหนัง สะเก็ดเงิน และโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน ความดัน และมะเร็งซึ่งคร่าชีวิตคนในหมู่บ้านไปทีละน้อย กลายเป็นคำถามที่ สุจารี ธนสิริธนากร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญ ต้องการหาทางออกเพื่อเป็นทางเลือกทางรอดให้ชาวบ้านนับตั้งแต่ตัดสินใจลาออกจากการทำงานในกรุงเทพฯ เธอลงมือค้นหาคำตอบผ่านการทำงานวิจัยไทบ้านร่วมกับคู่ชีวิตและชาวบ้านที่สนใจ คำตอบที่ได้ในวันนั้น คือ การกลับมาทำนาแบบโบราณ หรือ การทำเกษตรอินทรีย์ เลิกการใช้สารเคมีโดยสิ้นเชิง แม้ทุกคนจะรู้ว่าดี แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรม สุจารี ยอมสละที่นาตัวเองให้เพื่อนสมาชิกทดลองปลูกข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี

ใช้เป็น ใช้จริง ใช้ “โรงเรือนพลาสติกปลูกพืช” อย่างมีความรู้

โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ

“โรงเรือนปลูกพืช” เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการเกษตรที่เกษตรกรให้ความสนใจมากขึ้น ด้วยตอบโจทย์ปลูกพืชได้ทุกฤดูกาล ซึ่งรูปแบบโรงเรือนปลูกพืชมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดพืชและเงินทุนของเกษตรกร วิรัตน์  โปร่งจิต ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักสดและผลไม้แปรรูปบ้านหนองทราย อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา หนึ่งในเกษตรกรที่เห็นความสำคัญของการใช้โรงเรือนปลูกพืช ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกกว่า 3 ไร่ของเขา ติดตั้งโรงเรือนปลูกพืช 5 หลัง โดยเป็น “โรงเรือนพลาสติกเพื่อการผลิตพืชผักคุณภาพ” ของ สวทช. ถึง 4 หลัง สร้างรายได้จากการปลูกผักต่อเดือน 30,000-40,000 บาท/เดือน จากเดิมที่ได้ไม่ถึง 20,000 บาท/เดือน “แต่ก่อนไม่มีโรงเรือน ปลูกผักหน้าฝนไม่ค่อยได้ผลผลิต อย่างผักบุ้งเจอโรคราสนิม แต่พอปลูกในโรงเรือน ไม่เจอปัญหาและยังได้ราคาดีด้วย” โรงเรือนปลูกพืชหลังแรกของวิรัตน์เป็นโรงเรือนทรงหลังคาฟันเลื่อย หรือที่เรียกว่า หลังคา ก.ไก่ ซึ่งได้รับสนับสนุนจากหน่วยงานท้องถิ่น

ให้ “เทคโนโลยี” ดูแล “มันสำปะหลัง”

ให้ “เทคโนโลยี” ดูแล “มันสำปะหลัง”

ท่ามกลางแสงแดดแรงกล้า ไอร้อนระอุแผ่ซ่านไปทุกตารางนิ้วในพื้นที่ต.วังชะพลู สองข้างทางถนนลูกรังละลานตาด้วยแปลง “มันสำปะหลัง” พืชที่ว่ากันว่าปลูกแล้วให้เทวดาดูแล ยืนต้นชูใบมิเกรงกลัวความร้อน รอเวลาที่ชาวบ้านจะเก็บผลผลิตสร้างรายได้หลักให้พวกเขา แม้ต้องการหาทางเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังที่ได้เพียง 2-3 ตันต่อปี ลดต้นทุนค่าปุ๋ยที่สูงขึ้น แต่ประสบการณ์จากภาครัฐ ทำให้ ศรีโพธิ์ ขยันการนาวี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.วังชะพลู อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร ลังเลทุกครั้งเมื่อมีโครงการใดเข้ามาในพื้นที่ “ที่ผ่านมาเบื่อนักวิชาการ มาแล้วก็หายไป ขออย่างเดียว อย่าทิ้งเกษตรกร ถ้าไม่ทิ้ง เกษตรกรเขาสนใจอยู่แล้ว” ข้อความที่ ศรีโพธิ์ บอกต่อทีมผู้เชี่ยวชาญโครงการ “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง” หลังจากที่เข้าตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้ในปี 2557 เมื่อได้ไปเห็นแปลงมันสำปะหลังที่นครราชสีมาที่ได้เข้าร่วมโครงการ “ปลูกมันก็รู้แบบงูๆ ปลาๆ สายพันธุ์ไหนใครว่าดี ก็ปลูกตามกัน สูตรปุ๋ยนึกอยากใส่แค่ไหนก็ใส่ ปลูกก็ปลูกถี่ๆ

