“ฮาลา-บาลา” เป็นพื้นที่ป่าดิบชื้นติดชายแดนภาคใต้บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรี และเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับป่าเบลุ่มของประเทศมาเลเซีย กลายเป็นพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนขนาดใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรมลายู “ป่าฮาลา-บาลา” ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ส่วนที่เรียกว่า “ฮาลา” อยู่ในจังหวัดยะลา และส่วนที่เรียกว่า “บาลา” อยู่ในจังหวัดนราธิวาส
ป่า “ฮาลา-บาลา” เป็นป่าฝนเขตร้อนที่มีความอุดมสมบูรณ์โดดเด่น เป็นแหล่งรวมพันธุ์พืชกว่า 300 ชนิด แหล่งรวบรวมสัตว์ป่าหายาก เช่น ค้างคาวหน้าย่น ค้างคาวจมูกหลอด และสัตว์ป่าสงวน 4 ชนิด คือ เลียงผา สมเสร็จ แมวลายหินอ่อน และกระซู่ นอกจากนี้ยังมีไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงพืชสมุนไพรและพรรณไม้ดอกหายากใกล้สูญพันธุ์จำนวนมาก
สวทช. ได้นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปสู่ชุมชน สร้างคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับชุมชนและทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2542-ปัจจุบัน
สื่อความรู้/ประชาสัมพันธ์
- รอบรั้วภูธรนิวส์: การอนุรักษ์พื้นที่ป่าสาคูโดยชักจูงชาวบ้านหันมาเลี้ยงเป็ดไก่
- รายการทั่วไทยนิวส์: การอนุรักษ์พื้นที่ป่าสาคูโดยชักจูงชาวบ้านหันมาเลี้ยงเป็ดไก่
- พัฒนาเชิงพื้นที่ อนุรักษ์-ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน: ชุมชนฮาลา-บาลา
- “โพรงรัง” กับการอยู่รอดของนกเงือกในป่าฮาลา-บาลา
- การอนุรักษ์พื้นที่ป่าสาคูตำบลโละจูด อ. แว้ง จ. นราธิวาส
- การอนุรํกษ์และใช้ประโยชน์จากต้นสาคูเลี้ยงเป็ด กรณีศึกษาตำบลโละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ “ฮาลา-บาลา”
- เส้นทางการพัฒนา “ฮาลา-บาลา”
- รายการชาววิทย์ชิดชาวบ้าน ตอน ฮาลาบาลา ป่าเพื่อชุมชน