สวทช.-โอสถสภา-หน่วยงานพันธมิตร ชู ‘สมุนไพร-ถั่วเขียว’ ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

สวทช.-โอสถสภา-หน่วยงานพันธมิตร ชู ‘สมุนไพร-ถั่วเขียว’ ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

เมื่อวันที่ 7-8 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ อ.เมืองศรีสะเกษ และตำบลเมืองหลวง ตำบลผักไหม อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ : ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ชาติ (สวทช.) นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) พร้อมด้วยนักวิจัย สวทช. ประกอบด้วย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ดร.ประเดิม วณิชชนานันท์ นักวิจัยไบโอเทค ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

สวทช.-มรฏ.สุรินทร์ เดินหน้าแก้จนเกษตรกรชุมพลบุรี หนุนปลูกถั่วเขียว KUML สร้างรายได้

สวทช.-มรฏ.สุรินทร์ เดินหน้าแก้จนเกษตรกรชุมพลบุรี หนุนปลูกถั่วเขียว KUML สร้างรายได้

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ จัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML แบบครบวงจร ณ โรงเรียนบ้านยะวึก (ผจงราษฎร์วิทยาคาร) ต.ยะวึก อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ภายใต้ BCG Model พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดสุรินทร์ และโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ นำร่องในพื้นที่ตำบลยะวึกและตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี โดยมุ่งให้ผู้มีรายได้น้อยปลูกถั่วเขียวสร้างรายได้และใช้กลไกตลาดนำการผลิตเพื่อยกระดับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อำเภอชุมพลบุรีให้เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวคุณภาพดี พร้อมเชื่อมโยงบริษัท กิตติทัต จำกัด เป็นตลาดรับซื้อ ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมอบรม 46 คน อนึ่ง โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

สท. ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ขยายเครือข่ายการผลิตถั่วเขียว KUML อย่างครบวงจร

สท. ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ขยายเครือข่ายการผลิตถั่วเขียว KUML อย่างครบวงจร

จากการทำงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่ KUML โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต ส่งผลให้ถั่วเขียว KUML เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของทั้งเกษตรกรและตลาด เกิดการขยายผลเทคโนโลยีและสร้างเครือข่ายการทำงานเพิ่มขึ้น ในช่วงเดือนที่ผ่านมา น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ร่วมนำเสนอแนวทางและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการสร้างเครือข่ายการผลิตถั่วเขียว KUML ให้เจ้าหน้าที่ นักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความร่วมมือและเครือข่ายการทำงานร่วมกันต่อไป “การพัฒนาและยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเขียว KUML เป็นรายได้เสริมหลังนาด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ในงานประชุมวิชาการพืชวงศ์ถั่วแห่งชาติ ครั้งที่ 8 “นวัตกรรมวิจัย พืชวงศ์ถั่วไทย เพื่อความมั่นคงทางอาหาร” เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโดย สมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น (บทความวิชาการ การพัฒนาและยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเขียว

ถั่วเขียวพันธุ์ดี KUML

ถั่วเขียวพันธุ์ดี KUML

สื่อสิ่งพิมพ์ (คู่มือ) ปลูกถั่วเขียวพันธุ์ดีด้วยความรู้ ให้ผลผลิตสูง รายได้งาม (ฉบับปรับปรุง) (ใบปลิว) ถั่วเขียวพันธุ์ดี KUML พืชหลังนา ราคางาม (โปสเตอร์) ถั่วเขียว 6 สายพันธุ์ใหม่ เพิ่มผลผลิตต้านทานโรค (แผ่นพับ) ถั่วเขียว : พืชทางเลือก สร้างรายได้ สู้ภัยแล้ง (ใบปลิว) การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังเก็บเกี่ยวถั่วเขียว (โปสเตอร์) การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย (ใบปลิว) ถั่วเขียว-ถั่วงอกคอนโด (Roll up) ถั่วเขียว KUML-การผลิต-แปรรูป (คู่มือ) ปลูกถั่วเขียวพันธุ์ดีด้วยความรู้ ให้ผลผลิตสูง รายได้งาม สื่อวิดีโอ EP