“ป่าฮาลา-บาลา” ผืนป่าดืบชื้นบนพื้นที่เกือบ 4 แสนไร่ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จังหวัดยะลาและนราธิวาส ขึ้นชื่อว่าเป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากแห่งหนึ่งของประเทศทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ด้วยอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ ไม่เพียงการรักษาสิ่งมีชีวิตในพื้นป่าให้คงอยู่ หากการพัฒนาชีวิตผู้คนในพื้นที่ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน การเกิดขึ้นของ “หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุและป่าดิบชื้นฮาลา-บาลา” โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เมื่อเกือบ 20 ปี คือจุดเริ่มต้นของการส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่า และขยายสู่การทำงานพัฒนาเชิงพื้นที่ของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ในชุมชนรอบพื้นที่ป่าบาลา ต.โละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส เพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้จากทรัพยากรท้องถิ่นโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชุมชนรอบพื้นที่ป่าบาลาเป็นพื้นที่ทำงานเชิงพื้นที่ของ สท. ในระดับ 2 ดาว ที่มีจุดเด่นในด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ แต่ชุมชนยังประสบปัญหาด้านอาชีพและรายได้ และด้วยบริบทของพื้นที่ที่อิงแอบกับความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า หากเกิดการเรียนรู้และรู้จักใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่อย่างเข้าใจ
การอนุรักษ์พื้นที่ป่าสาคูตำบลโละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส
สาคูเป็นพืชตระกูลปาล์มที่สำคัญชนิดหนึ่งในภาคใต้ ชอบขึ้นในพื้นที่พรุ ชุ่มน้ำ สามารถนำทุกส่วนของต้นมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ใบ-มุงหลังคา ยอด-ปรุงอาหาร ลำต้น-สกัดเอาแป้งมาประกอบอาหาร รวมถึงใช้เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ ปัจจุบันป่าสาคูถูกภัยคุกคามจากการขุดลอกคูคลองและการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่นปาล์มน้ำมันและยางพารา ทำให้ป่าสาคูลดน้อยลง ประชาชนในพื้นที่ตำบลโละจูด ประกอบอาชีพหลักกรีดยาง เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ปลูกผักสวนครัว เป็นอาชีพเสริม การเลี้ยงสัตว์ใช้วัสดุในท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุนการผลิต จึงเกิดกลุ่มเลี้ยงเป็ดเพื่อการอนุรักษ์ป่าสาคูขึ้น กลุ่มเลี้ยงเป็ดเพื่อการอนุรักษ์ป่าสาคูมีสมาชิกทั้งหมด 52 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 9 หมู่บ้านในตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส เลี้ยงเป็ดเฉลี่ยครัวเรือนละ 15-20 ตัว โดยใช้เศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือนและแป้งสาคูควบคู่กับการให้อาหารสำเร็จรูป รายได้จากการเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่เฉลี่ยเดือนละ 500-1,000 บาทต่อครัวเรือน ปี 2557 จนปัจจุบัน ปี
การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากต้นสาคูเลี้ยงเป็ด กรณีศึกษาตำบลโละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส
กลุ่มเลี้ยงเป็ดเพื่อการอนุรักษ์ป่าสาคูปัจจุบันมีสมาชิก 52 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 9 หมู่บ้านในต.โละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส เลี้ยงเป็ดเฉลี่ยครัวเรือนละ 15-20 ตัว ใช้เศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือนและแป้งสาคูควบคู่กับการให้อาหารสำเร็จรูป รายได้จากการเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่เฉลี่ยเดือนละ 500-1,500 บาทต่อครัวเรือน ความสำเร็จจากการเลี้ยงเป็ดแห่งตำบลโละจูด ไม่ใช่แค่สร้างรายได้และสุขภาวะที่ดีให้คนในชุมชน แต่ทำให้ชาวบ้านเกิดทัศนคติที่ดีในการหวงแหนทรัพยากรอย่าง “ต้นสาคู” ด้วย การอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน การให้ชุมชนหยุดรุกป่าและหันมาร่วมเป็นผู้พิทักษ์ สิ่งสำคัญคือชาวบ้านต้องมีความเป็นอยู่ที่ดี มีอาชีพ มีรายได้ที่เหมาะสม ที่ผ่านมาหน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุและป่าดิบชื้นฮาลาบาลา จ.นราธิวาส ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตรืและเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ไม่ได้แค่ส่งเสริมการปลูกดาหลา แต่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงเป็ดเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนให้กับชุมชนด้วย ปัญหาส่วนหนึ่งของชาวบ้านตำบลโละจูด คือ ขาดโปรตีน ชาวบ้านนิยมกินแป้ง เช่น