สท.-ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ยกระดับเกษตรกรแกนนำทุ่งกุลาร้องไห้ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยตนเอง

สท.-ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ยกระดับเกษตรกรแกนนำทุ่งกุลาร้องไห้ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยตนเอง

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับ ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี “การบริหารจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าวและการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว” ให้เกษตรกรแกนนำผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดมหาสารคาม ณ ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ต.แกใหญ่ อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ โดยนายธานี ชื่นบาน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ได้กล่าวต้อนรับเกษตรกรแกนนำทั้ง 50 ราย ที่เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้และศึกษาดูงานกระบวนการจัดการหลังเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าว พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติการตรวจสอบความงอกและตรวจสอบความบริสุทธิ์เมล็ดพันธุ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้สามารถตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของตนเองได้เบื้องต้น  การตรวจสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวต้องมีเปอร์เซ็นต์ความงอกไม่ต่ำกว่า 80% สำหรับการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ด้านกายภาพ 4 ด้าน ได้แก่ เมล็ดพันธุ์สุทธิ (เมล็ดข้าวที่มีเปลือกหุ้ม หรือเปลือกหุ้มหลุดออกแล้ว เมล็ดหักแตกที่มีขนาดใหญ่เกินครึ่งหนึ่ง และเมล็ดเป็นโรคที่ยังคงลักษณะเป็นเมล็ดข้าว ซึ่งเมล็ดพันธุ์สุทธิจะนำไปทดสอบความงอก) สิ่งเจือปน (เช่น

สวทช. นำสำนักงบประมาณติดตามโครงการยกระดับคุณภาพผลิตข้าว-พืชหลังนา-เลี้ยงโคเนื้อทุ่งกุลาร้องไห้ จ.สุรินทร์

สวทช. นำสำนักงบประมาณติดตามโครงการยกระดับคุณภาพผลิตข้าว-พืชหลังนา-เลี้ยงโคเนื้อทุ่งกุลาร้องไห้ จ.สุรินทร์

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ดร.มีชัย เซี่ยงหลิว นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) นำคณะนักวิเคราะห์จากสำนักงบประมาณ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิต พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ในโครงการการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้: วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีบ้านโนนทองหลาง จ.สุรินทร์ นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้ดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ตั้งแต่ปี 2562 โดยมีเป้าหมายในการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยียกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อให้เกษตรกรในเขตพื้นที่มีความมั่นคงด้านอาหาร เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ต่อมาในปี 2567

สวทช.-สำนักงบประมาณติดตามโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตทุ่งกุลาร้องไห้: จ.ศรีสะเกษ กลุ่มผู้ปลูกผักเกษตรอินทรีย์–ปลูกขิงมาตรฐาน GAP

สวทช.-สำนักงบประมาณติดตามโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตทุ่งกุลาร้องไห้: จ.ศรีสะเกษ กลุ่มผู้ปลูกผักเกษตรอินทรีย์–ปลูกขิงมาตรฐาน GAP

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วยนางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. พร้อมด้วย นางสาวรัตนา วรปัสสุ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย แผนงาน และงบประมาณ สวทช. นำคณะนักวิเคราะห์จากสำนักงบประมาณ นำโดย นางสาวเบญจมาศ มหาวงศ์ขจิต นางสาวกรกช ลีลาศิลป์ นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการพิเศษ และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิต พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2567 เพื่อติดตามความก้าวหน้าการทำงานของ สวทช.

สท.-มรภ.อุบลฯ หารือเชื่อมโยงตลาดโคเนื้อทุ่งกุลาฯ พร้อมติดตามการขยายผลความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อโคขุน

สท.-มรภ.อุบลฯ หารือเชื่อมโยงตลาดโคเนื้อทุ่งกุลาฯ พร้อมติดตามการขยายผลความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อโคขุน

เมื่อวันที่ 4–8 พฤศจิกายน 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) พร้อมด้วยน.ส.อดิศัย เรืองจิระชูพร นักวิเคราะห์ นายนิคม กันยานะ นักวิชาการ และ ผศ.กฤษฎา บูรณารมย์ อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ร่วมประชุมหารือแผนงานการเชื่อมโยงตลาดโคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อเชื่อมโยงการซื้อขายโคเนื้อระหว่างเกษตรกรเลี้ยงโคแม่พันธุ์ผลิตลูกกับเกษตรกรเลี้ยงโคขุนคุณภาพ ภายใต้การดำเนินงานโครงการ “การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมปีที่ 2” นอกจากนี้ได้ลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อและโคขุนหารือแผนงานการผลิตโคเนื้อลูกผสม สายพันธุ์ชาโรเล่ แองกัส และวากิว ที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่งขายให้กับ อัมรีฟาร์ม ต.ปราสาท อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุนสุรินทร์โกเบครบวงจร ต.สลักได อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ สหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย อ.เกษตรวิสัย

สท.-ไบโอเทค-ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ติดตามแปลงเกษตรกรทุ่งกุลาฯ ทดสอบปลูกข้าว 6 สายพันธุ์ใหม่

สท.-ไบโอเทค-ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ติดตามแปลงเกษตรกรทุ่งกุลาฯ ทดสอบปลูกข้าว 6 สายพันธุ์ใหม่

