สท. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการวิชาการในงาน “ข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 24” จังหวัดร้อยเอ็ด

สท. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการวิชาการในงาน “ข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 24” จังหวัดร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการวิชาการในงานเทศกาลข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 11-15 ธันวาคม 2567 ณ อ่างเก็บน้ำธวัชชัย ต.มะอึ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด โดยจัดแสดงผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์จากการดำเนินงานภายใต้โครงการ “การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปี 2” ได้แก่ ข้าวสายพันธุ์ใหม่ ประกอบด้วย ข้าวหอมสยาม 2 ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 2 ข้าวแดงจรูญ และข้าวนิลละมุน เทคโนโลยีเอนไซม์เอนอีซ เอนไซม์สำหรับลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกออกจากผ้าฝ้ายก่อนย้อมสีในขั้นตอนเดียว นวนุรักษ์: เส้นทางท่องเที่ยวบ่อพันขัน และการยกระดับผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวอาบน้ำและแชมพูผสมสารสกัดข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้

งานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด (เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก)

งานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด (เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก)

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด (เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก) ระหว่างวันที่ 23–25 ธันวาคม 2565 ณ ลานสาเกตนคร บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยจัดแสดงองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ สท. ได้ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรและชุมชนเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่จัดแสดง ได้แก่ ตัวอย่างสายพันธุ์ข้าวที่พัฒนาโดย สวทช. สารชีวภัณฑ์ พืชหลังนา (ถั่วเขียว) สารชีวภัณฑ์ อาหารโค TMR การแปรรูปข้าว สิ่งทอ นอกจากนี้ยังนำเสนอตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรในเครือข่าย สท. ที่เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว

ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

พื้นที่ “ทุ่งกุลาร้องไห้” ดินแดนที่ขึ้นชื่อถึงความแห้งแล้งและทุรกันดาร แต่กลับเป็นแหล่งผลิต “ข้าวหอมมะลิ” ที่เลื่องลือระดับโลก สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร สนับสนุนความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม “เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ภายใต้โครงการ Inclusive Innovation ส่งเสริมธุรกิจเกษตรและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ไม่เพียงเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้ยืนหนึ่งในเวทีโลก หากยังสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้เกษตรกรไทย ดังเช่นที่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านจันทร์หอม ต.นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ข้าวจันทร์หอมรวงทอง: มาตรฐานข้าวอินทรีย์ และได้รับการขึ้นทะเบียน GI สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มีสมาชิก 28 คน พื้นที่เพาะปลูก 700 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิในระบบเกษตรอินทรีย์ ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ใช้ชื่อ “ข้าวจันทร์หอมรวงทอง” เมื่อนำมาหุง