เกษตรกรยโสธรเฮ ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ 2 เดือน สร้างรายได้หลักหมื่น สวทช.-ธ.ก.ส.-สนง.เกษตรยโสฯ นำปลูกครบวงจร ขยายปลูกพันไร่ ปี 69

เกษตรกรยโสธรเฮ ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ 2 เดือน สร้างรายได้หลักหมื่น สวทช.-ธ.ก.ส.-สนง.เกษตรยโสฯ นำปลูกครบวงจร ขยายปลูกพันไร่ ปี 69

(11 มีนาคม 2568) ณ บ้านกุดเสถียร ตำบลสร้างมิ่ง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) นำสื่อมวลชนร่วมงานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML และเปิดตัวศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML ระดับชุมชน จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี โดยมีนายสันชัย พัฒนะวิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานเปิดงาน น.ส.วิราภรณ์ กล่าวว่า สท. สวทช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กลุ่มส่งเสริมพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

สท.-สนง.เกษตรยโสธร-ธ.ก.ส. ลงพื้นที่ประเมินเกษตรกรร่วมปลูกถั่วเขียว KUML

สท.-สนง.เกษตรยโสธร-ธ.ก.ส. ลงพื้นที่ประเมินเกษตรกรร่วมปลูกถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 8-10 ตุลาคม 2567 น.ส.ณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และทีมงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร เกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. ลงพื้นที่ชี้แจงโครงการและประเมินศักยภาพกลุ่มเกษตรกรที่จะปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนา โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต โดยมีเกษตรกรจาก 8 อำเภอของจังหวัดยโสธรให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ตำบลกุดน้ำใส อำเภอค้อวัง ตำบลม่วง อำเภอมหาชนะชัย ตำบลดงแคนใหญ่และตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว ตำบลน้ำคำใหญ่ อำเภอเมืองยโสธร ตำบลไผ่และตำบลดุลาด อำเภอทรายมูล ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม ตำบลคำไผ่ อำเภอไทยเจริญ ตำบลโคกสำราญและตำบลกุดเชียงหมี อำเภอเลิงนกทา ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จากสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาและไทยเจริญ ตลาดรับซื้อผลผลิตได้ร่วมลงพื้นที่สร้างความเชื่อมั่นการรับซื้อผลผลิตถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรด้วย

สท. ผนึกกรมส่งเสริมการเกษตร-ธ.ก.ส. เดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรยโสธรปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

สท. ผนึกกรมส่งเสริมการเกษตร-ธ.ก.ส. เดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรยโสธรปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. โดยน.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส และทีมงาน ประชุมชี้แจงและสร้างความร่วมมือกับสำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร กรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดยโสธร สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาและไทยเจริญ จำกัด ซึ่งเป็นตลาดรับซื้อในพื้นที่ และประธานกลุ่มเกษตรกรที่จะยกระดับเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML โดยมีเกษตรอำเภอจากทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดยโสธร เข้าร่วมรับฟังข้อมูลและกระบวนการทำงานร่วมกัน จากการประชุมมีแผนการขยายพื้นที่ปลูกถั่วเขียว KUML ในจังหวัดยโสธรในฤดูกาลผลิต 2567/2568 จำนวน 350 ไร่ นอกจากการประชุมสร้างความเข้าใจการทำงานร่วมกันแล้ว ทีมนักวิชาการ สท. ยังได้ลงพื้นที่ในช่วงวันที่ 8-11 ตุลาคมนี้ เพื่อประชุมชี้แจงโครงการและประเมินศักยภาพกลุ่มเกษตรกรที่จะปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนา โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต

สท. ให้ความรู้เกษตรกรอำนาจเจริญพักชำระหนี้ สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้จากถั่วเขียว

สท. ให้ความรู้เกษตรกรอำนาจเจริญพักชำระหนี้ สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้จากถั่วเขียว

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 น.ส.ณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส และนายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมเป็นวิทยากรในหลักสูตร “ฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเดิม สร้างอาชีพเสริม เพิ่มอาชีพใหม่” ภายใต้โครงการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพลูกค้าพักชำระหนี้และโครงการหาช่องทางตลาดเชื่อมโยงสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่ รุ่นที่ 12, 13, และ 14 จัดโดยสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดอำนาจเจริญ ถ่ายทอดความรู้การสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ (ถั่วเขียวหลังนา) เกษตรมูลค่าสูง ผลิตเมล็ดพันธุ์ปลูกพืชระยะสั้น การเพิ่มคุณภาพผลผลิต-การสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยมีนายออดุลย์ โคลนพันธ์ เกษตรกรแกนนำจากวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง เครือข่ายการทำงานของ สท. ร่วมแลกให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมอบรม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสวนากระบวนการพัฒนาอาชีพเสริม การสร้างอาชีพเสริม เพิ่มอาชีพใหม่

สท.-ธ.ก.ส. หนุนเกษตรกรพักชำระหนี้สร้างอาชีพเสริมปลูกถั่วเขียว KUML

สท.-ธ.ก.ส. หนุนเกษตรกรพักชำระหนี้สร้างอาชีพเสริมปลูกถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และนายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้การผลิตถั่วเขียวแบบครบวงจร ภายใต้หัวข้อ “สร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ เกษตรมูลค่าสูง ผลิตเมล็ดพันธุ์ปลูกพืชระยะสั้น” ให้เกษตรกรอำนาจเจริญในโครงการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพลูกค้าพักชำระหนี้ หลักสูตรฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเดิม สร้างอาชีพเสริม เพิ่มอาชีพใหม่ จัดโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ณ ห้องประชุมอาคารศูนย์เรียนรู้ข้าวหอมมะลิอำนาจเจริญ สำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้ร่วมขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตของ สท./สวทช. โดยส่งเสริมให้เกษตรกรพักชำระหนี้ปลูกถั่วเขียว KUML พร้อมทั้งสนับสนุนเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยให้เกษตรกร

สท.-ธ.ก.ส.-กรมส่งเสริมการเกษตร ขยายผลส่งเสริมปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้จังหวัดศรีสะเกษ-อำนาจเจริญ

สท.-ธ.ก.ส.-กรมส่งเสริมการเกษตร ขยายผลส่งเสริมปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้จังหวัดศรีสะเกษ-อำนาจเจริญ

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมประชุมหารือการส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนายวิชัย ศรีโพธิ์งาม เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานการประชุม นายอนุวัตร โสภา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ธ.ก.ส. และนางขวัญญรัตน์ จงเสรีจิตต์ ผู้บริหารห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ผู้รับซื้อถั่วเขียว KUML ในจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมหารือแนวทางการทำงานภายใต้กลไกตลาดนำการผลิต นอกจากนี้ สวทช. โดย สท. และ ธ.ก.ส. ยังได้หารือร่วมกับนายวัชรากร กิจตรงศิริ ผู้บริหารบริษัท