ดาวน์โหลดหนังสือ
‘พลังวิทย์’ เสริมศักยภาพเกษตรไทย

ดาวน์โหลดหนังสือ
ท่ามกลางแสงแดดยามเที่ยงที่ร้อนแรง มัสสา โยริบุตร ในวัย 65 ปี ขี่มอเตอร์ไซค์นำทางลัดเลาะไปยังผืนนาที่แปรเปลี่ยนเป็นทุ่งปอเทืองและถั่วเขียวบนพื้นที่ 6 ไร่ เป็นพืชหลังนาที่ มัสสา เลือกปลูกเพื่อบำรุงดินก่อนปลูกข้าวในฤดูกาลใหม่ “สมัยรุ่นพ่อแม่ ไม่มีปลูกพืชหลังนาหรอก ทำนาเสร็จ ก็ปล่อยแปลงว่างไว้ ไม่ทำอะไร” มัสสา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโนนสวรรค์ ต.ทุ่งหลวง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ย้อนภาพแปลงนาในวัยเยาว์ จวบจนถึงวัยที่เธอเดินตามรอยเส้นทางอาชีพของพ่อแม่ มัสสา มีโอกาสเข้าถึงการอบรมต่างๆ จากหน่วยงานราชการ ทำให้เธอได้รู้จักพืชหลังนา “ได้อบรมเป็นหมอดินอาสา ทำให้รู้จักพืชหลังนาอย่างปอเทือง ถั่วเขียวว่าเป็นปุ๋ยพืชสด มีไนโตรเจนสูง ไถกลบแล้วช่วยให้หน้าดินนุ่ม ร่วนซุย เมื่อปลูกข้าวรอบใหม่ก็ใช้ปุ๋ยน้อยลง” มัสสา มีพื้นที่นาทั้งหมด 53 ไร่ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิส่งจำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ด
เมื่อวันที่ 7-8 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ อ.เมืองศรีสะเกษ และตำบลเมืองหลวง ตำบลผักไหม อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ : ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ชาติ (สวทช.) นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) พร้อมด้วยนักวิจัย สวทช. ประกอบด้วย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ดร.ประเดิม วณิชชนานันท์ นักวิจัยไบโอเทค ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 17–22 กุมภาพันธ์ 2567 นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ ลงพื้นที่ติดตามและให้คำแนะนำการปลูกถั่วเขียว KUML ของเกษตรกรในอำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูมและอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ภายใต้โครงการ “การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ซึ่งเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้รับการอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจรถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML พร้อมทั้งได้รับเมล็ดพันธุ์ KUML#4 สำหรับฤดูกาลผลิตปี 2566/2567 เกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ที่ได้รับเมล็ดพันธุ์ KUML#4 ประกอบด้วย เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ได้แก่ กลุ่มแก้จนชุมชนยะวึก ต.ยะวึก อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ เครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์หอมมะลิ 105 ต.ชุมพลบุรี
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม ปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด และปศุสัตว์จังหวัดยโสธร ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อใน 5 จังหวัดพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ได้แก่ สุรินทร์ ยโสธร มหาสารคาม ศรีสะเกษ และร้อยเอ็ด ด้วย 3 กลุ่มเทคโนโลยี ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยีด้านการพัฒนาพันธุ์และการดูแลโคเนื้อ กลุ่มเทคโนโลยีด้านอาหารโคเนื้อ และกลุ่มเทคโนโลยีด้านมาตรฐานฟาร์มโคเนื้อและการเพิ่มมูลค่าโคเนื้อ หลังจากเมื่อกลางเดือนมกราคมได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีปฏิบัติการตามโปรแกรมการเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่และผสมเทียมโคเนื้อให้แม่พันธุ์โคเนื้อจำนวน 100 ตัวแรก ใน 5 จังหวัดพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ นักวิชาการ สท. พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานเครือข่ายได้ลงพื้นที่อีกครั้งเมื่อวันที่ 29 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อถอด
เมื่อวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ ผู้อำนวยศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยียกระดับคุณภาพผ้าไหมทอมือพื้นเมืองบ้านแสนสุข ต.ยะวึก อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ โดยมีคุณเอี้ยง วันดี ผู้นำกลุ่มผ้าไหมทอมือประยุกต์บ้านแสนสุข และสมาชิกในชุมชนกว่า 40 คน ร่วมเรียนรู้และทดสอบใช้เอนไซม์เอนอีซ (ENZease) ทำความสะอาดเส้นไหมของกลุ่มฯ กว่า 10 กิโลกรัม พร้อมทั้งสำรวจและเก็บตัวอย่างพืชในชุมชนเพื่อนำมาสกัดสี ได้แก่ เปลือกต้นธนนไชย (ภาษาเขมรเรียก หล่งจี๊) ใบต้นสะแบง (ภาษาเขมรเรียก ตราย) ร่วมกับการใช้มอร์แดนท์ต่างๆ ทำให้ได้สีทั้งหมด 6
เมื่อวันที่ 26-27 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ และเทศบาลเมืองบัว ตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จัดกิจกรรมจำลองเส้นทางท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เชื่อมโยงกับฐานทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เสน่ห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิตอันดีงามของชุมชน โดยมุ่งหวังให้เกิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีส่วนร่วมบริหารจัดการ วางแผน จัดโปรแกรมการท่องเที่ยวและนำเสนอเรื่องราว (Storytelling) แหล่งท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยว กิจกรรมครั้งนี้มีหน่วยงานจากส่วนราชการในจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด สภาวัฒนธรรมตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย และมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เข้าร่วมประเมินและให้ข้อคิดเห็น เพื่อพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป กิจกรรมครั้งนี้นำร่องโปรแกรมการท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน กับสองเส้นทางท่องเที่ยวในตำบลกู่กาสิงห์และตำบลเมืองบัว
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และปศุสัตว์อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีปฏิบัติการเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่และผสมเทียมโคเนื้อ นำร่องกับโค 20 ตัวในอำเภอราษีไศล โดยได้รับความสนใจอย่างมากจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค วิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสำหรับจัดการฝูงแม่พันธุ์โคให้ผลิตลูกโคเนื้อได้จำนวนมากในรุ่นเดียวกัน นำไปสู่ระบบการเลี้ยงและการขุนโคเนื้ออย่างเป็นระบบ ลดค่าใช้จ่ายการจัดการฟาร์มและเพิ่มรายได้จากการเสียโอกาสที่แม่โคทิ้งช่วงท้องว่างนาน สท. และหน่วยงานเครือข่ายมีแผนขยายผลเทคโนโลยีปฏิบัติการเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่และผสมเทียมโคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 5 จังหวัด รวม 100 ตัว รวมถึงแผนการผสมเทียมเพื่อยกระดับสายพันธุ์โคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้อย่างน้อย 400 ตัว ให้มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์: สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และสำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการปลูกถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML เป็นพืชหลังนาให้กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ เพื่อสร้างรายได้เสริมจากการขายผลผลิตเมล็ดถั่วเขียว (grain) อีกทั้งยังได้ปุ๋ยพืชสดคุณภาพสำหรับปรับปรุงบำรุงดิน ลดต้นทุนการใส่ปุ๋ยในนาข้าวและเพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพให้เกษตรกรอีกด้วย กิจกรรมครั้งนี้เกษตรกรได้รับความรู้เรื่อง “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” จาก รศ.ดร.ประกิจ สมท่า ผช.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน คุณแคทลิยา เอกอุ่น นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ และคุณมนตรี สมงาม บริษัท กิตติทัต จำกัด