สท.-มรภ.อุดรธานี ติวเข้มเกษตรกรปลูกปทุมมา สร้างรายได้เสริม-พร้อมรับมหกรรมพืชสวนโลกปี 2569

สท.-มรภ.อุดรธานี ติวเข้มเกษตรกรปลูกปทุมมา สร้างรายได้เสริม-พร้อมรับมหกรรมพืชสวนโลกปี 2569

เมื่อวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารจัดการแปลงปลูกปทุมมาอย่างมีประสิทธิภาพ” ให้สมาชิกเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกปทุมมาจังหวัดอุดรธานีและพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีนายลิขิต มณีสินธุ์ นักปรับปรุงพันธุ์ปทุมมา เป็นวิทยากรให้ความรู้การบริหารจัดการดินและปุ๋ยในแปลงปลูกปทุมมา นางสาวพรนิภา นาเมือง นักวิชาการ สท. เป็นวิทยากรให้ความรู้การจัดการแปลงปลูกปทุมมาและการควบคุมศัตรูพืชปทุมมาโดยวิธีผสมผสาน และนางสาวพาริณี โลมาอินทร์ นักวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นวิทยากรให้ความรู้การเตรียมหัวพันธุ์ปทุมมาก่อนปลูก นอกจากนี้ยังมีนายบุญถม กองทอง เกษตรกรผู้ผลิตปทุมมานำร่องบ้านห้วยสำราญ ต.หนองไฮ อ.เมือง จ.อุดรธานี ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปลูกปทุมมาตัดดอก ทั้งนี้คณะวิทยากรยังได้ลงพื้นที่สาธิตการปลูกปทุมมาที่แปลงเกษตรกรเครือข่ายนำร่อง และติดตามให้คำแนะนำปรึกษา กิจกรรมดังกล่าวดำเนินงานภายใต้การพัฒนาศูนย์ร่วมรู้การผลิตและใช้ประโยชน์จากปทุมมาแบบครบวงจรด้วยเศรษฐกิจ BCG ผลักดันปทุมมาเป็นไม้ดอกอัตลักษณ์จังหวัดอุดรธานีและขยายผลเป็นพืชทางเลือกให้เกษตรกร รวมทั้งเพื่อจัดแสดงปทุมมาในมหกรรมพืชสวนโลกปี

สท.-มรภ.อุดรฯ เติมความรู้เกษตรกรขยายต้นพันธุ์ปทุมมาปลอดโรคด้วยไบโอเทคโนโลยี

สท.-มรภ.อุดรฯ เติมความรู้เกษตรกรขยายต้นพันธุ์ปทุมมาปลอดโรคด้วยไบโอเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การขยายต้นพันธุ์ปทุมมาปลอดโรคด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ” ให้สมาชิกเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกปทุมมาจังหวัดอุดรธานี และพื้นที่ใกล้เคียง โดยมี ดร.วิบูล เป็นสุข และคณะอาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นวิทยากรให้ความรู้พื้นฐานของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปทุมมา ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต นักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. เป็นวิทยากรให้ความรู้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) และนายสันติ อาริยะ ผู้ช่วยนักวิจัย สวทช. ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเพาะเลี้ยงเนื้อปทุมมาอย่างง่ายทำได้ที่บ้าน   นอกจากนี้ สท. และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีได้ส่งมอบหัวพันธุ์ปทุมมาให้เกษตรกรเครือข่ายนำร่อง 9 ราย ภายใต้การพัฒนาศูนย์ร่วมรู้การผลิตและใช้ประโยชน์จากปทุมมาแบบครบวงจรด้วยเศรษฐกิจ

สวทช.- ม.ราชภัฏอุดรธานี ผนึกกำลังด้านการวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร

สวทช.- ม.ราชภัฏอุดรธานี ผนึกกำลังด้านการวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 ณ หอประชุมใหญ่สามพร้าว มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี: นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรสมัยใหม่ครบวงจร เพื่อร่วมกันสนับสนุนการวิจัย พัฒนาและบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรและเกษตรสมัยใหม่ พัฒนาหลักสูตรและขยายผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ รวมถึงส่งเสริมอาชีพ สร้างเศรษฐกิจรายได้ ยกระดับทักษะความรู้และเพิ่มขีดความสามารถด้านการเกษตรของบุคลากรทั้งสองฝ่าย ตลอดจนผลักดันให้เกิดกลไกความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรและเกษตรสมัยใหม่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ทดสอบ สาธิตการปรับใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ชุมชน ซึ่งการลงนามความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง “ความร่วมมือเครือข่ายและการเปลี่ยนผ่านชุมชนท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน” ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย 36 หน่วยงาน  ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร

ส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ภูกุ้มข้าวงามสง่า ปทุมมาเบ่งบาน หอย 130 ล้านปี แหล่งธรณีคำพอุง

ส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ภูกุ้มข้าวงามสง่า ปทุมมาเบ่งบาน หอย 130 ล้านปี แหล่งธรณีคำพอุง

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เทศบาลตำบลคำพอุงและวิสาหกิจชุมชนกลุ่ม ทสม.อนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ (ภูกุ้มข้าว) จัดกิจกรรม “ส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ภูกุ้มข้าวงามสง่า ปทุมมาเบ่งบาน หอย 130 ล้านปี แหล่งธรณีคำพอุง” เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ณ วัดภูกุ้มข้าว ต.คำพอุง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด ภายใต้โครงการ “การพัฒนาเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาและกระเจียวคุณภาพเพื่อการค้าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” เพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ชุมชน และส่งเสริมปทุมมาให้เป็นพืชทางเลือก ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้ให้ชุมชน ภายในงานมีกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ นิทรรศการแสดงการใช้ประโยชน์จากดอกปทุมมา แปลงสาธิตปทุมมาสายพันธุ์จากงานวิจัย การประกวดอาหารพืชถิ่นจากพืชในชุมชน เช่น กระเจียว

ปทุมมาบานที่ลานสันทรายเจียงใหม่

https://youtu.be/2uLT3pHVobw วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2564เวลา 10.00-16.00 น. ผ่าน www.facebook.com/nstdaagritec 10.00 – 10.10 น. กล่าวต้อนรับและแนะนำวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม 10.00 – 10.40 น. บรรยาย “การปลูก-การปรับปรุงพันธุ์ปทุมมา และการบริหารจัดการแปลงปลูก” โดย อาจารย์ลิขิต มณีสินธุ์        ผู้เชี่ยวชาญการปลูกและปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอก หจก.ลัคกี้ซีดส์อโกร         ดร.ธราธร ทีรฆฐิติ         นักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

สวทช. ผนึกอุดรธานีหนุนแหล่งท่องเที่ยวไม้ดอกแห่งใหม่ ชู “ปทุมมาห้วยสำราญ” สายพันธุ์ใหม่จากงานวิจัย

สวทช. ผนึกอุดรธานีหนุนแหล่งท่องเที่ยวไม้ดอกแห่งใหม่ ชู “ปทุมมาห้วยสำราญ” สายพันธุ์ใหม่จากงานวิจัย

สวทช. ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี และเครือข่ายพันธมิตร พัฒนาพื้นที่ชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ ชมความงามไม้ดอกได้ตลอดปี สร้างงานสร้างอาชีพให้ชุมชน ประเดิมจัดงาน “ปทุมมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ” ชมความงามปทุมมาหลากสายพันธุ์ถึง 31 ตุลาคมนี้ พร้อมเปิดตัว “ปทุมมาห้วยสำราญ” ไม้ดอกหน้าฝนสายพันธุ์ใหม่ นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า  จากความร่วมมือระหว่าง สวทช. และจังหวัดอุดรธานี ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าทางการเกษตรของจังหวัดอุดรธานี สอดคล้องกับแผน นโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาของจังหวัดที่จะยกระดับความเป็นเมืองท่องเที่ยวของจังหวัดนั้น สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จึงได้ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ ต.หนองไฮ อ.เมืองอุดรธานี พัฒนาพื้นที่ของชุมชนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ของจังหวัดอุดรธานี โดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