ในช่วงหลายปีมานี้กระแสความนิยมเลี้ยง “ไส้เดือนดิน” มีมากขึ้น ด้วยเป็นตัวเอกที่ช่วยกำจัดขยะอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังให้ผลผลิตเป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนดินและน้ำไส้เดือนดินที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตสวยงาม แม้จะมีผู้สนใจเลี้ยงไส้เดือนดินมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการกำจัดขยะอินทรีย์ที่นับวันจะมีมากขึ้น
นับเป็นเรื่องดีที่วันนี้นักวิจัยไทยได้ค้นพบแมลงตัวน้อยอีกชนิดหนึ่งที่ย่อยสลายขยะอินทรีย์ได้ดีไม่น้อยกว่าไส้เดือนดิน และยังมีเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสูงสำหรับสัตว์เศรษฐกิจ รวมทั้งมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกไม่น้อย
จาก “ไส้เดือนดิน” ถึง “หนอนแม่โจ้”
หลังจากที่ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช คณะผลิตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศึกษาและพัฒนาเทคนิคการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่วงกว้างแล้วนั้น “ไส้เดือนดิน” ได้ชักนำให้ทีมวิจัยได้รู้จักกับแมลงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในโรงเลี้ยงไส้เดือนดินของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำไปสู่การศึกษาวิจัยแมลงชนิดนี้อย่างจริงจังโดยได้ทุนสนับสนุนวิจัยจาก สวทช. ตั้งแต่ปี 2553
ทีมวิจัยศึกษาพบว่า แมลงดังกล่าวเป็นตัวเต็มวัยของแมลงวันลายชนิดหนึ่ง ซึ่งตัวหนอนของแมลงนี้ช่วยจัดการขยะอินทรีย์ได้ด้วย ทีมวิจัยจึงได้ศึกษาวิจัยเทคนิคการเพาะเลี้ยงที่ครบวงจรชีวิตของแมลงชนิดนี้ และตั้งชื่อหนอนแมลงนี้ว่า “หนอนแม่โจ้ (Maejo Maggots)”
หลังจากที่ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช คณะผลิตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศึกษาและพัฒนาเทคนิคการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่วงกว้างแล้วนั้น “ไส้เดือนดิน” ได้ชักนำให้ทีมวิจัยได้รู้จักกับแมลงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในโรงเลี้ยงไส้เดือนดินของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำไปสู่การศึกษาวิจัยแมลงชนิดนี้อย่างจริงจังโดยได้ทุนสนับสนุนวิจัยจาก สวทช. ตั้งแต่ปี 2553
ทีมวิจัยศึกษาพบว่า แมลงดังกล่าวเป็นตัวเต็มวัยของแมลงวันลายชนิดหนึ่ง ซึ่งตัวหนอนของแมลงนี้ช่วยจัดการขยะอินทรีย์ได้ด้วย ทีมวิจัยจึงได้ศึกษาวิจัยเทคนิคการเพาะเลี้ยงที่ครบวงจรชีวิตของแมลงชนิดนี้ และตั้งชื่อหนอนแมลงนี้ว่า “หนอนแม่โจ้ (Maejo Maggots)”
รู้จัก “หนอนแม่โจ้”
หนอนแม่โจ้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า หนอนแมลงวันลาย (Black Soldier Fly: BSF) ชื่อวิทยาศาสตร์ Hermetia ilucens วงศ์ Strationmyidae สกุล Diptera จัดอยู่ในอันดับชั้นเดียวกับแมลงวันบ้าน แต่ต่างตระกูล
ความแตกต่างระหว่างแมลงหนอนแม่โจ้และแมลงวันบ้าน
แมลงหนอนแม่โจ้ | แมลงวันบ้าน | |
แหล่งที่พบ | พุ่มไม้ | เขตบ้านเรือน |
อาหาร | น้ำหวาน, น้ำ | เศษอาหาร |
การวางไข่ | วางไข่บนเศษผัก ผลไม้ หรือในถังน้ำหมักที่มีกลิ่นเปรี้ยว | วางไข่บนอาหารของมนุษย์ |
ลักษณะไข่ | สีขาวครีมใส คล้ายเมล็ดข้าวเจ้า | สีขาวครีมใส คล้ายเมล็ดข้าวเหนียว |
