ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’

ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’

เมล็ดใหญ่ สุกแก่เร็ว ให้ผลผลิตสูงได้ถึง 300 กก./ไร่ ต้านทานโรคราแป้งและใบจุด คือจุดเด่นของถั่วเขียวพันธุ์ KUML ที่เริ่มได้รับความนิยมจากเกษตรกร หลังจากที่ สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ขยายผลการปลูกถั่วเขียว KUML อย่างมีคุณภาพให้เกษตรกรโดยใช้ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จนเกิดการจัดตั้ง “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย” อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพระดับชุมชนส่งต่อเมล็ดพันธุ์ KUML ให้เกษตรกรทั่วประเทศ ถั่วเขียวเป็นพืชหลังนาที่ไม่เพียงช่วยบำรุงดินให้สมบูรณ์สำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป หากเมล็ดถั่วเขียว (grain) ยังเป็นผลผลิตที่สร้างรายได้ให้เกษตรกร และด้วยจุดเด่นของถั่วเขียว KUML บวกกับการปลูกอย่างมีความรู้ ทำให้ผลผลิตถั่วเขียวเป็นที่ต้องการของบริษัทรับซื้อ ดังเช่น บริษัท กิตติทัต จำกัด

เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

โครงการ “อุบลโมเดล” คือจุดเริ่มการทำงานด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ซึ่งสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ดำเนินงานกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต.กู่จ่าน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร จำนวน 60 คน พื้นที่ปลูกรวม 354 ไร่ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพดี ซึ่งในปี 2565 สามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ 1.3 ล้านบาท จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 ตัน/ไร่ จากเดิม 3 ตัน/ไร่ แม้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ด้วยราคารับซื้อมันสำปะหลังอินทรีย์ที่สูงและต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ.2565

ตลาดนำการผลิต

นอกจากบทบาทการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลสู่เกษตรกรแล้ว การเชื่อมโยงภาคการผลิตสู่การตลาด เป็นอีกบทบาทที่สำคัญของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ที่จะตอบโจทย์เกษตรกร “ปลูกแล้วขายใคร” ขณะที่ตลาดต้องการ “ผลผลิตคุณภาพ มีของส่งสม่ำเสมอ” “ตลาดนำการผลิต” (Inclusive Innovation) เป็นกลไกการทำงานที่ สท. เชื่อมโยงภาคการผลิตสู่การตลาด โดยบูรณาการความร่วมมือแบบจตุภาคีจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคประชาสังคม สร้างการเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิการผลิตให้เกษตรกรและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการของตลาด การดำเนินงานที่ผ่านมา สท. ได้ใช้กลไกตลาดนำการผลิตเชื่อมโยงกลุ่มเกษตรกรกับบริษัทเอกชนผู้รับซื้อ/แปรรูป โดยมีกระบวนการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อทำให้เกิดผลผลิตที่ตอบโจทย์ตลาด ขณะที่เกษตรกรพอใจกับราคารับซื้อและรายได้ที่จะเพิ่มขึ้น ดังตัวอย่างการดำเนินงานด้วยกลไกตลาดนำการผลิตในมันสำปะหลังและถั่วเขียว เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ (หนังสือ ‘นวัตกรรม’ ขับเคลื่อนเกษตรและชุมชน) ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’ (หนังสือ