สท.-ไบโอเทคขยายผลข้าวสายพันธุ์ใหม่-ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีกับเกษตรกรทุ่งกุลาฯ สุรินทร์-มหาสารคาม

สท.-ไบโอเทคขยายผลข้าวสายพันธุ์ใหม่-ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีกับเกษตรกรทุ่งกุลาฯ สุรินทร์-มหาสารคาม

เมื่อวันที่ 13-18 มกราคม 2568 น.ส.ทิฆัมพร แสงโสภา นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และคณะ พร้อมด้วย ดร.ศรีสวัสดิ์ ขันทอง กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ลงพื้นที่ประชุมหารือและประเมินความพร้อมกลุ่มเกษตรกรอำเภอท่าตูม อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม รวม 15 กลุ่ม ที่จะเข้าร่วมรับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีและการจัดทำแปลงสาธิตการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี การทดสอบข้าวสายพันธุ์ใหม่ และการใช้จุลินทรีย์เพื่อยับยั้งโรคพืชและย่อยสลายตอซังข้าวในฤดูกาลผลิต 2568 พร้อมทั้งติดตามเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีข้าวสายพันธุ์ใหม่และการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเมื่อปี 2567 ข้าวสายพันธุ์ใหม่ 6 สายพันธุ์ เป็นผลงานการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยนักวิจัยไบโอเทค ประกอบด้วย 3 กลุ่มพันธุ์ข้าว 6 สายพันธุ์ คือ

สท.-ไบโอเทค-ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ติดตามแปลงเกษตรกรทุ่งกุลาฯ ทดสอบปลูกข้าว 6 สายพันธุ์ใหม่

สท.-ไบโอเทค-ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ติดตามแปลงเกษตรกรทุ่งกุลาฯ ทดสอบปลูกข้าว 6 สายพันธุ์ใหม่

เมื่อวันที่ 21-23 ตุลาคม 2567 นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับนักวิจัยกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ลงพื้นที่ติดตามแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ใหม่และพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจสอบแปลงนาในพื้นที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อำเภอชุมพลบุรี และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีข้าวสายพันธุ์ใหม่และการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี เพื่อยกระดับการผลิตข้าวของเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” โดยมีแปลงเกษตรกร 5 ราย ร่วมทดสอบผลิตข้าวสายพันธุ์ใหม่ 6 สายพันธุ์ ได้แก่ หอมสยาม 2 ไรซ์เบอร์รี่ 2 แดงจรูญ นิลละมุน ธัญสิรินต้นเตี้ย และข้าวเหนียวดำ จากการลงพื้นที่ครั้งนี้พบว่า ข้าวสายพันธุ์ใหม่สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ของจังหวัดมหาสารคามและสุรินทร์ เกษตรกรยังสนใจทดสอบผลิตข้าวสายพันธุ์ใหม่ตามความสนใจ ได้แก่ หอมสยาม 2 จำนวน