คลิปวิดีโอย้อนหลัง https://youtu.be/3ujl7grRsPQ คำถาม-คำตอบจากเวทีเสวนา เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ การผลิตและการใช้ชีวภัณฑ์ ไตรโคเดอร์มา แบคทีเรียปฏิปักษ์ (บีเอส, บีเอ) บิวเวอเรีย-เมตาไรเซียม อื่นๆ เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ Q: ปัจจัยใดที่ทำให้ชีวภัณฑ์ตายหรือไม่ได้ประสิทธิภาพ หลังจากฉีดพ่นไปแล้วA: อากาศร้อน แสงแดด การใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่เป็นชีวภัณฑ์นั้นๆ Q: จำนวนสปอร์ชีวภัณฑ์แบบผงกับแบบสดแบบไหนมีประสิทธิภาพมากกว่ากันA: สปอร์ในชีวภัณฑ์แบบสดมีประสิทธิภาพจัดการกับศัตรูพืชมากกว่าแบบผงหรือแบบแห้ง แต่จะมีอายุสั้นกว่า ทนกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้น้อยกว่าแบบผง Q: สารชีวภัณฑ์สามารถเป็นสารกลายพันธุ์ในมนุษย์ได้หรือไม่A: อาจจะส่งผลต่อมนุษย์ ถ้าสารชีวภัณฑ์นั้นเป็นสารสกัดหรือสารพิษที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อระบบในร่างกายมนุษย์ด้วย แต่ถ้าเป็นชีวภัณฑ์ของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีชีวิตและผ่านการตรวจสอบพิษวิทยาแล้ว ทั้งหมดไม่มีผลต่อมนุษย์ Q: สารชีวภัณฑ์กลุ่มจุลินทรีย์เป็นอันตรายต่อตัวห้ำ ตัวเบียนและผึ้งหรือไม่ A: การเลือกชนิดและสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์มาเพื่อใช้ในการจัดการศัตรูพืช จะต้องมีการทดสอบมาก่อนแล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อ ตัวห้ำ ตัวเบียน ผึ้ง รวมถึงมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Q:
หลักสูตรอบรมออนไลน์ “ปลูกผักอย่างฉลาด ลดความเสี่ยง เลี่ยงขาดทุน”
ผักไม่โต ผักเป็นโรค หนอนกินผัก ผักเน่า ผักไม่สด ปลูกแล้วขายไม่ได้ ขายไม่หมด ฯลฯ สารพัดปัญหาที่คนปลูกผักต้องเคยเจอ …ทำอย่างไรจะจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ หลักสูตรอะไร เรียนเมื่อไหร่ เรียนกับใคร สมัครอย่างไร หลักสูตรอะไร “การบริหารความเสี่ยง” (Risk Management) เป็นกระบวนการที่หน่วยงาน/องค์กรใช้เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทำให้คาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า เพื่อเตรียมวิธีการลดโอกาสและผลกระทบ เพื่อลดความสูญเสียและเพิ่มโอกาสความสำเร็จ การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นกระบวนการที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงการผลิตพืชผักจากปัญหาต่างๆ ได้ โดยต้องอาศัยทั้งองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์การปลูก เพื่อให้ “การผลิตผักทุกครั้ง ได้ผลผลิตทุกครั้ง” “การบริหารความเสี่ยงในการผลิตพืชผัก” คือ กระบวนการคิดและวางแผนที่เป็นระบบและต่อเนื่อง โดยทำตั้งแต่ก่อนปลูกเพื่อลดโอกาสการเกิดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ หรือควบคุมได้หรือประเมินได้ และที่สำคัญต้องตรวจสอบการปลูกได้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)
ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.)
รายชื่อศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.)
