สวทช.-ม.เกษตรศาสตร์-ชุมชนบ้านดอนหวาย เปิด “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML” แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพแห่งแรก พร้อมส่งต่อแปลงปลูกทั่วไทย

สวทช.-ม.เกษตรศาสตร์-ชุมชนบ้านดอนหวาย เปิด “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML” แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพแห่งแรก พร้อมส่งต่อแปลงปลูกทั่วไทย

สวทช. -ทีมวิจัยถั่วเขียว KUML ม.เกษตรศาสตร์ ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรบ้านดอนหวาย จ.อุทัยธานี ต่อยอดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML อย่างครบวงจร จัดตั้ง “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย” แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพด้วยความรู้ เทคโนโลยีและความใส่ใจ ส่งถึงเกษตรกรทั่วไทย สร้างรายได้หลังทำนา ส่งต่อผลผลิตคุณภาพสู่อุตสาหกรรมแปรรูป นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ความต้องการของตลาดถั่วเขียวทั้งในและต่างประเทศมีสูง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแปรรูป แต่ปริมาณการผลิตของไทยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ซึ่งในปี 2562 ไทยมีผลผลิตรวม 92,472 ตัน ขณะที่ความต้องการในประเทศสูงถึง 113,291 ตัน โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 115 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากที่ สวทช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาถั่วเขียวให้คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ถั่วเขียว KUML …จากพืชหลังนา สู่สินค้าส่งออก

ถั่วเขียว KUML …จากพืชหลังนา สู่สินค้าส่งออก

“ผมเห็นกองถั่วเขียวก็นึกย้อนไปสมัยเด็ก เราเคยรับจ้างเก็บถั่ว แล้วแถวนี้ก็ไม่เคยมีคนค้าถั่ว น่าจะเป็นไปได้ที่จะลองทำ แล้วยังได้ช่วยชุมชนให้มีรายได้เสริม แทนที่จะทิ้งนาไว้เฉยๆ หรือรอความช่วยเหลือจากรัฐบาล”  มนตรี สมงาม ลูกหลานเกษตรกรบ้านหนองผักนาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี คนรุ่นใหม่ที่เชื่อมต่อถั่วเขียวจากแปลงนาสู่บริษัทแปรรูป เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนบ้านเกิด หลังหาข้อมูลและติดต่อจนได้บริษัทรับซื้อถั่วเขียวเพื่อแปรรูป เขากลับมาชักชวน นิมิตร สว่างศรี ผู้เป็นลุงและเป็นแกนนำเกษตรกรบ้านหนองผักนาก ซึ่งปลูกถั่วเขียวไว้บำรุงดินและบริโภคอยู่แล้ว “ตอนนั้นผมเพิ่งลองส่งถั่วเขียวให้ตลาดที่อำเภอชัยบาดาล จ.ลพบุรี เขาให้ราคา 32 บาท/กก. ซึ่งสูงมาก พอมนตรีมาชวนให้ส่งกับบริษัทที่เขาติดต่อได้ ให้ราคาพอกันและยังมีรถมารับถึงที่ ผมก็ตอบตกลงและไปชวนชาวบ้านให้ปลูกถั่วเขียว” ช่วงปี 2558 นิมิตร และชาวบ้านอีกสองรายเริ่มผลิตถั่วเขียวส่งให้ มนตรี โดยปลูกสายพันธุ์ชัยนาท 84-1 พื้นที่ผลิตประมาณ 100 ไร่ ได้ผลผลิตรอบแรกราว

“ถั่วเขียว KUML” ปลูกด้วยใจ ได้คุณภาพ

“ถั่วเขียว KUML” ปลูกด้วยใจ ได้คุณภาพ

“สมัยก่อนหว่านถั่วเขียวที่หัวไร่ปลายนา เอาไว้ทำไส้ขนม หว่านถั่วลิสงไว้ทำกระยาสารท รุ่นพ่อแม่เก็บเมล็ดไว้นิดหน่อยเพื่อใช้หว่านรอบต่อไป” ประดิษฐ์ เขม้นเขตร์กิจ ผู้ใหญ่บ้านดอยหวาย หมู่ 7 ต.บ่อยาง อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี บอกเล่าวิถีการปลูกพืชหลังของคนรุ่นพ่อแม่เมื่อกว่า 40 ปีจากพืชที่ปลูกไว้เพื่อใช้ในครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกไม่มากมาย วิถีการปลูกถั่วเขียวของชุมชนเริ่มปรับเปลี่ยนได้ราว 15 ปี หลังมีข้อกำหนดห้ามทำนาปรัง เกิดการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกถั่วเขียวเป็น “อาชีพเสริม” มีทั้งส่งจำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพืชไร่ชัยนาทและจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางป้อนสู่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สำหรับชาวนาจะเริ่มปลูกถั่วเขียวหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว โดยปลูกในช่วงพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ส่วนชาวไร่จะปลูกถั่วเขียวในช่วงเดือนพฤษภาคมก่อนลงปลูกข้าวโพด สายพันธุ์ถั่วเขียวที่ชาวบ้านนิยมปลูก เช่น ชัยนาท 84-1 กำแพงแสน 1 กำแพงแสน 2 “ช่วงปี 2559 เมล็ดพันธุ์กำแพงแสนมีไม่พอ ลูกบ้านอยากได้พันธุ์อื่นมาปลูกเพิ่ม ก็ไปสอบถามจากเกษตรอำเภอ ถึงได้รู้ว่ามีพันธุ์ KUML เข้ามาใหม่” ประดิษฐ์ ย้อนความเมื่อวันที่ได้รู้จักถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่