แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
ศรีสะเกษ
สวทช. โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการทำงานภายใต้โครงการ “การพัฒนาเศรษฐกิจด้วย BCG Model พื้นที่นำร่องทุ่งกุลาร้องไห้ (ปี พ.ศ.2567-2571)” Quick Win: ข้าวหอมมะลิ สิ่งทอ ถั่วเขียว สมุนไพร ผักอินทรีย์ มันสำปะหลัง พริก โคเนื้อ การท่องเที่ยว 1. การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชและยกระดับการผลิตสมุนไพรคุณภาพดีของเกษตรกร 3. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร 4. การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม5. การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง 6. การยกระดับการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยนวนุรักษ์แพลตฟอร์ม เป้าหมาย: เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงเทคโนโลยี 3,344 คน
เกษตรกรเฮปลูกถั่วเขียวคุณภาพ KUML รายได้ไม่ธรรมดา สวทช.-พันธมิตรหนุนปลูกครบวงจรใช้กลไก ‘ตลาดนำการผลิต’
เมื่อวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2567 ณ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดศรีสะเกษ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร (Press Tour) เพื่อเยี่ยมชมความสำเร็จโครงการการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ปีงบประมาณ 2566 นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้ ศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ และ รศ. ดร.ประกิจ
สท.-เกษตรอำเภอเมืองจันทร์ ศรีสะเกษ หนุนความรู้-ขยายผลแปลงสาธิตถั่วเขียว KUML
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษและสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองจันทร์ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร ถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML ณ หอประชุมอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเกษตรกรจากตำบลหนองใหญ่ ตำบลตาโกน และตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ รวม 139 คน เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งรับฟังข้อมูลการรับซื้อผลผลิตจากห้างหุ้นส่วนจำกัดศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล และบริษัท เอสซีพีฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นจุดรับซื้อในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งนี้เทศบาลตำบลเมืองจันทร์ เทศบาลตำบลหนองใหญ่และองค์การบริหารส่วนตำบลตาโกน ได้สนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรมอบรมและจัดซื้อจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML เบอร์ 4 จำนวน 525 กิโลกรัม
อว. -สวทช. จับมือภาคเอกชน ปูพรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 5 จังหวัด พื้นที่ ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG
รัฐมนตรีฯ กระทรวง อว. นำนักวิจัย สวทช. ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ชุมชน ยกระดับ-เพิ่มมูลค่าผ้าทอของทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยีนาโน พร้อมหนุนปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ เป็นพืชหลังนา จับมือภาคเอกชนรับซื้อผลผลิต สร้างอาชีพ เสริมรายได้ สอดคล้องพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ประชาชนอยู่ดี กินดี คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีรายได้เพิ่ม ข้ามพ้นความยากจน ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศ. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ผศ. ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง
ยางชุมน้อยโมเดล: การปลูกพริกยอดสนเข็ม 80 เพื่อแปรรูป
อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็นพื้นที่ผลิตพริกชั้นดีของประเทศไทย เกษตรกรในพื้นที่มีอาชีพผลิตพริกจำหน่ายให้ลูกค้าในประเทศ แต่เกษตรกรยังมีรายได้น้อย ทั้งๆ ที่ทำการเกษตรมานาน มีความชำนาญและขยัน การผลิตพริกแบบเดิมมีต้นทุนสูง มีปัญหาโรคแมลงและใช้สารเคมีปริมาณมาก ทำให้ สุจิตรา จันทะศิลา ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และต้องการกลับบ้านมาช่วยเหลือเกษตรกรที่บ้านเกิด จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโนนติ้ว ตำบลโนนคูณ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ 27 สิงหาคม 2558 ให้เกษตรกรผลิตพริกแห้งปลอดภัยเพื่อแปรรูปและส่งออก เช่น ผลิตพริกสายพันธุ์ “ยอดสนเข็ม 80” ป้อนให้บริษัท บางกอกแลปแอนด์คอสเมติก จำกัด โดยประกันราคารับซื้อ บริษัทฯ ต้องการผลผลิตพริกแห้งพันธุ์นี้ประมาณปีละ 5 – 10 ตันต่อปี หรือ พริกสด