ไรน้ำนางฟ้า

ไรน้ำนางฟ้า

จากงานวิจัยสู่ธุรกิจ “ฟาร์มไรน้ำนางฟ้า” ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง “เราเริ่มเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าแบบติดลบด้วยซ้ำ ถ้าเราไม่รู้คือเป็นศูนย์ แต่ติดลบคือเราเข้าใจผิด ทำให้เราทำหลายๆ อย่างไม่ถูกต้อง” นุจรี โลหะกุล ถอดบทเรียนที่ได้จากการต่อยอดงานวิจัย “ไรน้ำนางฟ้า” สู่ธุรกิจฟาร์มเพาะเลี้ยงของครอบครัว หลังอบรมและเรียนรู้การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี นุจรี กลับมาทดลองและฝึกฝนการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในบ่อวงซีเมนต์ขนาด 90 ซม. ที่บ้านพักย่านสมุทรปราการ ควบคู่ไปกับธุรกิจเลี้ยงไส้เดือนดินที่จำหน่ายในชื่อ “เพื่อนดิน” “มีลูกค้าที่ซื้อไส้เดือนเป็นประจำเพื่อเอาไปเป็นอาหารให้ปลาหมอสี ลองตักไรน้ำให้เขาไปลองใช้ เขาใช้อยู่ 2 เดือน เห็นว่าลูกปลาขึ้นหัวโหนกเร็ว สีและรูปทรงปลาสวยมาก หลังจากนั้นก็ขอซื้อและกลายเป็นลูกค้าประจำ” เสียงตอบรับจากลูกค้าที่ได้ใช้ไรน้ำนางฟ้าในฟาร์มเพาะพันธุ์ปลา จุดประกายให้ นุจรี มองเห็นโอกาสที่จะสร้างธุรกิจใหม่ให้ตัวเองได้ และจากการสำรวจตลาดจำหน่ายในไทย เธอพบว่ายังไม่มีอาหารสัตว์น้ำที่มีโปรตีนสูงและยังมีตัวเร่งสีในธรรมชาติเหมือนไรน้ำนางฟ้า ปี 2559 นุจรี ตัดสินใจขยับขยายพื้นที่การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไปที่อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

โค

โค

โคที่เติบโตแข็งแรง เป็นต้นทางสู่คุณภาพของเนื้อโค ซึ่งนั่นหมายถึงโคจำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีคุณภาพ ซึ่งมีทั้งอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารหมักจากวัตถุดิบที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังอาหารผสมสำเร็จรูป หรืออาหารทีเอ็มอาร์ (TMR) ซึ่งเป็นนวัตกรรมอาหารโคที่นำอาหารหยาบและอาหารข้นมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม ซึ่งช่วยลดต้นทุนการใช้วัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนผสมอาหารโคที่หายากขึ้น บทความ สิ่งพิมพ์ VDO บทความ โคขุน ขุนโค สร้างอาชีพที่ชายแดนใต้ ฐานเรียนรู้ การผลิตอาหารโคคุณภาพ โคขุน ขุนโคด้วยอาหารหมักคุณภาพ สิ่งพิมพ์ ขุนโคด้วยอาหารหมักคุณภาพ การผลิตอาหารโค “ทีเอ็มอาร์” (TMR) การผลิตอาหารสัตว์จากสับปะรดและการใช้จุลินทรีย์หมักเพิ่มประสิทธิภาพวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและผลพลอยได้ทางอุตสาหกรรม เพื่อนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ โปรตีนก้อน (Protein block) อาหารเสริมสำหรับโค VDO พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการเลี้ยงโคขุนด้วยนวัตกรรมอาหาร ว้าววิทย์ช่วยเศรษฐกิจชาติ ตอน อาหารโคต้นทุนต่ำจากเศษเหลือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โคเนื้อ