สท. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการวิชาการในงาน “ข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 24” จังหวัดร้อยเอ็ด

สท. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการวิชาการในงาน “ข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 24” จังหวัดร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการวิชาการในงานเทศกาลข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 11-15 ธันวาคม 2567 ณ อ่างเก็บน้ำธวัชชัย ต.มะอึ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด โดยจัดแสดงผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์จากการดำเนินงานภายใต้โครงการ “การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปี 2” ได้แก่ ข้าวสายพันธุ์ใหม่ ประกอบด้วย ข้าวหอมสยาม 2 ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 2 ข้าวแดงจรูญ และข้าวนิลละมุน เทคโนโลยีเอนไซม์เอนอีซ เอนไซม์สำหรับลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกออกจากผ้าฝ้ายก่อนย้อมสีในขั้นตอนเดียว นวนุรักษ์: เส้นทางท่องเที่ยวบ่อพันขัน และการยกระดับผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวอาบน้ำและแชมพูผสมสารสกัดข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้

การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการน้ำชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และถ่ายทอดแนวทางการทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่

คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

ร้อยเอ็ด

สวทช. โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการทำงานภายใต้โครงการ “การพัฒนาเศรษฐกิจด้วย BCG Model พื้นที่นำร่องทุ่งกุลาร้องไห้ (ปี พ.ศ.2567-2571)” Quick Win:  ข้าว พืชหลังนา โคเนื้อ บริหารจัดการน้ำ ผักอินทรีย์ สมุนไพร สิ่งทอ ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชน Training Hub 1. การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม2. การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม3. การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการน้ำชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และถ่ายทอดแนวทางการทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่4. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร5. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชและยกระดับการผลิตสมุนไพรคุณภาพดีของเกษตรกร6. การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง 7. การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยนวนุรักษ์แพลตฟอร์ม8. สถานีเรียนรู้ (Training Hub) เพื่อการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่