เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ จัดกิจกรรม “การพัฒนาแกนนำ (Train the trainer) เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอทั้ง 22 อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ เจ้าหน้าส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลและเกษตรกร รวม 121 คน เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีแนะนำเกษตรกรได้ถูกต้อง ตลอดจนขยายผลการปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนาที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกร นอกจากองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมยังได้ข้อมูลด้านตลาดรับซื้อจากผู้ประกอบการเอกชน ได้แก่ บริษัท กิตติทัต จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล และบริษัท เอสซีพีฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดการอบรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เยี่ยมชมนิทรรศการผลิตภัณฑ์จากถั่วเขียว KUML น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผช.ผอ.สวทช./ผอ.สท. มอบเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML ให้จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อใช้ในฤดูกาลผลิตปี 2566/2567 นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และน.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผช.ผอ.สวทช. ร่วมถ่ายภาพกับคณะวิทยากรและผู้ประกอบการเอกชน นอกจากนี้ สท. ได้สนุนเมล็ดพันธุ์จำนวน 700 กิโลกรัม และไรโซเบียม สำหรับการผลิตในฤดูกาลปี 2566/2567 ให้พื้นที่อำเภอห้วยทับทัน อำเภอเมืองจันทร์ และอำเภอราษีไศล พร้อมทั้งมุ่งยกระดับกลุ่มเกษตรกรพื้นที่อำเภอห้วยทับทันให้เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวคุณภาพดี โดยมีห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล และบริษัท เอสซีพีฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นตลาดรับซื้อในพื้นที่เชื่อมโยงกับบริษัท กิตติทัต จำกัด คาดว่าจะสามารถขยายพื้นที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษได้กว่า 300 ไร่ อนึ่ง สท. ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษสนับสนุนและส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว KUML มาตั้งแต่ปี 2564 โดยในฤดูกาลผลิตปี 2565/2566 สท. ได้จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML พร้อมทั้งสนับสนุนเมล็ดพันธุ์จำนวน 400 กิโลกรัม และไรโซเบียม ให้เกษตรกร 40 คน ในพื้นที่อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอราษีไศล อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอห้วยทับทันและอำเภอปรางค์กู่ พื้นที่ปลูกรวม 80 ไร่ ได้ผลผลิตทั้งสิ้น 3,736 กิโลกรัม เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ปลูกในฤดูกาลถัดไปและนำผลผลิตบางส่วนขายให้ตลาดรับซื้อ ในราคากิโลกรัมละ 27 บาท สร้างรายได้เฉลี่ย 2,000 บาทต่อไร่ สวทช.-จังหวัดศรีสะเกษต่อยอดพัฒนาแกนนำผลิตถั่วเขียวคุณภาพ KUML Post Views: 509 Tagged on: จังหวัดศรีสะเกษ ถั่วเขียว KUML