เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมจัดกิจกรรมให้ความรู้ “การปลูกพืชหลังนา ใช้น้ำน้อย : ถั่วเขียว KUML” ในงานเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day) จังหวัดยโสธร ณ แปลงเกษตรกรต้นแบบนายบุญเรือง กองคำ บ้านผักบุ้งหมู่ที่ 6 ต.ดงแคนใหญ่ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร โดยมีนายชาญชัย ศรศรีวิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานในพิธีเปิดและได้ร่วมกิจกรรมสาธิตการหยอดเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML งาน Green Day ครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตร ป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร มีเกษตรกรกว่า 200 คนเข้าร่วมกิจกรรมผ่านฐานเรียนรู้ของหน่วยงานต่างๆ อาทิ การไถกลบตอซัง
สท.-สนง.เกษตรยโสธร-ธ.ก.ส. ลงพื้นที่ประเมินเกษตรกรร่วมปลูกถั่วเขียว KUML
เมื่อวันที่ 8-10 ตุลาคม 2567 น.ส.ณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และทีมงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร เกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. ลงพื้นที่ชี้แจงโครงการและประเมินศักยภาพกลุ่มเกษตรกรที่จะปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนา โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต โดยมีเกษตรกรจาก 8 อำเภอของจังหวัดยโสธรให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ตำบลกุดน้ำใส อำเภอค้อวัง ตำบลม่วง อำเภอมหาชนะชัย ตำบลดงแคนใหญ่และตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว ตำบลน้ำคำใหญ่ อำเภอเมืองยโสธร ตำบลไผ่และตำบลดุลาด อำเภอทรายมูล ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม ตำบลคำไผ่ อำเภอไทยเจริญ ตำบลโคกสำราญและตำบลกุดเชียงหมี อำเภอเลิงนกทา ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จากสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาและไทยเจริญ ตลาดรับซื้อผลผลิตได้ร่วมลงพื้นที่สร้างความเชื่อมั่นการรับซื้อผลผลิตถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรด้วย
สท. ผนึกกรมส่งเสริมการเกษตร-ธ.ก.ส. เดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรยโสธรปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. โดยน.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส และทีมงาน ประชุมชี้แจงและสร้างความร่วมมือกับสำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร กรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดยโสธร สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาและไทยเจริญ จำกัด ซึ่งเป็นตลาดรับซื้อในพื้นที่ และประธานกลุ่มเกษตรกรที่จะยกระดับเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML โดยมีเกษตรอำเภอจากทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดยโสธร เข้าร่วมรับฟังข้อมูลและกระบวนการทำงานร่วมกัน จากการประชุมมีแผนการขยายพื้นที่ปลูกถั่วเขียว KUML ในจังหวัดยโสธรในฤดูกาลผลิต 2567/2568 จำนวน 350 ไร่ นอกจากการประชุมสร้างความเข้าใจการทำงานร่วมกันแล้ว ทีมนักวิชาการ สท. ยังได้ลงพื้นที่ในช่วงวันที่ 8-11 ตุลาคมนี้ เพื่อประชุมชี้แจงโครงการและประเมินศักยภาพกลุ่มเกษตรกรที่จะปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนา โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต
การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร
คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง
คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
ยโสธร
สวทช. โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดยโสธร โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการทำงานภายใต้โครงการ “การพัฒนาเศรษฐกิจด้วย BCG Model พื้นที่นำร่องทุ่งกุลาร้องไห้ (ปี พ.ศ.2567-2571)” Quick Win: ข้าว-พืชหลังนา สิ่งทอ โคเนื้อ ผักอินทรีย์ 1. การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2. การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง 3. การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 4. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร เป้าหมาย: เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยี 1,000 คน
สท.-พัฒนาชุมชนยโสธร เสริมความรู้-เพิ่มทักษะชุมชนทอผ้าด้วยเทคโนโลยี
เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี “การใช้เอนไซม์เอนอีซ (ENZease) และเทคนิคการสกัดสีจากพืชในท้องถิ่น” ให้ชุมชนทอผ้า อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร ผู้เข้าอบรมได้ทดลองใช้เอนไซม์เอนอีซทำความสะอาดเส้นไหม ช่วยลดความมันลื่นและย้อมติดสีได้ดี นอกจากนี้ยังได้นำพืชในท้องถิ่น ได้แก่ ดอกบัว ก้านบัว เปลือกและใบของสบู่เลือด (พรรณไม้เถา) มาต้มสกัดสีนำไปย้อมเส้นไหมที่ทำความสะอาดแล้ว โดยใช้สารส้มและปูนแดงเป็นสารมอแดนท์ ได้เส้นไหม 9 เฉดสี ก้านบัวให้โทนสีเทาเข้ม ดอกบัวให้โทนสีเขียวใส เปลือกและใบของสบู่เลือดให้โทนสีน้ำตาลเหลือง ผู้เข้าอบรมให้ความสนใจนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในงานทอผ้าของชุมชน ซึ่ง สท. จะลงพื้นที่ติดตามอีกครั้งเพื่อผลักดันและเพิ่มทักษะให้ชุมชนต่อไป