เสวนาออนไลน์ AGRITEC Live: ถ่ายทอดความรู้เรื่องไผ่
AGRITEC Live : ถ่ายทอดความรู้เรื่อง “ไผ่”วันที่ 13–15 กันยายน 2564 เวลา 09.00–16.00น.เผยแพร่ผ่าน Facebook: NSTDAAGRITECและ Youtube: AGRITEC Channel “สถานการณ์ของไผ่ไทยในเวทีโลก | ทำไมไผ่ไทย ถึงไม่ก้าวไกลในเวทีโลก | แนวทางการใช้ประโยชน์จากไผ่ | ปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัดและการแก้ปัญหา ในการใช้ประโยชน์จากไผ่ | ทิศทางของไผ่ไทยในอนาคต” (คลิกชมเสวนา) โดย 1. รศ.ดร.สราวุธ สังข์แก้ว ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไผ่ 2. คุณสภลท์
Course online: HandySense
กำหนดการอบรมหลักสูตรออนไลน์ “เทคโนโลยีระบบเกษตรอัจฉริยะแบบเข้มข้นโดยใช้นวัตกรรมเปิด HandySense” วันที่ 23-24 สิงหาคม 2564 จัดโดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2564 8.30 – 09.00 น. แนะนำหลักสูตร 09.00 – 11.00 น. ระบบพื้นฐาน HandySense -HandySense คืออะไร -การใช้งานเบื้องต้น HandySense ด้านการเกษตร (พืชไร่, พืชสวน) -การใช้งาน Sensor สำหรับระบบควบคุม โดย
สารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช
ไวรัส NPV กำจัดหนอนศัตรูพืช 1. ไวรัส NPV คืออะไร 2. วิธีสังเกตหนอนเพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ 3. Tips การใช้ NPV อย่างไรให้ได้ผลดีขึ้น 4. การต่อเชื้อไวรัส NPV ไว้ใช้ในครั้งต่อไป บิวเวอเรีย บาเซียนา: รากำจัดแมลงศัตรูพืช 1. บิวเวอเรีย รากำจัดแมลงศัตรูพืช กับ ดร.มงคล อุตมโท 2. ขั้นตอนการผลิตสปอร์ราบิวเวอเรียบนข้าวสาร
โครงการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อชุมชน
โครงการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community based Technology and innovation Assistance Project: CTAP) มุ่งนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่า เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก CTAP ดาวน์โหลดใบสมัคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสวทช. ภาคเหนือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติชั้น 2 อาคาร B อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ155 หมู่ที่ 2 ต.แม่เหียะ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50100โทรศัพท์ 053 948671-80 ต่อ 2208 โทรสาร 053 226265อีเมล agritec@nstda.or.th
โรงเรือนปลูกพืช
จากสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอนของฤดูกาล ภัยธรรมชาติและการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช การนำ “เทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืช” มาปรับใช้ จึงเป็นทางเลือกที่ได้รับการตอบรับมากขึ้น เพราะช่วยให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชได้ทุกฤดูกาล ควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยได้ง่าย ลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช อีกทั้งยังวางแผนการผลิตได้อย่างแม่นยำและได้ผลผลิตตามแผน ซึ่งเทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืชมีหลายรูปแบบ การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับงบประมาณ สภาพแวดล้อม และความรู้ของผู้ใช้ สท. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี “โรงเรือนพลาสติกเพือ่การผลิตพืชผักคุณภาพ” ที่พัฒนาโดย สวทช. เป็นรูปแบบโรงเรือนสองชั้น ออกแบบโดยใช้หลักการลอยตัวของอากาศ เมื่ออากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น จะไหลออกช่องระหว่างหลังคาล่างและหลังคาบนได้ทั้งซ้ายและขวา และดึงอากาศเย็นภายนอกเข้ามาแทนที่ภายในโรงเรือน เกิดการไหลเวียนอากาศแบบธรรมชาติ (natural flow) อีกทั้งการกระจายแสงที่ครอบคลุมทุกจุดในโรงเรือนพลาสติก ทำให้พืชได้รับแสงอย่างทั่วถึง ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงและการสร้างอาหารของพืช ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพภายใต้ระยะเวลาการเพาะปลูกที่สั้นลง นอกจากรูปแบบโรงเรือนของ สวทช. แล้ว สท. ยังได้สนับสนุนความรู้การใช้ “โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ” สำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้การปลูกผัก ต้องการปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน
ความแตกต่างของมันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ 1 พิรุณ 2 และพิรุณ 4
มันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ 1 พิรุณ 2 และ พิรุณ 4 พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของ กรมวิชาการเกษตร (ดร.โอภาษ บุญเส็ง) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล (รศ.ดร.กนกพร ไตรวิทยากร และคณะ) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เกิดจากการผสมแบบสลับ (cross-reciprocal) โดยเลือกใช้พันธุ์ห้วยบง 60 เป็นต้นแม่ ซึ่งมีลักษณะปริมาณแป้งในหัวสดสูง ผลผลิตสูง ปริมาณไซยาไนด์สูง และอัตราการเจริญเติบโตในช่วงแรกต่ำ และเลือกใช้พันธุ์ห้านาทีเป็นต้นพ่อ ซึ่งมีลักษณะปริมาณแป้งในหัวสดต่ำ ผลผลิตต่ำ ปริมาณไซยาไนด์ต่ำ และอัตราการเจริญเติบโตในช่วงแรกสูง เริ่มต้นผสมพันธุ์ตั้งแต่ปี 2549 ลูกผสมที่สร้างขึ้นส่วนหนึ่งนำไปใช้ในการศึกษาและพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล (DNA-marker) เพื่อช่วยในการคัดเลือกปริมาณแป้งสูง และไซยาไนด์ต่ำ อีกส่วนหนึ่งนำไปคัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามแบบวิธีมาตรฐาน (conventional