‘ชีวภัณฑ์’ อาวุธคู่ใจคนปลูกผักปลอดภัย-ผักอินทรีย์

‘ชีวภัณฑ์’ อาวุธคู่ใจคนปลูกผักปลอดภัย-ผักอินทรีย์

จังหวัดราชบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่ BCG Model สาขาเกษตร ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมทำงานกับสำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ยกระดับการปลูกผักปลอดภัยและผักอินทรีย์ด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารชีวภัณฑ์ โดยพืชผักที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี ได้แก่ ถั่วฝักยาว คะน้า มะเขือเปราะ พริก ซึ่งมีแมลงศัตรูพืชหลายชนิด อาทิ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ เป็นต้น “ก้อนเชื้อสดบิวเวอเรียและเมตาไรเซียม” จาก อนันต์ กอเจริญ ประธานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลประสาทสิทธิ์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี คืออุปกรณ์สำคัญที่ สท. ใช้ถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้บิวเวอเรียและเมตาไรเซียมให้เกษตรกร 83 ราย จากกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายสามพรานโมเดลในจังหวัดราชบุรี เกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางแพ เกษตรกรแปลงใหญ่ผักดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมืองราชบุรี อนันต์

คิดอย่างสมาร์ท ใช้สมาร์ทเทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพสวนทุเรียน

คิดอย่างสมาร์ท ใช้สมาร์ทเทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพสวนทุเรียน

พื้นที่ EEC หรือระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ครอบคลุม 3 จังหวัดสำคัญของภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เป็นหมุดหมายการพัฒนาประเทศภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญ “ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ: เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับควบคุมการให้น้ำในแปลงเกษตร” เป็นหนึ่งในสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ถ่ายทอดให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในจังหวัดระยองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 โดยมีสวนทุเรียนที่ได้ติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว 33 แห่ง (ข้อมูลปี พ.ศ.2565) แม้ระบบฟาร์มรักษ์น้ำฯ เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนทำสวนทุเรียน แต่มีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่พร้อมเปิดรับและปรับตัวกับการใช้เทคโนโลยี ด้วยมองเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงคุณภาพของผลผลิต หากยังรวมถึงต้นทุนการผลิตของสวนด้วย อย่างไรก็ตามแม้เกษตรกรพร้อมเรียนรู้และใช้เทคโนโลยี แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้และความพร้อมของพื้นที่ที่จะรองรับการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการวางระบบน้ำ ซึ่งเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สำคัญของสวน

พัฒนาเชิงพื้นที่ อนุรักษ์-ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน: ชุมชนฮาลา-บาลา

พัฒนาเชิงพื้นที่ อนุรักษ์-ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน: ชุมชนฮาลา-บาลา

“ป่าฮาลา-บาลา” ผืนป่าดืบชื้นบนพื้นที่เกือบ 4 แสนไร่ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จังหวัดยะลาและนราธิวาส ขึ้นชื่อว่าเป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากแห่งหนึ่งของประเทศทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ด้วยอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ ไม่เพียงการรักษาสิ่งมีชีวิตในพื้นป่าให้คงอยู่ หากการพัฒนาชีวิตผู้คนในพื้นที่ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน การเกิดขึ้นของ “หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุและป่าดิบชื้นฮาลา-บาลา” โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เมื่อเกือบ 20 ปี คือจุดเริ่มต้นของการส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่า และขยายสู่การทำงานพัฒนาเชิงพื้นที่ของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ในชุมชนรอบพื้นที่ป่าบาลา ต.โละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส เพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้จากทรัพยากรท้องถิ่นโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชุมชนรอบพื้นที่ป่าบาลาเป็นพื้นที่ทำงานเชิงพื้นที่ของ สท. ในระดับ 2 ดาว ที่มีจุดเด่นในด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ แต่ชุมชนยังประสบปัญหาด้านอาชีพและรายได้ และด้วยบริบทของพื้นที่ที่อิงแอบกับความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า หากเกิดการเรียนรู้และรู้จักใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่อย่างเข้าใจ

