สท./สวทช. หนุน ‘เสริมแกร่งชาวนาสงขลา’ ด้วย ‘วิถีวิทย์’

สท./สวทช. หนุน ‘เสริมแกร่งชาวนาสงขลา’ ด้วย ‘วิถีวิทย์’

เมื่อวันที่ 20-21 กันยายน 2563 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาคภาคใต้ (ศวภ.3) คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา และกลุ่มเครือข่ายชาวนาวิถีวิทย์ 12 กลุ่ม ใน 11 อำเภอของจังหวัดสงขลา จัดงาน ‘เสริมแกร่งชาวนาสงขลา’ ด้วย ‘วิถีวิทย์’ ณ ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา โดยได้รับเกียรติจากนายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดงาน งาน ‘เสริมแกร่งชาวนาสงขลา’ ด้วย ‘วิถีวิทย์’ เกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิต เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง ให้เกิดการกระตุ้นและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

“Inspector” ผู้ปิดทองขับเคลื่อน “ข้าวอินทรีย์”

“Inspector” ผู้ปิดทองขับเคลื่อน “ข้าวอินทรีย์”

การปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวเพื่อให้ได้มาตรฐาน Organic Thailand ภายใต้โครงการเกษตรอินทรีย์ล้านไร่ของภาครัฐ กำหนดระยะเวลาปรับเปลี่ยนไว้ 3 ปี แบ่งเป็น ระยะปรับเปลี่ยนปี 1 (T1) ระยะปรับเปลี่ยนปี 2 (T2) และระยะปรับเปลี่ยนปี 3 (T3) มีข้อกำหนดปฏิบัติและการตรวจสอบที่เข้มข้นขึ้นในแต่ละระยะ และที่สำคัญเป็นการตรวจรับรองแบบกลุ่ม นั่นหมายถึงสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องผ่านการตรวจ หากคนใดคนหนึ่งไม่ผ่าน ทั้งกลุ่มจะไม่ได้รับการรับรอง สมาชิกจึงต้องร่วมแรงร่วมใจปฏิบัติให้ได้ตามข้อกำหนด โดยมีผู้ตรวจสอบภายใน หรือ Inspector ประจำกลุ่ม ทำหน้าที่ทั้ง “ผู้ตรวจ” และ “ผู้ขับเคลื่อน” ให้การผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเดินหน้าได้สำเร็จ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดอบรมให้ความรู้ “กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อขอรับรองกระบวนการกลุ่ม” และ “การตรวจรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์แบบกลุ่ม เพื่อสร้างผู้ตรวจสอบภายในองค์กร

ข้าวและพืชหลังนา

ข้าวและพืชหลังนา

“ข้าว” เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตคนไทยทั้งในแง่ของการผลิตและบริโภค จากการผลิต “ข้าว” เพื่อบริโภคภายในครัวเรือนสู่การผลิตเพื่อจำหน่ายในระบบอุตสาหกรรม ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตข้าวอันดับ 6 ของโลก และส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก (ปี 2559) สร้างรายได้ให้ประเทศปีละหลายแสนล้านบาท จากสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการผลิตข้าวและพืชเกษตร สวทช. กำหนดยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนา การปรับตัวภาคการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระยะที่ 3 (2560-2564) เพื่อสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อใช้ปรับปรุงพันธุ์พืชที่ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลิตพืชที่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเทคโนโลยีการพยากรณ์และระบบเตือนภัย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียอันเกิดจากภัยพิบัติและศัตรูพืช นอกจากเทคโนโลยีและนวัตกรรม “ข้าว” แล้ว สวทช. ยังได้สนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา “พืชหลังนา” เช่น ถั่วเขียว งา ซึ่งเป็นพืชที่ไม่เพียงช่วยปรับปรุงบำรุงดินหลังเก็บเกี่ยวข้าว หากยังสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกรอีกด้วย   บทความ สิ่งพิมพ์