สท. ร่วมนำเสนอเทคโนโลยีในเวที “พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เป็น Young Smart Farmer ปี 2568 จังหวัดจันทบุรี”

สท. ร่วมนำเสนอเทคโนโลยีในเวที “พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เป็น Young Smart Farmer ปี 2568 จังหวัดจันทบุรี”

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 นักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “ก้าวสู่ผู้ประะกอบการเกษตรสมัยใหม่” ในงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer เวทีที่ 1 ตามโครงการพัฒนาทักษะและแนวคิดผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (เกษตรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)) ปีงบประมาณ 2568 ณ ห้องประชุมสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี โดยแนะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการแปลงทุเรียนของ สวทช. ได้แก่ ระบบการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับพืชแปลงเปิด (ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ) สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ (ระบบไวมาก) การจัดการศัตรูพืชทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์แบบครบวงจร (SOP ชีวภัณฑ์) ถุงห่อคัดเลือกช่วงแสง “Magik

สท.-ไบโอเทคขยายผลผลิต-ใช้ราไตรโคเดอร์มาจัดการโรครากเน่าโคนเน่าในสวนทุเรียนจันท์

สท.-ไบโอเทคขยายผลผลิต-ใช้ราไตรโคเดอร์มาจัดการโรครากเน่าโคนเน่าในสวนทุเรียนจันท์

เมี่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 น.ส.เสาวนีย์ ปานประเสริฐกุล นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) น.ส.รัศมี หวะสุวรรณ ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส และน.ส.วชิราภรณ์ ถูปาอ่าง ผู้ช่วยวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ลงพื้นที่ให้ความรู้และพัฒนาทักษะการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ TBRC4734 แก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาคุณภาพทุเรียนและการเกษตรบ้านมาบโอน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เพื่อใช้ควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โดยสมาชิกฯ ได้ฝึกปฏิบัติผลิตก้อนเชื้อสดราไตรโคเดอร์มาตามหลักวิธีของไบโอเทค และยังได้เรียนรู้วิธีตรวจสอบเชื้อราไฟทอปธอร่าและพิเทียมในดินสวนทุเรียนด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดการโรคได้อย่างทันท่วงที สท. และไบโอเทค ได้ร่วมกันขยายผลการบริหารจัดการโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มา สายพันธุ์ TBRC4734 ให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดระยองและจันทบุรี ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นผลงานวิจัยและพัฒนาโดยไบโอเทค พบว่าการใช้เชื้อราไตโคเดอร์มาสามารถควบคุมโรคเน่าโคนเน่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้จัดทำคู่มือการจัดการศัตรูทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์แบบครบวงจร (Standard Operating Procedure

สท.-ไบโอเทค ผนึกพันธมิตร ส่งต่อความรู้ “การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์”

สท.-ไบโอเทค ผนึกพันธมิตร ส่งต่อความรู้ “การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์”

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.) จังหวัดชลบุรี และศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริจังหวัดจันทบุรี จัดกิจกรรมอบรม “การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์” ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านมาบชโอน ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี และผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีนายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดงานและบรรยายในหัวข้อ “ทิศทางตลาดทุเรียนปลอดภัย” และมีทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมชีวภาพ ไบโอเทค เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “การใช้ชีวภัณฑ์และคู่มือปฏิบัติงานเบื้องต้นในสวนทุเรียน” “การสำรวจและควบคุมแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียน” และ “การควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าในสวนทุเรียนด้วยราไตรโคเดอร์มา” นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี ดร.อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมชีวภาพ ไบโอเทค