เทคโนโลยีสิ่งทอ

เทคโนโลยีสิ่งทอ

การทอผ้าเป็นศิลปะวัฒนธรรมของคนไทยที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยกรรมวิธีการถักทอเส้นใยธรรมชาติและการออกแบบลวดลายอันประณีตเป็นภูมิปัญญาเฉพาะที่สร้างอัตลักษณ์ให้ผ้าทอในแต่ละภูมิภาค แม้ปัจจุบันผ้าทอจากเส้นใยธรรมชาติถูกแทนที่ด้วยเส้นใยสังเคราะห์ แต่ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถสานต่อภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองให้คงอยู่ ทั้งยังลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มมูลค่าให้ผ้าทอพื้นเมืองอีกด้วย สท. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสิ่งทอที่นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพผ้าทอพื้นเมืองตั้งแต่กระบวนการผลิตเส้นใย การออกแบบ จนถึงการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมืองและเพิ่มรายได้ให้ชุมชน 1. การใช้เอนไซม์ ENZease (เอนอีซ) ในกระบวนการเตรียมผ้าฝ้าย โดยลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกในขั้นตอนเดียว 2. การผลิตสีผงธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่นและการเตรียมสีธรรมชาติสำหรับแม่พิมพ์จากวัสดุในท้องถิ่น 3. การเพิ่มคุณสมบัติพิเศษผ้าทอพื้นเมืองตั้งแต่ระดับเส้นใยจนถึงผลิตภัณฑ์ด้วยนาโนเทคโนโลยี บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ สืบสาน ต่อยอด ‘จกโหล่งลี้’ ลายผ้าโบราณด้วยนวัตกรรม “ทากิริ” ผ้าทอมือสร้างสมดุลธรรมชาติด้วยความรู้ สะท้อนภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยยาว ยกระดับ “ผ้าทอฝ้ายสามสี” ของดีบ้านก้อทุ่ง ด้วยนวัตกรรม ชีวนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา สร้างคุณค่า

นวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์-ยกระดับผ้าทอพื้นเมือง ผ้าชาติพันธุ์ จ.แม่ฮ่องสอน

นวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์-ยกระดับผ้าทอพื้นเมือง ผ้าชาติพันธุ์ จ.แม่ฮ่องสอน

สื่อความรู้ในโครงการ “นวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์และยกระดับผ้าทอพื้นเมือง ผ้าชาติพันธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เก็บเกี่ยว ‘หอมแขก’

เก็บเกี่ยว ‘หอมแขก’

อายุเก็บเกี่ยวหอมแขกประมาณ 90-110 วัน (นับจากย้ายปลูก) และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมส่งผลต่อคุณภาพผลผลิตที่จะส่งจำหน่าย เมื่อหอมแขกอายุ 80-85 วัน คอจะเริ่มพับ ให้เกษตรกรสังเกต หากในแปลงพบว่าคอพับเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ให้เกษตรกรช่วยพับให้ทั่วทั้งแปลง จากนั้นงดให้น้ำและทิ้งไว้ในแปลงประมาณ 3-5 วัน ให้ใบเหลือง ถอนมามัดจุก แล้วนำไปตากแดดจัดจนหอมแขกแห้งสนิท นำมาห้อยไว้ในที่ร่มมีหลังคา ระบายอากาศได้ดี ตัดหัวและรากออก บรรจุในถุงตาข่ายหรือขายแบบมัดจุก ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า

โรคพืช-แมลงศัตรูพืชของหอมแขก

หอมแขก

โรคพืช โรคพืชที่สำคัญ คือ โรคใบจุดสีม่วง (เชื้อรา Alternaria porri (Ell.) Cif) โรคเน่า (เชื้อรา Sclerotium rolfsii)  และโรคหอมเลื้อย (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides) โรคเน่า โรคใบจุดสีม่วง การป้องกันและจัดการโรคของหอมแขก 1. ก่อนปลูก ไถตากดิน 2-3 ครั้ง เพื่อลดปริมาณเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคในดิน ปรับสภาพดินด้วยปูนขาวเพื่อให้มีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 6.5-7 (เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหอมแขก)2. ใช้ส่วนการขยายพันธุ์ที่ไม่เป็นโรค เช่น แช่หัวพันธุ์หรือต้นกล้าก่อนปลูกด้วยไตรโคเดอร์มา หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น โปรคลอราช 50% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ

เตรียมแปลงหอมแขก

หอมแขก

ฤดูกาลที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกหอมแขกในประเทศไทย คือ ฤดูหนาว (หลังเก็บเกี่ยวข้าว) หรือเริ่มต้นในปลายเดือนกันยายนเป็นต้นไป เกษตรกรควรเริ่มเพาะกล้าตั้งแต่เดือนกันยายน ย้ายกล้าลงแปลงในปลายเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ แต่สำหรับเกษตรกรที่ใช้ที่นาเพาะปลูกสามารถเตรียมกล้าในพื้นที่ปลูกผักทั่วไปได้ เมื่อเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จจึงไถตากดินและเตรียมแปลงปลูกหอมแขกต่อได้เลย การเตรียมแปลงเป็นขั้นตอนสำคัญ หากเตรียมแปลงไม่ดีจะส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต ซึ่งการเตรียมแปลงหอมแขก แบ่งเป็น 2 ระยะคือ การเตรียมแปลงสำหรับเพาะกล้า และการเตรียมแปลงสำหรับย้ายปลูก  โรงเรือนเพาะกล้า แปลงเพาะกล้า เตรียมแปลงสำหรับเพาะกล้า • การเพาะกล้าหอมแขกจำเป็นต้องมีโรงเรือน เพื่อป้องกันฝนและน้ำค้าง• ก่อนปลูก 7 วัน คลุกเคล้าดิน โดโลไมท์ ปุ๋ยหมักให้เข้ากัน ขึ้นแปลงสามเหลี่ยม• ก่อนปลูก 2 วัน รดด้วยไตรโคเดอร์มาและตีดินให้ละเอียด ขึ้นแปลงหน้ากว้าง 1 เมตร สูงประมาณ 5-10