แมลงหนอนแม่โจ้พบได้บริเวณพุ่มไม้ทั่วไปในธรรมชาติ กินน้ำและน้ำหวานเป็นอาหาร มีรอบวงจรชีวิต 5 ระยะ ได้แก่
- ระยะตัวเต็มวัย (แมลง) – ขนาดลำตัวยาวประมาณ 16 มม. มีอายุ 8-15 วัน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในธรรมชาติที่มีพุ่มไม้ ใบไม้สีเขียว จับคู่ผสมพันธุ์ ตัวเมียจะวางไข่ไว้บริเวณใกล้ๆ กับขยะอินทรีย์ จำนวนไข่ประมาณ 400-900 ฟองต่อตัว
- ระยะไข่ – เป็นรูปวงรี ยาวประมาณ 1 มม. สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม ไข่จะมีสีเข้มขึ้นตามระยะเวลา ใช้เวลา 3-4 วัน ฟักเป็นตัวหนอน
- ระยะตัวหนอน – เป็นระยะที่กินขยะอินทรีย์เป็นอาหาร มีลักษณะตัวอวบอ้วน แบน สีขาวครีม ขนาดตัวยาวตั้งแต่ 3-26 มม. น้ำหนักประมาณ 0.2 กรัม ตัวหนอนจะลอกคราบ 8 ครั้งก่อนเข้าดักแด้
- ระยะตัวหนอนก่อนเข้าดักแด้ – ระยะรอยต่อระหว่างตัวหนอนกับดักแด้ เป็นระยะที่เหมาะนำไปใช้ประโยชน์
- ระยะดักแด้ – ลำตัวจะมีสีดำเข็มและผิวแห้งแข็ง ใช้เวลาฟักเป็นตัวแมลงประมาณ 10-15 วัน หรือนานกว่านั้นขึ้นกับสภาพอากาศ
เปลี่ยนอาหารขยะอินทรีย์สู่อาหารสัตว์ชั้นเลิศ
ด้วยธรรมชาติของแมลงชนิดนี้ที่วางไข่บนเศษผัก ผลไม้ หรือในถังน้ำหมักที่มีกลิ่นเปรี้ยวอยู่แล้ว เมื่อไข่เจริญเติบโตเป็นหนอน ขยะอินทรีย์ต่างๆ จึงเป็นอาหารชั้นเลิศของหนอนแม่โจ้ ซึ่งหนอนแม่โจ้กินอาหารได้เร็วกว่าไส้เดือนดินถึง 5 เท่า อาหารที่กินเข้าไปจะเปลี่ยนเป็นไขมันประมาณ 30% โปรตีนประมาณ 40% มีโอเมก้า 3, 6 และ 9 ปริมาณสูง และยังมีกรดลอริกที่ยับยั้งเชื้อก่อโรคต่างๆ หนอนแม่โจ้จึงเป็นอาหารโปรตีนคุณภาพสูงสำหรับสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์เศรษฐกิจ อาทิ ไก่ชน ปลาคาร์ฟ ปลาสวยงาม เป็นต้น
เปรียบเทียบโปรตีนในแมลงต่างๆ (แมลงน้ำหนักแห้ง 100 กรัม จะให้โปรตีนประมาณ 9-65 กรัม)
แมงมัน | 65 กรัม |
หนอนแม่โจ้ | 42 กรัม |
เนื้อไก่ | 28 กรัม |
ปาทังก้า | 27 กรัม |
หมูบด | 18 กรัม |
ไข่ไก่ | 13 กรัม |
หนอนไม้ไผ่ | 9 กรัม |
ไม่เพียงหนอนแม่โจ้จะจัดการขยะอินทรีย์ได้มีประสิทธิภาพและเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์คุณภาพสูงแล้ว หนอนแม่โจ้ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นอีก ไม่ว่าจะเป็น ควบคุมแมลงวันบ้าน หรือการใช้มูลหนอนแม่โจ้ปลูกพืชและบำรุงดิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จะผลิตหนอนแม่โจ้เพื่อเป็นอาหารมนุษย์ รวมถึงการแปรรูปหนอนแม่โจ้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งต้องศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงที่สะอาดและถูกสุขอนามัย
ปัจจุบัน รศ.ดร.อานัฐ ตันโช และทีมวิจัยศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่ ได้ถ่ายทอดเทคนิคการผลิตหนอนแม่โจ้อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการตอบรับอย่างดีจากเกษตรกร/ผู้สนใจเพาะเลี้ยงและจำหน่ายหนอนแม่โจ้ ซึ่งราคาจำหน่ายหนอนแม่โจ้อยู่ที่ประมาณ 400-1,000 บาท/กิโลกรัม
# # #
ข้อมูลจาก คู่มือการผลิตหนอนแม่โจ้. รศ.ดร.อานัฐ ตันโช,
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2560.
เรียบเรียงโดย ฝ่ายจัดการความรู้เพื่อเกษตรและชุมชน สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร