จากสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอนของฤดูกาล ภัยธรรมชาติและการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช การนำ “เทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืช” มาปรับใช้ จึงเป็นทางเลือกที่ได้รับการตอบรับมากขึ้น เพราะช่วยให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชได้ทุกฤดูกาล ควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยได้ง่าย ลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช อีกทั้งยังวางแผนการผลิตได้อย่างแม่นยำและได้ผลผลิตตามแผน ซึ่งเทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืชมีหลายรูปแบบ การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับงบประมาณ สภาพแวดล้อม และความรู้ของผู้ใช้
สท. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี “โรงเรือนพลาสติกเพือ่การผลิตพืชผักคุณภาพ” ที่พัฒนาโดย สวทช. เป็นรูปแบบโรงเรือนสองชั้น ออกแบบโดยใช้หลักการลอยตัวของอากาศ เมื่ออากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น จะไหลออกช่องระหว่างหลังคาล่างและหลังคาบนได้ทั้งซ้ายและขวา และดึงอากาศเย็นภายนอกเข้ามาแทนที่ภายในโรงเรือน เกิดการไหลเวียนอากาศแบบธรรมชาติ (natural flow) อีกทั้งการกระจายแสงที่ครอบคลุมทุกจุดในโรงเรือนพลาสติก ทำให้พืชได้รับแสงอย่างทั่วถึง ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงและการสร้างอาหารของพืช ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพภายใต้ระยะเวลาการเพาะปลูกที่สั้นลง
นอกจากรูปแบบโรงเรือนของ สวทช. แล้ว สท. ยังได้สนับสนุนความรู้การใช้ “โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ” สำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้การปลูกผัก ต้องการปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือผู้มีงบประมาณจำกัด
- โรงเรือนโครงสร้างไม้ไผ่เพื่อการปลูกผัก
- Club Farmday the Series ตอน ปลูกผักในโรงเรือน กับปิยะทัศน์ ทัศนิยม
- รู้จัก “โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ”
- โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน การติดตั้งโรงเรือน
- โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน ดิน ปฐมบทแห่งการปลูกพืช
- โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน ระบบน้ำเพื่อการเพาะปลูก
- โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน โรคและแมลงศัตรูพืช