สวทช. โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังโดยชุดตรวจแบบรวดเร็ว SLCMV Strip Test ระหว่างวันที่ 6–7 สิงหาคม 2567 ณ เมืองจำปาสักและเมืองสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีนายชวินทร์ ปลื้มเจริญ นักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สท. และทีมงาน เป็นวิทยากรให้ความรู้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ทั้งสองพื้นที่ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลังที่กำลังระบาดในภูมิภาคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง กิจกรรมครั้งนี้ดำเนินงานภายใต้โครงการ Promotion of Sustainable Cassava Production in the Mekong Region through
สวทช.-สวก.-กรมส่งเสริมการเกษตร ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ นำร่อง 160 ราย พื้นที่ 500 ไร่ ผลผลิตเพิ่ม 20-30%
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ แปลงเกษตรกรต้นแบบ (นายรังสรรค์ อยู่สุข) หมู่ 10 ต.นาคาย อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี: นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดผลงานวิจัยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดินสำหรับมันสำปะหลังอินทรีย์สู่เกษตรกรเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปี 2567 โดยมีนางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เกษตรจังหวัดอุบลราชธานี ภาคเอกชนและเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมงาน นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมีความมุ่งมั่นส่งเสริมให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยได้รับการส่งเสริมพัฒนาขีดความสามารถการผลิตและจัดการสินค้าตามความต้องการของตลาดได้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยได้รับบริการทางการเกษตรและองค์ความรู้จากการศึกษา
เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์
โครงการ “อุบลโมเดล” คือจุดเริ่มการทำงานด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ซึ่งสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ดำเนินงานกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต.กู่จ่าน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร จำนวน 60 คน พื้นที่ปลูกรวม 354 ไร่ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพดี ซึ่งในปี 2565 สามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ 1.3 ล้านบาท จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 ตัน/ไร่ จากเดิม 3 ตัน/ไร่ แม้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ด้วยราคารับซื้อมันสำปะหลังอินทรีย์ที่สูงและต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ.2565