สท. ร่วมกิจกรรม NAC 2024 พัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

สท. ร่วมกิจกรรม NAC 2024 พัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกิจกรรมงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. หรือ NAC 2024 ภายใต้แนวคิด “สานพลัง สร้างงานวิจัย พลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมไทยด้วย BCG Implementation”  สท. ได้นำเสนอการทำงาน การพัฒนาเศรษฐกิจด้วย BCG Model พื้นที่นำร่องทุ่งกุลาร้องไห้ สร้างเศรษฐกิจใหม่จากฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและเชื่อมโยงการท่องเที่ยว (พ.ศ.2567-2570) ผ่านนิทรรศการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้ถ่ายทอดสู่ชุมชนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ รวมถึงการเสวนาในหัวข้อ “ทุ่งกุลาไปไสก็ม่วน …ของแทร่” และ “สืบสานภูมิปัญหา ต่อยอดลายอัตลักษณ์ผ้าไทย ยกระดับคุณภาพด้วยเทคโนโลยี”

สท. ร่วมกิจกรรมงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 9 รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์

สท. ร่วมกิจกรรมงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 9 รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมจัดกิจกรรมในงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 9 “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์” ระหว่างวันที่ 26-28 มกราคม 2567 ณ สวนสามพราน จ.นครปฐม สท. ได้ร่วมนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ อาทิ เทคโนโลยีชีวภัณฑ์ ถุงปลูก Magik growth🪴 Active PAK ถุงหายใจได้🥬 ชันโรง 🐝พันธุ์พืชจากงานวิจัยถั่วเขียว KUML 🫘ฟักทองไข่เน่า สมุนไพร ฯลฯ ร่วมจัดแสดงนิทรรศการและจัดกิจกรรมเวิร์คช็อป “สครับถั่วเขียวอินทรีย์ และย้ายกล้าสลัดลงถุงปลูก Magik growth” และ “เมล็ดพันธุ์แห่งชีวิต” ที่เน้นสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของเมล็ดพันธุ์ การสอนเพาะกล้าและย้ายกล้าลงถุงปลูก Magik Growth

AGRITEC สัญจร @ งานเกษตรแม่โจ้ 30 ปี

AGRITEC สัญจร @ งานเกษตรแม่โจ้ 30 ปี

ขอเชิญชาวเชียงใหม่ พบกับ AGRITEC 📌ในงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี (เกษตร อาหาร สุขภาพ) ระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ 🎉กิจกรรมดีๆ มากมายให้ร่วมเรียนรู้ 💡นิทรรศการความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก สวทช. และพันธมิตร พร้อมกิจกรรม workshop ได้แก่ ยาหม่องจากน้ำผึ้งชันโรง ลิปบาล์มทิ้นต์สูตรอะโวคาโดกลิ่นสตรอว์เบอร์รี | สครับถั่วเขียว (สถานที่: หน้าอาคารสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร) 💡เยี่ยมชม 10 ฐานเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์ ภายใต้ Training Hub สวทช.-ม.แม่โจ้ (สถานที่: ฟาร์ม

ตลาดนำการผลิต

นอกจากบทบาทการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลสู่เกษตรกรแล้ว การเชื่อมโยงภาคการผลิตสู่การตลาด เป็นอีกบทบาทที่สำคัญของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ที่จะตอบโจทย์เกษตรกร “ปลูกแล้วขายใคร” ขณะที่ตลาดต้องการ “ผลผลิตคุณภาพ มีของส่งสม่ำเสมอ” “ตลาดนำการผลิต” (Inclusive Innovation) เป็นกลไกการทำงานที่ สท. เชื่อมโยงภาคการผลิตสู่การตลาด โดยบูรณาการความร่วมมือแบบจตุภาคีจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคประชาสังคม สร้างการเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิการผลิตให้เกษตรกรและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการของตลาด การดำเนินงานที่ผ่านมา สท. ได้ใช้กลไกตลาดนำการผลิตเชื่อมโยงกลุ่มเกษตรกรกับบริษัทเอกชนผู้รับซื้อ/แปรรูป โดยมีกระบวนการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อทำให้เกิดผลผลิตที่ตอบโจทย์ตลาด ขณะที่เกษตรกรพอใจกับราคารับซื้อและรายได้ที่จะเพิ่มขึ้น ดังตัวอย่างการดำเนินงานด้วยกลไกตลาดนำการผลิตในมันสำปะหลังและถั่วเขียว เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ (หนังสือ ‘นวัตกรรม’ ขับเคลื่อนเกษตรและชุมชน) ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’ (หนังสือ

โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก CTAP

ผลิตภัณฑ์น้ำมันนวดจากสมุนไพรพื้นบ้าน (นักวิจัย: น.ส.นริศา เหละดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)) เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์สเต็กเนื้อโคขุนโพนยางคำพร้อมปรุง (นักวิจัย: น.ส.วลัยพร เหมโส สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)) เทคโนโลยีเตาชีวมวลเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก้อนเชื้อเห็ด (นักวิจัย: ดร.บริสุทธิ์ จันทรวงศ์ไพศาล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการจำหน่ายผักอินทรีย์ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนอย่างยั่งยืน (นักวิจัย: ดร.อภิญญา วิสุทธิอมรกุล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)) การยกระดับการผลิตโคเนื้อต้นน้ำของกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง จ.อุบลราชธานี (นักวิจัย: ผศ.กฤษฎา บูรณารมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี)

สถานีเรียนรู้ (Training Hub)

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับสถาบันการศึกษาในแต่ละภูมิภาคของประเทศ พัฒนาสถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร (Training Hub) โดยบูรณาการองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนความเชี่ยวชาญของบุคลากรของ สวทช. และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill) เพิ่มเติมทักษะใหม่ (reskill) ให้เกษตรกรและชุมชนผ่านหลักสูตรการอบรมและกิจกรรม ณ สถานีเรียนรู้แต่ละแห่ง นอกจากนี้ สท. ยังได้พัฒนาจุดเรียนรู้ระดับชุมชน (Learning Station) ร่วมกับเกษตรกรในเครือข่ายการทำงานของ สท. เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถเข้าถึงความรู้และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น • สถานีเรียนรู้กลาง หรือ AGRITEC Station ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี เป็นสถานีสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร อาทิ ปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ • สถานีเรียนรู้ระดับภูมิภาค

กลไกการทำงานของ สท.

ด้วยภารกิจหลักของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มุ่งเน้นปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตรและชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น สอดรับกับแนวทางการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สท. จึงมุ่งถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลอย่างทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานและสร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกร/ชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีกลไกการทำงานหลัก ดังนี้ • พัฒนาเชิงพื้นที่มุ่งเป้าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Area Based Approach) สร้างกลไกและกระบวนการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอก (ภาครัฐ-เอกชน-ชุมชน) ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยกระดับการพัฒนาศักยภาพพื้นที่และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนในมิติต่างๆ ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ >> Read more • สถานีเรียนรู้ (Training Hub) แหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill)