สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่ป่าฮาลา-บาลา ตั้งแต่ปี 2542 โดยสามารถแบ่งการดำเนินงานได้เป็น 3 ระยะ • ระยะแรก พ.ศ.2542-พ.ศ.2547 สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าฮาลา-บาลา โดยค้นพบสิ่งมีชีวิตต่างๆ มากมาย เช่น มดไม้ยักษ์ ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก นกเงือก 10 สายพันธุ์ จาก 13 สายพันธุ์ในประเทศไทย กุหลาบผาและกล้วยไม้หายาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ภายใต้การดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท “ป่า คือ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์” • ระยะที่สอง พ.ศ.2548-พ.ศ.2552 สวทช. ได้ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตลอดจนสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เกิดเครือข่ายวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ดังเช่น การจัดตั้ง “หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุและป่าดิบชื้น ฮาลา-บาลา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ “ฮาลา-บาลา”
“ฮาลา-บาลา” เป็นพื้นที่ป่าดิบชื้นติดชายแดนภาคใต้บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรี และเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับป่าเบลุ่มของประเทศมาเลเซีย กลายเป็นพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนขนาดใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรมลายู “ป่าฮาลา-บาลา” ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ส่วนที่เรียกว่า “ฮาลา” อยู่ในจังหวัดยะลา และส่วนที่เรียกว่า “บาลา” อยู่ในจังหวัดนราธิวาส ป่า “ฮาลา-บาลา” เป็นป่าฝนเขตร้อนที่มีความอุดมสมบูรณ์โดดเด่น เป็นแหล่งรวมพันธุ์พืชกว่า 300 ชนิด แหล่งรวบรวมสัตว์ป่าหายาก เช่น ค้างคาวหน้าย่น ค้างคาวจมูกหลอด และสัตว์ป่าสงวน 4 ชนิด คือ เลียงผา สมเสร็จ แมวลายหินอ่อน และกระซู่ นอกจากนี้ยังมีไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงพืชสมุนไพรและพรรณไม้ดอกหายากใกล้สูญพันธุ์จำนวนมาก สวทช. ได้นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปสู่ชุมชน สร้างคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับชุมชนและทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่ ตั้งแต่ปี