สท. พร้อมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ติดตามกลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียว KUML อำนาจเจริญ-ยโสธร-ศรีสะเกษ

สท. พร้อมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ติดตามกลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียว KUML อำนาจเจริญ-ยโสธร-ศรีสะเกษ

เมื่อวันที่ 9-12 มกราคม 2567 น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส และนายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยวิจัย ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) พร้อมด้วย รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ลงพื้นที่ติดตาม ให้คำปรึกษาและวางแผนการทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียว KUML กลุ่มผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์: วิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์: สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาเเละไทยเจริญ จำกัด ตำบลสามัคคี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์เเละข้าวอินทรีย์บ้านคำครตา

สท.-กรมส่งเสริมการเกษตรนำร่องอบรมเกษตรกรเพชรบูรณ์ปลูกถั่วเขียว KUML ตามแผนส่งเสริมขยายผลปี 67

สท.-กรมส่งเสริมการเกษตรนำร่องอบรมเกษตรกรเพชรบูรณ์ปลูกถั่วเขียว KUML ตามแผนส่งเสริมขยายผลปี 67

เมื่อวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กลุ่มส่งเสริมพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตรและสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML แบบครบวงจร ให้เกษตรกร 130 ราย ในอำเภอชนแดน อำเภอหล่มเก่า และอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดแรกตามแผนดำเนินงานส่งเสริมและขยายผลการปลูกถั่วเขียว KUML ใน 32 จังหวัด ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2567 ของกรมส่งเสริมการเกษตร เกษตรกรผู้เข้าอบรมได้รับความรู้จาก รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผช.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และได้รับไรโซเบียมและเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML

สท.-เกษตรอำเภอเมืองจันทร์ ศรีสะเกษ หนุนความรู้-ขยายผลแปลงสาธิตถั่วเขียว KUML

สท.-เกษตรอำเภอเมืองจันทร์ ศรีสะเกษ หนุนความรู้-ขยายผลแปลงสาธิตถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษและสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองจันทร์ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร ถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML ณ หอประชุมอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเกษตรกรจากตำบลหนองใหญ่ ตำบลตาโกน และตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ รวม 139 คน เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งรับฟังข้อมูลการรับซื้อผลผลิตจากห้างหุ้นส่วนจำกัดศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล และบริษัท เอสซีพีฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นจุดรับซื้อในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งนี้เทศบาลตำบลเมืองจันทร์ เทศบาลตำบลหนองใหญ่และองค์การบริหารส่วนตำบลตาโกน ได้สนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรมอบรมและจัดซื้อจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML เบอร์ 4 จำนวน 525 กิโลกรัม

สวทช.-จังหวัดศรีสะเกษต่อยอดพัฒนาแกนนำผลิตถั่วเขียวคุณภาพ KUML

สวทช.-จังหวัดศรีสะเกษต่อยอดพัฒนาแกนนำผลิตถั่วเขียวคุณภาพ KUML

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ จัดกิจกรรม “การพัฒนาแกนนำ (Train the trainer) เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอทั้ง 22 อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ เจ้าหน้าส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลและเกษตรกร รวม 121 คน เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีแนะนำเกษตรกรได้ถูกต้อง ตลอดจนขยายผลการปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนาที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกร นอกจากองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมยังได้ข้อมูลด้านตลาดรับซื้อจากผู้ประกอบการเอกชน ได้แก่ บริษัท กิตติทัต จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล และบริษัท เอสซีพีฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด นายอนุรัตน์

สวทช.-มรฏ.สุรินทร์ เดินหน้าแก้จนเกษตรกรชุมพลบุรี หนุนปลูกถั่วเขียว KUML สร้างรายได้

สวทช.-มรฏ.สุรินทร์ เดินหน้าแก้จนเกษตรกรชุมพลบุรี หนุนปลูกถั่วเขียว KUML สร้างรายได้

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ จัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML แบบครบวงจร ณ โรงเรียนบ้านยะวึก (ผจงราษฎร์วิทยาคาร) ต.ยะวึก อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ภายใต้ BCG Model พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดสุรินทร์ และโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ นำร่องในพื้นที่ตำบลยะวึกและตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี โดยมุ่งให้ผู้มีรายได้น้อยปลูกถั่วเขียวสร้างรายได้และใช้กลไกตลาดนำการผลิตเพื่อยกระดับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อำเภอชุมพลบุรีให้เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวคุณภาพดี พร้อมเชื่อมโยงบริษัท กิตติทัต จำกัด เป็นตลาดรับซื้อ ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมอบรม 46 คน อนึ่ง โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

