สวทช. ผนึกหน่วยงานท้องถิ่นร้อยเอ็ด ประเมินความพร้อมชุมชนจัดพื้นที่ท่องเที่ยว “บ่อพันขัน”

สวทช. ผนึกหน่วยงานท้องถิ่นร้อยเอ็ด ประเมินความพร้อมชุมชนจัดพื้นที่ท่องเที่ยว “บ่อพันขัน”

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ประชุมหารือ “การจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวบ่อพันขัน จังหวัดร้อยเอ็ด” ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชงคลอีสาน (มทร.อีสาน) สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุรินทร์ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด เทศบาลตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสว่าง อำเภอโพนทราย องค์การบริหารส่วนตำบลเด่นราษฎร์ อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนและประเมินความพร้อมการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวบ่อพันขัน นำไปสู่การขับเคลื่อนแผนงานการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม การประชุมหารือครั้งนี้ ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน มทร.อีสาน ได้นำเสนอข้อมูลทรัพยากรของชุมชน วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญา พร้อมทั้งถ่ายทอดประสบการณ์งานวิจัยการพัฒนาชุมชนบ่อพันขัน นอกจากนี้นายสายฝน แก้วสมบัติ ผู้ใหญ่บ้านหญ้าหน่อง พระปลัดขาว คุตฺตธมโม เจ้าอาวาสวัดเกาะบ่อพันขันรัตนโสภณ และชมรมท่องเที่ยวบ่อเกลือพันขัณฑ์

สวทช. นำคณะผู้ตรวจ อว. สัมผัสเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนคำพอุง จังหวัดร้อยเอ็ด

สวทช. นำคณะผู้ตรวจ อว. สัมผัสเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนคำพอุง จังหวัดร้อยเอ็ด

21 กรกฎาคม 2566 ณ จังหวัดร้อยเอ็ด- นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. พร้อมด้วยเครือข่ายการทำงานของ สวทช. ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ให้การต้อนรับ ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา​ วิทยาศาสตร์​ วิจัยและนวัตกรรม และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการส่งเสริมกระบวนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างสรรค์บนฐานทรัพยากรในพื้นที่ตำบลคำพอุง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับชาวคำพอุงและหน่วยงานในพื้นที่อำเภอโพธิ์ชัย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ผู้อำนวยการโรงเรียนคำพอุง (ประชาราษฎร์บำรุง) และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลคำพอุง ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community–Based Tourism: CBT) บนฐานความรู้ด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

อยู่ดีมีแฮง..ม่วนหลายกับท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา

อยู่ดีมีแฮง..ม่วนหลายกับท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา

“ฉันมีโอกาสได้ไปทำงานและรับบทเป็นนักท่องเที่ยว ไปเที่ยวชุมชนแห่งนี้พร้อมๆ กับพี่ๆ นักท่องเที่ยว 16 คน จากบ้านรวมไทย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อช่วงวันที่ 25-27 มกราคม 2566 นี่เป็นครั้งแรกที่ชุมชนเปิดรับนักท่องเที่ยว ทดลองจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อเรียนรู้และพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร-สุขภาพได้เต็มรูปแบบต่อไป …จากที่ฉันได้ไปสัมผัสก็บอกได้ทันทีว่าชุมชนฆ้องชัยแห่งนี้ “มีอะไรดี…” น.ส.ขวัญธิดา ดงหลง นักวิชาการ ฝ่ายจัดการความรู้และสร้างความตระหนัก หากอยากปลดปล่อยความเหนื่อยล้าจากการงาน พักสายตากับทุ่งนาเขียวขจี อิ่มหนำกับเมนูอาหารพื้นถิ่นจากแปลงเกษตรอินทรีย์ อิ่มเอมใจกับรอยยิ้มและมิตรภาพของผู้คนแล้วล่ะก็ อยากให้ได้ลองมาสัมผัสบรรยากาศของที่แห่งนี้ “ชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์” อากาศดี “โฮมสเตย์กำนันแดง” ตั้งอยู่กลางทุ่งนาเขียวขจี สายหมอกจางๆ ต้องแสงแดดอ่อนยามเช้ารับกับเสียงไก่ขัน ปลุกความสดชื่นให้นักท่องเที่ยวได้สูดรับอากาศบริสุทธิ์เต็มอิ่ม บ้านไม้ชั้นเดียวร่มรื่นด้วยต้นไม้รอบบ้าน ชวนให้ลงเดินเล่นที่นี่ยังเป็นแหล่งเลี้ยงและอนุรักษ์ควายไทย 14 ตัว

ส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ภูกุ้มข้าวงามสง่า ปทุมมาเบ่งบาน หอย 130 ล้านปี แหล่งธรณีคำพอุง

ส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ภูกุ้มข้าวงามสง่า ปทุมมาเบ่งบาน หอย 130 ล้านปี แหล่งธรณีคำพอุง

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เทศบาลตำบลคำพอุงและวิสาหกิจชุมชนกลุ่ม ทสม.อนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ (ภูกุ้มข้าว) จัดกิจกรรม “ส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ภูกุ้มข้าวงามสง่า ปทุมมาเบ่งบาน หอย 130 ล้านปี แหล่งธรณีคำพอุง” เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ณ วัดภูกุ้มข้าว ต.คำพอุง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด ภายใต้โครงการ “การพัฒนาเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาและกระเจียวคุณภาพเพื่อการค้าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” เพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ชุมชน และส่งเสริมปทุมมาให้เป็นพืชทางเลือก ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้ให้ชุมชน ภายในงานมีกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ นิทรรศการแสดงการใช้ประโยชน์จากดอกปทุมมา แปลงสาธิตปทุมมาสายพันธุ์จากงานวิจัย การประกวดอาหารพืชถิ่นจากพืชในชุมชน เช่น กระเจียว