สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) นำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพจากชุมชน ให้บริษัท ITM Alimentaire international เจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตกว่า 2,000 สาขาในประเทศฝรั่งเศส 8 มิถุนายน 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย- ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สวทช. และคุณวิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการ สท. นำเกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าเกษตร พบปะหารือและนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนกับ Mr. Franck Marie (Import Director), Mr. Jean Baptiste Prieur (Import Quality Manager)
วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง: ปลูกผักด้วยความรู้ผสานภูมิปัญญา
ดาวน์โหลดเอกสาร
กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองมังจัดงาน “สะเต็มศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์”
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลางร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร เปิดเวทีเสวนา “STEM ศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์” จุดประกายความรู้ นำแนวคิดสะเต็มศึกษาพัฒนาการทำเกษตร พร้อมนำชมแปลงปลูก-แลกเปลี่ยนความรู้กับเกษตรกรเจ้าของแปลง เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลางร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร อาทิ สวทช. สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 4 กรมวิชาการเกษตร สำนักงานพัฒนาที่ดินอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชมรมคนรักในหลวงอุบลราชธานี บริษัท สังคมสุขภาพ เป็นต้น จัดโครงการประชารัฐภักดี เกษตรอินทรีย์ตามรอยพ่อ เผยแพร่ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ ณ ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี กิจกรรมในงานประกอบด้วย เวทีเสวนา “STEM ศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์” ถ่ายทอดความรู้ แนวคิด และการประยุกต์ใช้ STEM กับการทำเกษตรอินทรีย์ จากผู้ร่วมเสวนา
เสวนา “สะเต็มศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์”
จากเวทีสัมมนา “STEM ศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์” ในงานโครงการประชารัฐภักดี เกษตรอินทรีย์ตามรอยพ่อ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 จัดโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลางและเครือข่ายพันธมิตร ณ ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย คุณปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง คุณกัลยารัตน์ รัตนะจิตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สวทช. คุณพเยาว์ พรหมพันธ์ใจ ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 4 กรมวิชาการเกษตร คุณบุญถม กุมพล ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินอุบลราชธานี กรมพัฒนาที่ดิน และคุณแขลดา จิตปัญญา ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และส่งเสริมสุขภาพ บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัด
เคล็ดวิชาเกษตรอินทรีย์
“ผลผลิตอินทรีย์” เป็นที่นิยมของผู้บริโภคที่ให้ความใส่ใจอาหารการกินมากขึ้น แม้ราคาจำหน่ายจะค่อนข้างสูง แต่เพื่อสุขภาพแล้ว ผู้คนไม่น้อยยินดีที่จะจ่าย เมื่อความต้องการ “ผลผลิตอินทรีย์” มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสของฟากผู้ผลิตอย่าง “เกษตรกร” ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของอาชีพเกษตรกรให้ดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ “คุณภาพของผลผลิตอินทรีย์” ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้บริโภคได้เพียงใด “การทำเกษตรอินทรีย์ต้องมีอุดมการณ์และมีวิชาการ” ผลึกความคิดที่ตกตะกอนจากการเรียนรู้และมุ่งมั่นกับการทำเกษตรอินทรีย์มากว่า 20 ปีของคุณปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี และอดีตอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ “อุดมการณ์ คือ ความมุ่งมั่น มีศรัทธาและความเชื่อมั่นในวิชาชีพเกษตรกรของตัวเอง เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ และส่งต่อความรู้ให้ชุมชนได้ วิชาการ คือ เกษตรกรเป็นนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ แต่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการได้ เกษตรกรต้องเรียนรู้” คุณปิยะทัศน์ ขยายความสิ่งที่เกษตรกรต้องเรียนรู้ ประกอบด้วย ดิน เพราะดินคือหัวใจของการทำเกษตร เกษตรกรต้องรู้ว่า
“เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง” อีกย่างก้าวของ “กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์โนนกลาง”
“ปลูกสลัดรอบนึง มีต้นทุนเมล็ดพันธุ์ 40 บาท แต่ไม่งอกทุกเมล็ด ได้ประมาณ 70% ถึงได้อยากทำเมล็ดพันธุ์เก็บไว้ใช้เอง ถ้าเราทำเอง ได้เท่าไหร่ก็ช่างมัน เสียหายเท่าไหร่ก็ไม่เป็นไร เพราะไม่มีต้นทุน” คุณพนมนคร ทำมาทอง เกษตรกรบอกถึงเหตุผลที่ต้องการทำเมล็ดพันธุ์ผักสลัดไว้ใช้เอง และวันนี้เขาและเพื่อนๆ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ได้มาร่วมเรียนรู้ “การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ไว้ใช้เอง” จาก รศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดโดยฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเกษตรและชุมชน สท. “ลดต้นทุนการผลิต มีเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกตลอดไป อนุรักษ์พันธุ์พืช และเพื่อความมั่นคงทางอาหาร” เป็นคำตอบว่าทำไมต้องเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง แล้วเมล็ดพันธุ์ที่เก็บเองจะมีคุณภาพเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมาหรือไม่นั้น อาจารย์บุญส่ง บอกว่า มีหลายพืชสามารถทำได้หากมีการจัดการที่ถูกต้อง รวบรวมพันธุกรรมพืช โดยเก็บรวบรวมตัวอย่างพันธุ์พืชที่ต้องการจากแหล่งต่างๆ
วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง
สวทช. ทำงานในพื้นที่บ้านหนองมัง ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี มาตั้งแต่ปี 2549 โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตการทำเกษตร โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมุ่งมั่นเปลี่ยนแนวทางการทำเกษตรจากเคมีสู่เกษตรอินทรีย์ สวทช. ได้เติมเต็มความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเกษตรกร พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมถ่ายทอดสู่เกษตรกร เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และเกิด “ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง” ที่เป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านเกษตรอินทรีย์จากผู้สนใจทั่วประเทศ สื่อประชาสัมพันธ์ > ข้อมูลสรุป: วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง: ปลูกผักด้วยความรู้ผสานภูมิปัญญา > บทความ: พลังกลุ่ม พลังเกษตรอินทรีย์…ไร้สูตรสำเร็จ > บทความ: สานต่อเกษตรอินทรีย์..ตามแม่บอก-พ่อพาทำ > บทความ: ชุดเทคโนโลยี สวทช. ที่บ้านหนองมัง > บทความ: “เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง” อีกย่างก้าวของ
พลังกลุ่ม พลังเกษตรอินทรีย์…ไร้สูตรสำเร็จ
ธรรมชาติของการรวมกลุ่มก่อเกิดจากคนที่มีความคิดอ่านคล้ายกัน ยอมรับในข้อกำหนดหรือแนวทางที่ตกลงร่วมกัน เช่นเดียวกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง ที่หลอมรวมขึ้นจากสมาชิกผู้มุ่งมั่นทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี มีเจตจำนงแน่วแน่ในการลดใช้สารเคมี ปฏิเสธสารสังเคราะห์ เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งผู้ผลิตผู้บริโภค สร้างระบบนิเวศที่สมดุล ควบคู่กับการสร้างอาชีพที่มั่นคง และเป็นแบบอย่างการเรียนรู้แก่ผู้สนใจ กว่าสมาชิกจาก 14 ครัวเรือนจะฝังรากบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์ได้ แทบทุกคนเคยผ่านการทำเกษตรเคมีมาแล้ว บางคนต้องล้มป่วยเพราะผลจากการใช้สารเคมีอย่างหนักจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด ดังเช่น สุรทอน เหมือนมาต “ตอนทำเกษตรเคมีลงทุนเยอะ ทั้งทุน ทั้งสุขภาพ ทำไปทำมาไม่คุ้ม ตอนแรกดินยังดี แต่พอ 5 ปีขึ้นไปดินเริ่มเสีย พืชเริ่มเป็นโรค ยิ่งใช้สารเคมีหนัก จนมีอาการเหมือนมีลมดันในจมูกขึ้นไปสมอง หายใจไม่อิ่ม นอนก็ไม่อิ่ม ไม่เหมือนทำเกษตรอินทรีย์ใช้ลูกเก็บผักได้เพราะรู้ว่าปลอดภัย” ถวัลย์ ถีระทัน เป็นอีกคนที่ “เคยสนุกกับการทำเคมีและไม่รู้สึกว่าเป็นคนนำสารพิษมาให้ภรรยาและลูก” กระทั่งภรรยาแพ้สารเคมีอย่างหนักจนเข้าออกโรงพยาบาลประจำ จึงทดลองปลูกผักอินทรีย์ตามคำเชิญชวนของ ปิยะทัศน์ ทัศนิยม ผู้ก่อตั้งและประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง หลังจากปลูกผักอินทรีย์ขายได้ 2 ปี ถวัลย์มีรายได้มากกว่าอาชีพขายเสื้อผ้าเร่ที่ทำอยู่เดิม แถมได้สุขภาพที่แข็งแรงของภรรยากลับมา