สวทช.-มรฎ.สุรินทร์-สนง.เกษตรจังหวัดสุรินทร์ ขยายผลถั่วเขียวพันธุ์ดี KUML ขับเคลื่อน BCG ทุ่งกุลาร้องไห้

สวทช.-มรฎ.สุรินทร์-สนง.เกษตรจังหวัดสุรินทร์ ขยายผลถั่วเขียวพันธุ์ดี KUML ขับเคลื่อน BCG ทุ่งกุลาร้องไห้

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์: สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และสำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการปลูกถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML เป็นพืชหลังนาให้กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ เพื่อสร้างรายได้เสริมจากการขายผลผลิตเมล็ดถั่วเขียว (grain) อีกทั้งยังได้ปุ๋ยพืชสดคุณภาพสำหรับปรับปรุงบำรุงดิน ลดต้นทุนการใส่ปุ๋ยในนาข้าวและเพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพให้เกษตรกรอีกด้วย กิจกรรมครั้งนี้เกษตรกรได้รับความรู้เรื่อง “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” จาก รศ.ดร.ประกิจ สมท่า ผช.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน คุณแคทลิยา เอกอุ่น นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ และคุณมนตรี สมงาม บริษัท กิตติทัต จำกัด

สท. จับมือหน่วยงานรัฐ-เอกชนอบรมผลิตถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

สท. จับมือหน่วยงานรัฐ-เอกชนอบรมผลิตถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานเกษตรอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ และบริษัท ข้าวดินดี จำกัด จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร  “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ณ กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง  ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ โดยมี รศ.ดร.ประกิจ สมท่า ผช.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน    และคุณแคทลิยา เอกอุ่น นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากบริษัท ข้าวดินดี จำกัด ร่วมให้ข้อมูลการรับซื้อผลผลิตคุณภาพ

สท. เสริมความรู้ หนุนกลไกตลาดนำการผลิต เพิ่มพื้นที่ปลูกถั่วเขียวพันธุ์ KUML ที่สุพรรณบุรี

สท. เสริมความรู้ หนุนกลไกตลาดนำการผลิต เพิ่มพื้นที่ปลูกถั่วเขียวพันธุ์ KUML ที่สุพรรณบุรี

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2566 ณ สหกรณ์การเกษตรสามชุก จำกัด จ.สุพรรณบุรี: สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานเกษตรอำเภอสามชุก สำนักงานเกษตรอำเภอดอนเจดีย์ และสำนักงานเกษตรอำเภอหนองหญ้าไซ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคโนโลยีการปลูกพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี รวมกว่า 80 คน โดยมี รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้ และคุณมนตรี สมงาม ฝ่ายส่งเสริมการเพาะปลูก บริษัท กิตติทัต จำกัด ร่วมให้ข้อมูลการรับซื้อผลผลิต

สท. ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ขยายเครือข่ายการผลิตถั่วเขียว KUML อย่างครบวงจร

สท. ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ขยายเครือข่ายการผลิตถั่วเขียว KUML อย่างครบวงจร

จากการทำงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่ KUML โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต ส่งผลให้ถั่วเขียว KUML เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของทั้งเกษตรกรและตลาด เกิดการขยายผลเทคโนโลยีและสร้างเครือข่ายการทำงานเพิ่มขึ้น ในช่วงเดือนที่ผ่านมา น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ร่วมนำเสนอแนวทางและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการสร้างเครือข่ายการผลิตถั่วเขียว KUML ให้เจ้าหน้าที่ นักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความร่วมมือและเครือข่ายการทำงานร่วมกันต่อไป “การพัฒนาและยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเขียว KUML เป็นรายได้เสริมหลังนาด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ในงานประชุมวิชาการพืชวงศ์ถั่วแห่งชาติ ครั้งที่ 8 “นวัตกรรมวิจัย พืชวงศ์ถั่วไทย เพื่อความมั่นคงทางอาหาร” เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโดย สมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น (บทความวิชาการ การพัฒนาและยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเขียว