เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานเกษตรอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ และบริษัท ข้าวดินดี จำกัด จัดกิจกรรม “งานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML และเปิดตัวศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์ระดับชุมชน กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง: จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี” ณ กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ โดยได้รับเกียรติจาก ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานเปิดงาน กิจกรรมครั้งนี้ดำเนินงานภายใต้ “โครงการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ
ถั่วเขียว KUML อินทรีย์: คุณค่าที่มากกว่าพืชบำรุงดิน
เมล็ดใหญ่และสีสวยสดของถั่วเขียวในแพ็คสุญญากาศ สะดุดตานักช้อปสายสุขภาพให้หยิบจับ เมื่อบวกกับข้อความและตราสัญลักษณ์ “เกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากล” ชวนให้หยิบจ่าย 40 บาท (ครึ่งกิโลกรัม) ได้ไม่ยากนัก ต้นทางของถั่วเขียวอินทรีย์นี้มาจากวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์คุณภาพ และเริ่มหันมาจริงจังกับพืชหลังนาอย่าง “ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ได้ไม่นาน …เมื่อ “ถั่วเขียว” เป็นพืชหลังนาที่เกษตรกรคุ้นเคยอยู่แล้ว แต่เหตุใดพวกเขาจึงให้ความสำคัญมากขึ้น และทำไมต้องเป็นถั่วเขียวพันธุ์ KUML จากนาเคมีสู่นาอินทรีย์ “คนทำเคมีจะมองหญ้าเป็นศัตรู แต่ก่อนเราก็มองแบบนั้น ทำตามรุ่นพ่อรุ่นแม่ ทำนาให้ได้ข้าวเยอะๆ แต่ลืมนึกถึงสภาพแวดล้อม เป็นอันตรายไปหมด” วิรัตน์ ขันติจิตร สมาชิกวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ย้อนความถึงวิถีการทำนาจากรุ่นสู่รุ่นที่พึ่งพิงสารเคมีเป็นหลัก จนเมื่อได้รับแนวคิดการทำนาที่ไม่ใช้สารเคมีจากการเข้าร่วมอบรมกับชุมชนสันติอโศก บวกกับราคาสารเคมีที่เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นแรงผลักสำคัญให้พวกเขาปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิถีการทำนา “ปี 2542
เกษตรกรเฮปลูกถั่วเขียวคุณภาพ KUML รายได้ไม่ธรรมดา สวทช.-พันธมิตรหนุนปลูกครบวงจรใช้กลไก ‘ตลาดนำการผลิต’
เมื่อวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2567 ณ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดศรีสะเกษ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร (Press Tour) เพื่อเยี่ยมชมความสำเร็จโครงการการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ปีงบประมาณ 2566 นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้ ศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ และ รศ. ดร.ประกิจ
สท. พร้อมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ติดตามกลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียว KUML อำนาจเจริญ-ยโสธร-ศรีสะเกษ
เมื่อวันที่ 9-12 มกราคม 2567 น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส และนายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยวิจัย ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) พร้อมด้วย รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ลงพื้นที่ติดตาม ให้คำปรึกษาและวางแผนการทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียว KUML กลุ่มผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์: วิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์: สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาเเละไทยเจริญ จำกัด ตำบลสามัคคี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์เเละข้าวอินทรีย์บ้านคำครตา
สท. จับมือหน่วยงานรัฐ-เอกชนอบรมผลิตถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานเกษตรอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ และบริษัท ข้าวดินดี จำกัด จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ณ กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ โดยมี รศ.ดร.ประกิจ สมท่า ผช.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และคุณแคทลิยา เอกอุ่น นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากบริษัท ข้าวดินดี จำกัด ร่วมให้ข้อมูลการรับซื้อผลผลิตคุณภาพ
สวทช. ชูผลิตภัณฑ์คุณภาพชุมชนป้อนซูเปอร์มาร์เก็ตฝรั่งเศส
สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) นำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพจากชุมชน ให้บริษัท ITM Alimentaire international เจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตกว่า 2,000 สาขาในประเทศฝรั่งเศส 8 มิถุนายน 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย- ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สวทช. และคุณวิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการ สท. นำเกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าเกษตร พบปะหารือและนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนกับ Mr. Franck Marie (Import Director), Mr. Jean Baptiste Prieur (Import Quality Manager)