เมื่อวันที่ 27-28 มกราคม 2568 นักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เผยแพร่องค์ความรู้ “การใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร” ในกิจกรรมของโครงการส่งเสริมการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักสูตรการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าสำหรับเกษตรกร ณ ที่ทำการกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยบ้านซับตาเมา หมู่ที่ 5 ต.หนองตาคง อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี และห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ต.ตลาด อ.เมืองจันทบุรี จ.จันทบุรี เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและมีความรู้ความเข้าใจการให้น้ำตามความต้องการของพืช โดยนักวิชาการ สท. ได้แนะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการแปลงทุเรียนของ สวทช. ได้แก่ ระบบการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับพืชแปลงเปิด (ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ) และถุงห่อคัดเลือกช่วงแสง “Magik growth” เพื่อลดการใช้สารเคมี นอกจากนี้ สท. ยังได้ประสานงานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
สท.-สนง.เกษตรจังหวัดจันทบุรี เติมความรู้ชีวภัณฑ์ให้ชาวสวนทุเรียนผลิตขยายเชื้อราเมตาไรเซียม
เมื่อวันที่ 13-15 มกราคม 2568 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “การผลิตขยายเชื้อราเมตาไรเซียมสายพันธุ์ BCC4849“ ให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในอำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอท่าใหม่ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง รวม 90 คน ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนเกษตรกรรุ่นใหม่ พัฒนาทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านเสม็ดงาม อำเภอเมืองจันทบุรี และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านมาบชโอน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยมีน.ส.รัศมี หวะสุวรรณ ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) น.ส.เสาวนีย์ ปานประเสริฐกุล นักวิชาการ สท. และคณะ เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมทั้งสาธิตการผลิตขยายเชื้อราเมตาไรเซียมบนข้าวสาร โดยเชื้อราเมตาไรเซียมสายพันธุ์ BCC4849
จัดการ “โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน” ด้วย “เชื้อราไตรโคเดอร์มา”
ดาวน์โหลดเอกสารที่มา: นิตยสาร สาระวิทย์ ฉบับ 141 เดือนธันวาคม 2567
สท.-ไบโอเทคขยายผลผลิต-ใช้ราไตรโคเดอร์มาจัดการโรครากเน่าโคนเน่าในสวนทุเรียนจันท์
เมี่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 น.ส.เสาวนีย์ ปานประเสริฐกุล นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) น.ส.รัศมี หวะสุวรรณ ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส และน.ส.วชิราภรณ์ ถูปาอ่าง ผู้ช่วยวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ลงพื้นที่ให้ความรู้และพัฒนาทักษะการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ TBRC4734 แก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาคุณภาพทุเรียนและการเกษตรบ้านมาบโอน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เพื่อใช้ควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โดยสมาชิกฯ ได้ฝึกปฏิบัติผลิตก้อนเชื้อสดราไตรโคเดอร์มาตามหลักวิธีของไบโอเทค และยังได้เรียนรู้วิธีตรวจสอบเชื้อราไฟทอปธอร่าและพิเทียมในดินสวนทุเรียนด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดการโรคได้อย่างทันท่วงที สท. และไบโอเทค ได้ร่วมกันขยายผลการบริหารจัดการโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มา สายพันธุ์ TBRC4734 ให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดระยองและจันทบุรี ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นผลงานวิจัยและพัฒนาโดยไบโอเทค พบว่าการใช้เชื้อราไตโคเดอร์มาสามารถควบคุมโรคเน่าโคนเน่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้จัดทำคู่มือการจัดการศัตรูทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์แบบครบวงจร (Standard Operating Procedure
