สท.-สนง.เกษตรเพชรบูรณ์-เอกชน ขยายผลปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

สท.-สนง.เกษตรเพชรบูรณ์-เอกชน ขยายผลปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์: สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) โดย น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส นายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมด้วย รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คณะทำงานโครงการ “การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตปี 2” ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ประชุมชี้แจงและสร้างความร่วมมือการดำเนินโครงการฯ กับสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ บริษัท พุเตยวัฒนา เกษตรภัณฑ์ จำกัด และร้านวาสนาการเกษตร ภาคเอกชนที่รับซื้อผลผลิต โดยมีเกษตรอำเภอเมืองเพชรบูณ์

สท.-สนง.เกษตรศรีสะเกษ-เอกชน นำร่อง 6 อำเภอ ขยายผลปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

สท.-สนง.เกษตรศรีสะเกษ-เอกชน นำร่อง 6 อำเภอ ขยายผลปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2567 ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ: สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) โดย น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส นายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมด้วย รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คณะทำงานโครงการ “การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตปี 2” ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ประชุมชี้แจงและสร้างความร่วมมือการดำเนินโครงการฯ กับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ภาคเอกชนที่รับซื้อผลผลิต และเกษตรอำเภอจาก 6 อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอเมืองจันทร์

สท.-ธ.ก.ส. หนุนเกษตรกรพักชำระหนี้สร้างอาชีพเสริมปลูกถั่วเขียว KUML

สท.-ธ.ก.ส. หนุนเกษตรกรพักชำระหนี้สร้างอาชีพเสริมปลูกถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และนายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้การผลิตถั่วเขียวแบบครบวงจร ภายใต้หัวข้อ “สร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ เกษตรมูลค่าสูง ผลิตเมล็ดพันธุ์ปลูกพืชระยะสั้น” ให้เกษตรกรอำนาจเจริญในโครงการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพลูกค้าพักชำระหนี้ หลักสูตรฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเดิม สร้างอาชีพเสริม เพิ่มอาชีพใหม่ จัดโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ณ ห้องประชุมอาคารศูนย์เรียนรู้ข้าวหอมมะลิอำนาจเจริญ สำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้ร่วมขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตของ สท./สวทช. โดยส่งเสริมให้เกษตรกรพักชำระหนี้ปลูกถั่วเขียว KUML พร้อมทั้งสนับสนุนเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยให้เกษตรกร

สท. จับมือกรมส่งเสริมการเกษตรหารือขยายผลปลูก “ถั่วเขียวคุณภาพพันธุ์ KUML” ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

สท. จับมือกรมส่งเสริมการเกษตรหารือขยายผลปลูก “ถั่วเขียวคุณภาพพันธุ์ KUML” ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผช.ผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมประชุมกับ น.ส.วัลภา ปันต๊ะ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อสร้างความร่วมมือการทำงานส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว KUML เป็นพืชหลังนาด้วยกลไกตลาดนำการผลิต โดยมี รศ. ดร.ประกิจ สมท่า ผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และนักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สท. คณะทำงานโครงการ “การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” เข้าร่วมประชุมด้วย โครงการดังกล่าวฯ ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

สท.-ธ.ก.ส.-กรมส่งเสริมการเกษตร ขยายผลส่งเสริมปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้จังหวัดศรีสะเกษ-อำนาจเจริญ

สท.-ธ.ก.ส.-กรมส่งเสริมการเกษตร ขยายผลส่งเสริมปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้จังหวัดศรีสะเกษ-อำนาจเจริญ

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมประชุมหารือการส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนายวิชัย ศรีโพธิ์งาม เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานการประชุม นายอนุวัตร โสภา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ธ.ก.ส. และนางขวัญญรัตน์ จงเสรีจิตต์ ผู้บริหารห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ผู้รับซื้อถั่วเขียว KUML ในจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมหารือแนวทางการทำงานภายใต้กลไกตลาดนำการผลิต นอกจากนี้ สวทช. โดย สท. และ ธ.ก.ส. ยังได้หารือร่วมกับนายวัชรากร กิจตรงศิริ ผู้บริหารบริษัท

ถั่วเขียว KUML พืชหลังนาที่มากกว่าบำรุงดิน (ทุ่งกุลา)

ถั่วเขียว KUML พืชหลังนาที่มากกว่าบำรุงดิน (ทุ่งกุลา)

ท่ามกลางแสงแดดยามเที่ยงที่ร้อนแรง มัสสา โยริบุตร ในวัย 65 ปี ขี่มอเตอร์ไซค์นำทางลัดเลาะไปยังผืนนาที่แปรเปลี่ยนเป็นทุ่งปอเทืองและถั่วเขียวบนพื้นที่ 6 ไร่ เป็นพืชหลังนาที่ มัสสา เลือกปลูกเพื่อบำรุงดินก่อนปลูกข้าวในฤดูกาลใหม่ “สมัยรุ่นพ่อแม่ ไม่มีปลูกพืชหลังนาหรอก ทำนาเสร็จ ก็ปล่อยแปลงว่างไว้ ไม่ทำอะไร” มัสสา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโนนสวรรค์ ต.ทุ่งหลวง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ย้อนภาพแปลงนาในวัยเยาว์ จวบจนถึงวัยที่เธอเดินตามรอยเส้นทางอาชีพของพ่อแม่ มัสสา มีโอกาสเข้าถึงการอบรมต่างๆ จากหน่วยงานราชการ ทำให้เธอได้รู้จักพืชหลังนา “ได้อบรมเป็นหมอดินอาสา ทำให้รู้จักพืชหลังนาอย่างปอเทือง ถั่วเขียวว่าเป็นปุ๋ยพืชสด มีไนโตรเจนสูง ไถกลบแล้วช่วยให้หน้าดินนุ่ม ร่วนซุย เมื่อปลูกข้าวรอบใหม่ก็ใช้ปุ๋ยน้อยลง” มัสสา มีพื้นที่นาทั้งหมด 53 ไร่ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิส่งจำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ด

สท. ร่วมติดตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพผลิตถั่วเขียว KUML นำร่องจังหวัดเพชรบูรณ์ที่แรก

สท. ร่วมติดตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพผลิตถั่วเขียว KUML นำร่องจังหวัดเพชรบูรณ์ที่แรก

เมื่อวันที่ 20-22 มีนาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ ลงพื้นที่ติดตามการส่งเสริมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรพืชตระกูลถั่ว: ถั่วเขียวพันธุ์ใหม่ KUML 4 ณ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานโครงการนำร่องส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว KUML ที่จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดแรก เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่ว ผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีกระจายสู่ระบบการผลิตในชุมชน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชตระกูลถั่ว ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ภายใต้โครงการนำร่องฯ มีเกษตรกรเข้าร่วม 130 ราย พื้นที่เพาะปลูกปลูกรวม 260 ไร่ ในอำเภอหนองไผ่ (เกษตรกร 60 ราย พื้นที่เพาะปลูก 120 ไร่) อำเภอชนแดน (เกษตรกร

สวทช. จับมือหน่วยงานพันธมิตรจัดงานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML อินทรีย์ พร้อมเปิดตัวศูนย์เรียนรู้ระดับชุมชน

สวทช. จับมือหน่วยงานพันธมิตรจัดงานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML อินทรีย์ พร้อมเปิดตัวศูนย์เรียนรู้ระดับชุมชน

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานเกษตรอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ และบริษัท ข้าวดินดี จำกัด จัดกิจกรรม “งานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML และเปิดตัวศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์ระดับชุมชน กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง: จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี” ณ กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ โดยได้รับเกียรติจาก ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานเปิดงาน กิจกรรมครั้งนี้ดำเนินงานภายใต้ “โครงการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ

ถั่วเขียว KUML อินทรีย์: คุณค่าที่มากกว่าพืชบำรุงดิน

ถั่วเขียว KUML อินทรีย์: คุณค่าที่มากกว่าพืชบำรุงดิน

เมล็ดใหญ่และสีสวยสดของถั่วเขียวในแพ็คสุญญากาศ สะดุดตานักช้อปสายสุขภาพให้หยิบจับ เมื่อบวกกับข้อความและตราสัญลักษณ์ “เกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากล” ชวนให้หยิบจ่าย 40 บาท (ครึ่งกิโลกรัม) ได้ไม่ยากนัก ต้นทางของถั่วเขียวอินทรีย์นี้มาจากวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์คุณภาพ และเริ่มหันมาจริงจังกับพืชหลังนาอย่าง “ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ได้ไม่นาน …เมื่อ “ถั่วเขียว” เป็นพืชหลังนาที่เกษตรกรคุ้นเคยอยู่แล้ว แต่เหตุใดพวกเขาจึงให้ความสำคัญมากขึ้น และทำไมต้องเป็นถั่วเขียวพันธุ์ KUML จากนาเคมีสู่นาอินทรีย์ “คนทำเคมีจะมองหญ้าเป็นศัตรู แต่ก่อนเราก็มองแบบนั้น ทำตามรุ่นพ่อรุ่นแม่ ทำนาให้ได้ข้าวเยอะๆ แต่ลืมนึกถึงสภาพแวดล้อม เป็นอันตรายไปหมด” วิรัตน์ ขันติจิตร สมาชิกวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ย้อนความถึงวิถีการทำนาจากรุ่นสู่รุ่นที่พึ่งพิงสารเคมีเป็นหลัก จนเมื่อได้รับแนวคิดการทำนาที่ไม่ใช้สารเคมีจากการเข้าร่วมอบรมกับชุมชนสันติอโศก บวกกับราคาสารเคมีที่เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นแรงผลักสำคัญให้พวกเขาปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิถีการทำนา “ปี 2542