สท.-ไบโอเทคขยายผลข้าวสายพันธุ์ใหม่-ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีกับเกษตรกรทุ่งกุลาฯ สุรินทร์-มหาสารคาม

สท.-ไบโอเทคขยายผลข้าวสายพันธุ์ใหม่-ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีกับเกษตรกรทุ่งกุลาฯ สุรินทร์-มหาสารคาม

เมื่อวันที่ 13-18 มกราคม 2568 น.ส.ทิฆัมพร แสงโสภา นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และคณะ พร้อมด้วย ดร.ศรีสวัสดิ์ ขันทอง กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ลงพื้นที่ประชุมหารือและประเมินความพร้อมกลุ่มเกษตรกรอำเภอท่าตูม อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม รวม 15 กลุ่ม ที่จะเข้าร่วมรับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีและการจัดทำแปลงสาธิตการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี การทดสอบข้าวสายพันธุ์ใหม่ และการใช้จุลินทรีย์เพื่อยับยั้งโรคพืชและย่อยสลายตอซังข้าวในฤดูกาลผลิต 2568 พร้อมทั้งติดตามเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีข้าวสายพันธุ์ใหม่และการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเมื่อปี 2567 ข้าวสายพันธุ์ใหม่ 6 สายพันธุ์ เป็นผลงานการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยนักวิจัยไบโอเทค ประกอบด้วย 3 กลุ่มพันธุ์ข้าว 6 สายพันธุ์ คือ

นักวิชาการ สท. ร่วมเวที สกสว. นำเสนอนวัตกรรมถั่วเขียว KUML ยกระดับข้าวไทยด้วย ววน. ในงาน Thailand Rice Fest 2024

นักวิชาการ สท. ร่วมเวที สกสว. นำเสนอนวัตกรรมถั่วเขียว KUML ยกระดับข้าวไทยด้วย ววน. ในงาน Thailand Rice Fest 2024

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2567 น.ส.ณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมบรรยายในหัวข้อ “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร (ถั่่วเขียว KUML) โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต” ในงาน Thailand Rice Fest 2024 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยเป็นหนึ่งใน 7 งานวิจัยและนวัตกรรมข้าวที่โดดเด่น พร้อมใช้ประโยชน์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่ง สกสว. มีแนวคิดการยกระดับข้าวและชาวนาไทยด้วย ววน. ด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่

สวทช. นำสำนักงบประมาณติดตามโครงการยกระดับคุณภาพผลิตข้าว-พืชหลังนา-เลี้ยงโคเนื้อทุ่งกุลาร้องไห้ จ.สุรินทร์

สวทช. นำสำนักงบประมาณติดตามโครงการยกระดับคุณภาพผลิตข้าว-พืชหลังนา-เลี้ยงโคเนื้อทุ่งกุลาร้องไห้ จ.สุรินทร์

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ดร.มีชัย เซี่ยงหลิว นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) นำคณะนักวิเคราะห์จากสำนักงบประมาณ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิต พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ในโครงการการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้: วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีบ้านโนนทองหลาง จ.สุรินทร์ นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้ดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ตั้งแต่ปี 2562 โดยมีเป้าหมายในการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยียกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อให้เกษตรกรในเขตพื้นที่มีความมั่นคงด้านอาหาร เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ต่อมาในปี 2567

การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566   คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

งานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวระดับเขต (ภาคใต้) ประจำปี 2565

งานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวระดับเขต (ภาคใต้) ประจำปี 2565

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับภาคีพันธมิตรทั้งหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาในจังหวัดสงขลา นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรในจังหวัดสงขลา โดยฉพาะ “ข้าว” ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด ในช่วงวันที่ 20-21 มิถุนายน 2565 สท./สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา จัดนิทรรศการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการผลิตข้าวภายในงานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวระดับเขต (ภาคใต้) เนื่องในวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ประจำ 2565 ณ โรงเรียนบ้านกระอาน ต.ท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา โดยนำเสนอเทคโนโลยีด้านการผลิตข้าวของ สวทช. เช่น  พันธุ์ข้าวที่พัฒนาโดยนักวิจัย สวทช. แอพพลิเคชั่นที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวพื้นเมืองที่ สวทช. ได้ร่วมทำงานด้วย เป็นต้น นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาได้นำเสนอพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ที่ได้ศึกษาและรวบรวมไว้ ตลอดจนการทำงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกรเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง สื่อความรู้ที่นำเสนอภายในงาน