เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 ณ หอประชุมใหญ่สามพร้าว มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี: นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรสมัยใหม่ครบวงจร เพื่อร่วมกันสนับสนุนการวิจัย พัฒนาและบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรและเกษตรสมัยใหม่ พัฒนาหลักสูตรและขยายผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ รวมถึงส่งเสริมอาชีพ สร้างเศรษฐกิจรายได้ ยกระดับทักษะความรู้และเพิ่มขีดความสามารถด้านการเกษตรของบุคลากรทั้งสองฝ่าย ตลอดจนผลักดันให้เกิดกลไกความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรและเกษตรสมัยใหม่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ทดสอบ สาธิตการปรับใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ชุมชน ซึ่งการลงนามความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง “ความร่วมมือเครือข่ายและการเปลี่ยนผ่านชุมชนท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน” ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย 36 หน่วยงาน ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร
สวทช. ผนึกความร่วมมือ มจธ.-เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา นราธิวาส พัฒนาชุมชนด้วย วทน.
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมดาหลา เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อ.แว้ง จ.นราธิวาส: น.ส.อดิศัย เรืองจิระชูพร นักวิเคราะห์ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เป็นผู้แทน สวทช. ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส” ระหว่าง สวทช. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา โดยมี รศ.ดร. สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. และนายศุภโยค ลอดิง นายกเทศมนตรีตำบลบูเก๊ะตา ร่วมลงนาม ภายใต้บันทึกข้อตกลงดังกล่าว เป็นความร่วมมือของทั้งสามหน่วยงานในนาม “หน่วยงานความร่วมมือโครงการ Smart
สวทช. จับมือมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พัฒนางานวิจัย-ถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาสวนดุสิต ภายใต้ “การพัฒนางานวิจัยและการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน” โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อร่วมกันสนับสนุนงานวิจัยและผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ยกระดับประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย เพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สาธิต และทดสอบเทคโนโลยีด้านเกษตรและอาหาร โดยบูรณาการองค์ความรู้จากทั้งสองหน่วยงานและเครือข่ายพันธมิตร เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรที่รองรับการเรียนรู้ในระดับภาคสนามและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่ชุมชนโดยเน้นการลงมือปฏิบัติ นำไปสู่การขยายผลในวงกว้าง เพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ ให้เกิดการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน ที่ผ่านมา สวทช. ได้พัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งด้านการเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ รวมทั้งเร่งผลักดันให้เกิดการสาธิตและขยายผล พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรและชุมชน ให้เกิดการเข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อให้ชุมชนและเกษตรกรได้นำผลงานวิจัยไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร สร้างมูลค่าและรายได้ เชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือจากภาคการผลิตสู่ภาคการตลาด ทั้งนี้ สวทช. ได้ผนึกกำลังและสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สวทช. ผนึกพันธมิตรยกระดับคุณภาพ-มาตรฐานการปลูกพืชสมุนไพร ใช้กลไกตลาดนำการผลิต สร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลา
(วันที่ 17 กันยายน 2565) ณ ห้องประชุมศรีพฤทเธศวร ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “การยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม: ด้านพืช สมุนไพร” ร่วมกับ 3 จังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม รวมทั้งสถาบันการศึกษาในพื้นที่ นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับการปลูกพืชสมุนไพร นำร่องขิง ไพล ฟ้าทะลายโจร พร้อมเชื่อมโยงบริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) และบริษัท กุยลิ้มฮึ้ง จำกัด รับซื้อผลผลิตคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการตลาด เปิดช่องทางการตลาดใหม่ สร้างเศรษฐกิจชุมชนและฐานรากให้ยั่งยืนโดยใช้ฐานทรัพยากรในพื้นที่ ศาสตราจารย์
สวทช. ผนึก มทร.อีสาน พัฒนา-ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ พลิกทุ่งกุลาให้ “ยิ้มได้”