พัฒนาเชิงพื้นที่ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่ ‘บ้านสา’

พัฒนาเชิงพื้นที่ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่ ‘บ้านสา’

ชุมชนบ้านสามัคคี ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินงาน (area based) ของ สท. ในระดับ 2 ดาว ซึ่ง สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ทำงานในพื้นที่ดังกล่าวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยร่วมกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เทศบาลตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอและสำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง แก้ปัญหาราคาผลผลิตสับปะรดตกต่ำผ่านการถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับราคาสับปะรด ตั้งแต่การผลิตให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน GAP การผลิตนอกฤดู การเพิ่มมูลค่าผลสดและการแปรรูปที่ได้รับมาตรฐาน อย. จนสามารถยกระดับรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากเดิม 35,000- 40,000 บาท/คน/ปี เป็น 57,000 บาท/คน/ปี (ปี พ.ศ.2565) ตอบโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้ จากฐานการทำงานในพื้นที่ดังกล่าวและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ASI ผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ ฟันเฟืองสู่เกษตร 4.0

ASI ผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ ฟันเฟืองสู่เกษตร 4.0

“เทคโนโลยีและนวัตกรรม” เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเทคโนโลยีอัจฉริยะ หรือสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ได้รับการส่งเสริมอย่างมากในภาคการเกษตร เพื่อให้เกิดการทำเกษตรในรูปแบบ “สมาร์ทฟาร์มมิ่ง” (smart farming) ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิต และนำไปสู่การทำเกษตรที่ “ทำน้อย แต่ได้มาก” สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือยกระดับการผลิตและคุณภาพชีวิตเกษตรกร ไม่เพียงการถ่ายทอดความรู้และขยายผลเทคโนโลยีสู่เกษตรกรโดยตรง สท. ยังได้ใช้กลไกการสร้างผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ หรือ ASI (Agriculture System Integrator: ASI) เป็นอีกช่องทางสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านการให้บริการจากผู้ประกอบที่ได้รับการยกระดับความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้บ่มเพาะผู้ประกอบการที่สนใจเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. และพร้อมเป็นผู้ให้บริการเกษตรกร ซึ่งทำให้เกิดการขยายผลเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. สู่การใช้งานจริงได้มากขึ้น

ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’

ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’

เมล็ดใหญ่ สุกแก่เร็ว ให้ผลผลิตสูงได้ถึง 300 กก./ไร่ ต้านทานโรคราแป้งและใบจุด คือจุดเด่นของถั่วเขียวพันธุ์ KUML ที่เริ่มได้รับความนิยมจากเกษตรกร หลังจากที่ สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ขยายผลการปลูกถั่วเขียว KUML อย่างมีคุณภาพให้เกษตรกรโดยใช้ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จนเกิดการจัดตั้ง “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย” อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพระดับชุมชนส่งต่อเมล็ดพันธุ์ KUML ให้เกษตรกรทั่วประเทศ ถั่วเขียวเป็นพืชหลังนาที่ไม่เพียงช่วยบำรุงดินให้สมบูรณ์สำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป หากเมล็ดถั่วเขียว (grain) ยังเป็นผลผลิตที่สร้างรายได้ให้เกษตรกร และด้วยจุดเด่นของถั่วเขียว KUML บวกกับการปลูกอย่างมีความรู้ ทำให้ผลผลิตถั่วเขียวเป็นที่ต้องการของบริษัทรับซื้อ ดังเช่น บริษัท กิตติทัต จำกัด

เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

โครงการ “อุบลโมเดล” คือจุดเริ่มการทำงานด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ซึ่งสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ดำเนินงานกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต.กู่จ่าน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร จำนวน 60 คน พื้นที่ปลูกรวม 354 ไร่ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพดี ซึ่งในปี 2565 สามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ 1.3 ล้านบาท จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 ตัน/ไร่ จากเดิม 3 ตัน/ไร่ แม้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ด้วยราคารับซื้อมันสำปะหลังอินทรีย์ที่สูงและต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ.2565