“จุลินทรีย์” สิ่งมีชีวิตทรงพลัง

Microbes4

เมื่อเอ่ยถึง “จุลินทรีย์” ภาพในความคิดของหลายคนเป็น “สิ่งมีชีวิตเล็กๆ” เล็กขนาดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ แต่เมื่อพูดถึงประโยชน์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นี้ เราจะนึกถึงอะไร ….. “จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่พบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม ซึ่งมีหลายกลุ่ม เช่น แบคทีเรีย ไวรัส สาหร่าย มีทั้งตัวดีและไม่ดี ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยตัวไม่ดีอาจทำให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์ พืชและสัตว์ ในขณะที่ตัวดีนั้นสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น บางตัวย่อยสลายเซลลูโลสหรือสารอินทรีย์ได้” ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ช่วยขยายความเข้าใจต่อ “จุลินทรีย์” มากขึ้น เมื่อจุลินทรีย์มีหลากหลายกลุ่มและยังมีทั้งตัวดีและไม่ดี การจะนำจุลินทรีย์มาใช้งานจึงต้องคัดเลือกชนิดและคุณสมบัติที่ต้องการเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่งานวิจัยของ ดร.ฐปน-ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับทุนสนับสนุนจาก สวทช.

เมื่อ “จุลินทรีย์” เปลี่ยนชีวิต

เมื่อ “จุลินทรีย์” เปลี่ยนชีวิต

จากคนที่ทำสวนลำไยมีรายได้เป็นแสนบาทต่อปีให้หยิบจับ รัตฑนา จันทร์คำ หรือ แม่หลวงอ้อ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ต.หนองตอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ใช้เวลาเรียนรู้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอยู่กว่า 7 ปี จึงตัดสินใจปรับเปลี่ยนจากเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรผสมผสาน “ไปอบรมแรกๆ ก็แย้งในความรู้สึกว่ามันดูกระจอก จะได้จริงเหรอ กระจอกคือรายได้นิดเดียว ขายลำไยปีนึงได้เป็นแสน เก็บผักได้วันละ 100-300 บาท ทำเหนื่อย รายได้น้อย แต่เป็นผู้ใหญ่บ้านถูกส่งไปอบรมเรื่อยๆ ก็ซึมซับว่าน่าจะดี จะดีจริงมั้ย ก็ต้องลงมือทำ พอมาทำก็ยากอยู่ ต้องใช้ความอดทน ความขยันและเรียนรู้ตลอด แต่ผลที่ได้ ทำแล้วคุ้ม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ เพราะไม่ใช้สารเคมี” วิถีการทำสวนลำไยที่พึ่งพาการใช้สารเคมี ทำให้สมาชิกในชุมชนได้รับผลกระทบเรื่องสุขภาพ ผลตรวจเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย แม่หลวงอ้อ ใช้เวลากว่า 2 ปี ลงมือทำและปรับเปลี่ยนการทำเกษตรในพื้นที่ 7 ไร่ของตนเองให้เป็นเกษตรผสมผสานเพื่อเป็นตัวอย่างให้สมาชิกได้เข้ามาเรียนรู้ จนเกิดเป็น “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านป่าลาน” ที่มีทั้งแปลงผักอินทรีย์

“บ้านท้องฝาย” ชุมชนปลอดขยะ ดินดีมีคุณภาพ ด้วย “จุลินทรีย์”

จุลินทรีย์1

“แต่ก่อนวิถีของชุมชนกำจัดขยะโดยการเผา นำไปทิ้งในแม่น้ำลำคลอง ที่สาธารณะต่างๆ ทำอย่างไรก็ได้ให้ขยะ ใบไม้ กิ่งไม้พ้นบ้านของตนเอง สร้างปัญหาให้กับชุมชน เรื่องขยะเป็นหน้าที่ของทุกคน ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของเทศบาลฯ ฝ่ายเดียว คนในชุมชนต้องมีจิตสาธารณะด้วย”  ร.ต.ต.สุภาพ ยะมะโน หรือ ลุงสุภาพ ประธานคณะกรรมการชุมชนปลอดขยะบ้านท้องฝาย และประธานสภาเทศบาลตำบลริมเหนือ บอกเล่าถึงสภาพการจัดการขยะของชุมชนในอดีต บ้านท้องฝาย หมู่ 2 ตำบลริมเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำแม่ริม ชุมชนอาศัยอยู่ใต้ฝาย จึงเรียกว่า บ้านท้องฝาย จากการทิ้งขยะของชุมชนที่นับวันจะเป็นปัญหามากขึ้น ลุงสุภาพจึงได้ร่วมกับทางเทศบาลตำบลริมเหนือผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหา โดยนำความรู้หลายๆ ด้านมาถ่ายทอดให้ชุมชน หนึ่งในองค์ความรู้จากสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คือ การใช้จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หลังจากได้รับความรู้จาก สท./สวทช. ลุงสภาพ ได้สร้างบ่อเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์โดยใช้จุลินทรีย์ช่วยเร่งการย่อยสลายรดในบ่อทุกๆ 6 เดือน ทำให้เศษใบไม้