เมื่อวันที่ 21-23 ตุลาคม 2567 นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับนักวิจัยกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ลงพื้นที่ติดตามแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ใหม่และพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจสอบแปลงนาในพื้นที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อำเภอชุมพลบุรี และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีข้าวสายพันธุ์ใหม่และการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี เพื่อยกระดับการผลิตข้าวของเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” โดยมีแปลงเกษตรกร 5 ราย ร่วมทดสอบผลิตข้าวสายพันธุ์ใหม่ 6 สายพันธุ์ ได้แก่ หอมสยาม 2 ไรซ์เบอร์รี่ 2 แดงจรูญ นิลละมุน ธัญสิรินต้นเตี้ย และข้าวเหนียวดำ จากการลงพื้นที่ครั้งนี้พบว่า ข้าวสายพันธุ์ใหม่สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ของจังหวัดมหาสารคามและสุรินทร์ เกษตรกรยังสนใจทดสอบผลิตข้าวสายพันธุ์ใหม่ตามความสนใจ ได้แก่ หอมสยาม 2 จำนวน

สท. ร่วมกิจกรรม NAC 2024 พัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

สท. ร่วมกิจกรรม NAC 2024 พัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกิจกรรมงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. หรือ NAC 2024 ภายใต้แนวคิด “สานพลัง สร้างงานวิจัย พลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมไทยด้วย BCG Implementation”  สท. ได้นำเสนอการทำงาน การพัฒนาเศรษฐกิจด้วย BCG Model พื้นที่นำร่องทุ่งกุลาร้องไห้ สร้างเศรษฐกิจใหม่จากฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและเชื่อมโยงการท่องเที่ยว (พ.ศ.2567-2570) ผ่านนิทรรศการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้ถ่ายทอดสู่ชุมชนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ รวมถึงการเสวนาในหัวข้อ “ทุ่งกุลาไปไสก็ม่วน …ของแทร่” และ “สืบสานภูมิปัญหา ต่อยอดลายอัตลักษณ์ผ้าไทย ยกระดับคุณภาพด้วยเทคโนโลยี”

สวทช. ผนึกหน่วยงานท้องถิ่นร้อยเอ็ด ประเมินความพร้อมชุมชนจัดพื้นที่ท่องเที่ยว “บ่อพันขัน”

สวทช. ผนึกหน่วยงานท้องถิ่นร้อยเอ็ด ประเมินความพร้อมชุมชนจัดพื้นที่ท่องเที่ยว “บ่อพันขัน”

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ประชุมหารือ “การจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวบ่อพันขัน จังหวัดร้อยเอ็ด” ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชงคลอีสาน (มทร.อีสาน) สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุรินทร์ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด เทศบาลตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสว่าง อำเภอโพนทราย องค์การบริหารส่วนตำบลเด่นราษฎร์ อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนและประเมินความพร้อมการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวบ่อพันขัน นำไปสู่การขับเคลื่อนแผนงานการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม การประชุมหารือครั้งนี้ ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน มทร.อีสาน ได้นำเสนอข้อมูลทรัพยากรของชุมชน วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญา พร้อมทั้งถ่ายทอดประสบการณ์งานวิจัยการพัฒนาชุมชนบ่อพันขัน นอกจากนี้นายสายฝน แก้วสมบัติ ผู้ใหญ่บ้านหญ้าหน่อง พระปลัดขาว คุตฺตธมโม เจ้าอาวาสวัดเกาะบ่อพันขันรัตนโสภณ และชมรมท่องเที่ยวบ่อเกลือพันขัณฑ์

ถั่วเขียว KUML พืชหลังนาที่มากกว่าบำรุงดิน (ทุ่งกุลา)

ถั่วเขียว KUML พืชหลังนาที่มากกว่าบำรุงดิน (ทุ่งกุลา)

ท่ามกลางแสงแดดยามเที่ยงที่ร้อนแรง มัสสา โยริบุตร ในวัย 65 ปี ขี่มอเตอร์ไซค์นำทางลัดเลาะไปยังผืนนาที่แปรเปลี่ยนเป็นทุ่งปอเทืองและถั่วเขียวบนพื้นที่ 6 ไร่ เป็นพืชหลังนาที่ มัสสา เลือกปลูกเพื่อบำรุงดินก่อนปลูกข้าวในฤดูกาลใหม่ “สมัยรุ่นพ่อแม่ ไม่มีปลูกพืชหลังนาหรอก ทำนาเสร็จ ก็ปล่อยแปลงว่างไว้ ไม่ทำอะไร” มัสสา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโนนสวรรค์ ต.ทุ่งหลวง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ย้อนภาพแปลงนาในวัยเยาว์ จวบจนถึงวัยที่เธอเดินตามรอยเส้นทางอาชีพของพ่อแม่ มัสสา มีโอกาสเข้าถึงการอบรมต่างๆ จากหน่วยงานราชการ ทำให้เธอได้รู้จักพืชหลังนา “ได้อบรมเป็นหมอดินอาสา ทำให้รู้จักพืชหลังนาอย่างปอเทือง ถั่วเขียวว่าเป็นปุ๋ยพืชสด มีไนโตรเจนสูง ไถกลบแล้วช่วยให้หน้าดินนุ่ม ร่วนซุย เมื่อปลูกข้าวรอบใหม่ก็ใช้ปุ๋ยน้อยลง” มัสสา มีพื้นที่นาทั้งหมด 53 ไร่ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิส่งจำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ด