Magik Growth ถุงห่อผลไม้สีแดง ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ สร้างมูลค่าทุเรียนจันท์
ถุงแดงบนต้นทุเรียนเป็นภาพที่พบเห็นในสวนทุเรียนหลายแห่งในช่วงหลายปีนี้ “ถุงแดง” หรือ “Magik Growth ถุงห่อผลไม้สีแดง” ผลงานวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เป็นเทคโนโลยีวัสดุเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คัดเลือกช่วงแสงช่วง 400-700 nm ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ถ่ายเทน้ำและอากาศได้ดี ป้องกันแมลงศัตรูพืชและสัตว์ฟันแทะ (หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า สัตว์กัดแทะ) ลดการใช้สารเคมีและเพิ่มคุณภาพผลผลิต สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมกับทีมวิจัยขยายผลการใช้ถุงแดงในพื้นที่ภาคตะวันออก ดังที่จังหวัดจันทบุรีซึ่งมีทั้งแปลงเรียนรู้ของหน่วยงานรัฐ แปลงทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองและแปลงทุเรียนระบบเกษตรอินทรีย์ ‘ถุงแดง’ กับ ‘การใช้สารเคมี’ ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริจังหวัดจันทบุรี ต.ท่าหลวง อ.มะขาม จ.จันทบุรี หรือที่มักคุ้นในชื่อ “สวนของพ่อ” เป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตไม้ผล สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและยังเป็นสนามทดสอบการใช้ถุงแดงกับทุเรียนหมอนทองในช่วงปี พ.ศ.2564-2565 “ปัญหาของทุเรียนคือ เพลี้ยแป้ง ใช้สารเคมีฉีดพ่นทุกๆ 10-14
สท. เติมความรู้ชาวสวนทุเรียน “จัดการธาตุอาหารพืชและใช้ปุ๋ยคีเลต” เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต
เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ “การจัดการธาตุอาหารพืชและปุ๋ยคีเลต: นวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียน” ณ สวนบัวแก้ว ต.วังจันทร์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง โดยมี ผศ.ดร.ยศพล ผลาผล อาจารย์ประจำภาควิชาสาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “การจัดการธาตุอาหารพืชไม้ผล (ทุเรียน)” ดร.คมสันต์ สุทธิสินทอง นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “ปุ๋ยคีเลต นวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียน” และนายสมบูรณ์ งามเสงี่ยม เจ้าของสวนบัวแก้ว ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียน เช่น เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับควบคุมการให้น้ำในแปลงเกษตร (ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ)
บริหารจัดการ “สวนทุเรียน” ด้วย “เทคโนโลยีและนวัตกรรม”
ดาวน์โหลดเอกสาร
รู้ใช้ ‘ข้อมูลสภาวะแวดล้อม’ ทำสวนทุเรียนได้ ‘ประหยัด ปลอดภัย’
“ทำให้รู้สภาพอากาศสวนของเราเป็นอย่างไร แล้วก็ประหยัดและปลอดภัย” คำบอกเล่าจาก นัทธี สุวรรณจินดา เกษตรกรรุ่นใหม่ เมื่อพูดถึง ระบบตรวจวัดด้วยเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายเพื่อการจัดการและควบคุมอัตโนมัติ หรือ ไวมาก (WiMaRC) “สมัยพ่อแม่ทำสวนอาศัยประสบการณ์จัดการแปลง อย่างช่วงพฤศจิกายนลมหนาวเริ่มมา จะอดน้ำทุเรียนเพื่อให้ทุเรียนออกดอก แต่บางปีก็ไม่เป็นตามนั้น ถ้าอากาศไม่ได้ ก็ต้องอดน้ำทุเรียนจนใบเหลือง ถ้าไม่หนาวก็ต้องรดน้ำ” นัทธี เล่าถึง “การคาดเดาสภาพอากาศไม่ได้” ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่คนทำสวนทุเรียนประสบ นัทธี เบนเข็มจากอาชีพครูมาช่วยพ่อแม่ทำสวนทุเรียน “สุวรรณจินดา” ได้ราว 10 ปี ด้วยเป็นคนรุ่นใหม่ที่เข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่าย เขาจึงหาข้อมูลสภาพอากาศจากแหล่งอื่นๆ นอกเหนือจากข้อมูลสภาพอากาศจากหน่วยงานรัฐที่ชาวสวนคุ้นเคย เพื่อมาช่วยตัดสินใจจัดการสวนทุเรียนพื้นที่ 30 ไร่ของครอบครัว “ข้อมูลจากเว็บไซต์อากาศหรือจากเฟซบุ๊กมีมากขึ้น ดูง่ายและดูผ่านมือถือได้ ทำให้เรารู้ว่าต้องเตรียมสวนอย่างไร อย่างรู้ว่าอาทิตย์หน้าอากาศจะเริ่มหนาว เราจะต้องตัดแต่งกิ่งในทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ย