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้” ใช้กลไก Training Hub สถานีกระจายความรู้สร้างทักษะให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้นแบบขยายผลการใช้เทคโนโลยีให้ครอบคลุมพื้นที่เขตทุ่งกุลาร้องไห้ ตั้งเป้ายกระดับรายได้เกษตรกรก้าวพ้นขีดความยากจน สอดรับการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งให้ประชาชนอยู่ดีกินดี นายเชวงศักดิ์ พลเยี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีประวัติศาสตร์ ประเพณี และวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน มุ่งเน้นพัฒนาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมบนพื้นฐานแหล่งผลิต สร้างมูลค่าข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง และเป็นเมืองน่าเที่ยว น่าอยู่ การดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในบันทึกข้อตกลงนี้สอดคล้องกับพันธกิจของจังหวัดทั้ง 3 ประการ คือ 1) ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในนวัตกรรมเพิ่มศักยภาพในการบริหารทรัพยากรและสินค้าเกษตรให้เป็นเกษตรที่ปลอดภัย เกษตรอินทรีย์
มูลนิธิโครงการหลวง-สวทช. ลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนงานวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาคน ยกระดับอาชีพและคุณภาพชีวิตชุมชนบนพื้นที่สูง
มูลนิธิโครงการหลวงและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนางานวิจัยและการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน” สอดคล้องตามแนวทางของมูลนิธิที่มุ่งให้ “เกษตรกรมีรายได้พอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง ป่าต้นน้ำลำธารได้รับการฟื้นฟู” นายจรัลธาดา กรรณสูต ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง กล่าวว่า สวทช. เป็นหน่วยงานสำคัญของประเทศที่สนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย สอดคล้องตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดงานของมูลนิธิโครงการหลวงให้เป็นไปตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงก่อตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2512 ที่ได้พระราชทานแนวทางสำคัญของการดำเนินงาน คือ “เมื่อไม่รู้ต้องวิจัย” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสู่การพัฒนาพื้นที่สูงสู่ความยั่งยืน “มูลนิธิโครงการหลวงได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก สวทช. ผ่านการสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่หน่วยงานต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมองค์ความรู้ ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ให้แก่บุคลากรและเกษตรกรของมูลนิธิฯ มาอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนบนพื้นที่สูงในทุกมิติให้ดีขึ้น การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จึงนับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่จะได้ร่วมกับโครงการในการต่อยอดและขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนในพื้นที่โครงการหลวง เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและมั่นคงในทุกมิติ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน
หอมขจรฟาร์ม: แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ
“การทำอาหารให้ได้คุณภาพ วัตถุดิบเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งต้นทางวัตถุดิบมาจากการทำเกษตรที่ดี” มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในอัตลักษณ์อันโดดเด่นด้านอาหารมาเนิ่นนาน นับตั้งแต่ก่อตั้งเป็นโรงเรียนการเรือนจวบจนกระทั่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านอาหารออกสู่สังคมโดยคำนึงความอร่อย คุณค่าและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ จากแนวคิดดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อน โครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ หรือ หอมขจรฟาร์ม บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ที่วิทยาเขตสุพรรณบุรี เพื่อดำเนินงานส่งเสริมคุณค่าห่วงโซ่การผลิตอาหารปลอดภัยจากต้นน้ำไปจนกระทั่งถึงปลายน้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการและชุมชน “เราไม่ได้ต้องการทำเกษตรดั้งเดิม แต่จะนำเทคโนโลยีมาบูรณาการกับการเกษตรที่ดีและความเชี่ยวชาญด้านการแปรรูปที่เป็นมาตรฐานของมหาวิทยาลัย” รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวถึงความตั้งใจของมหาวิทยาลัยต่อการขับเคลื่อนโครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ ที่ไม่ใช่แค่การดำเนินงานเพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณค่าด้านการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยเท่านั้น หากยังบูรณาการการดำเนินงานของแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะเป็นฐานการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ให้บุคคลทุกช่วงวัย ทั้งนักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ เกษตรกรและผู้ประกอบการในจังหวัดสุพรรณบุรี โรงเรือนเพาะปลูกพืชขนาด 6x20x5.6 เมตร จำนวน 3 โรงเรือนตั้งเรียงตระหง่านบนพื้นที่หอมขจรฟาร์ม เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีเป้าหมายเพื่อ “พัฒนางานวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์