สวทช. ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี และเครือข่ายพันธมิตร พัฒนาพื้นที่ชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ ชมความงามไม้ดอกได้ตลอดปี สร้างงานสร้างอาชีพให้ชุมชน ประเดิมจัดงาน “ปทุมมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ” ชมความงามปทุมมาหลากสายพันธุ์ถึง 31 ตุลาคมนี้ พร้อมเปิดตัว “ปทุมมาห้วยสำราญ” ไม้ดอกหน้าฝนสายพันธุ์ใหม่ นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า จากความร่วมมือระหว่าง สวทช. และจังหวัดอุดรธานี ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าทางการเกษตรของจังหวัดอุดรธานี สอดคล้องกับแผน นโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาของจังหวัดที่จะยกระดับความเป็นเมืองท่องเที่ยวของจังหวัดนั้น สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จึงได้ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ ต.หนองไฮ อ.เมืองอุดรธานี พัฒนาพื้นที่ของชุมชนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ของจังหวัดอุดรธานี โดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ
ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ “พันธุ์ห้วยสำราญ”
ผลงานวิจัยจากโครงการพัฒนาไม้ดอกสกุลขมิ้นเพื่อการค้าพันธุ์ใหม่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ลัคกี้ซีดส์อโกร จังหวัดเชียงใหม่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีแลนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาบ้านห้วยสำราญ จังหวัดอุดรธานี” มีลักษณะเด่น คือ กลีบดอกหนา ปลายกลีบสีน้ำตาลเล็กน้อย ก้านช่อดอกแข็งแรง ช่อดอกอยู่เหนือทรงพุ่ม แตกหน่อ 3–4 หน่อต่อหัวพันธุ์ เหมาะสำหรับเป็นไม้กระถางและไม้ประดับแปลง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของปทุมมาพันธุ์ห้วยสำราญ ราก/หัว ระบบรากฝอยและมีรากสะสมอาหาร สะสมอาหารบริเวณปลายราก ทำให้ปลายบวมออกเป็นตุ้ม ต้น ลำต้นใต้ดินหรือหัวมีลักษณะเป็นเหง้า (rhizome) ทำหน้าที่สะสมน้ำและอาหาร มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในเหง้าสีขาว ลำต้นส่วนเหนือดินเป็นลำต้นเทียม เกิดจากการอัดตัวแน่นของกาบใบ มีความสูงจากระดับโคนต้นถึงปลายพุ่มประมาณ 40-45 เซนติเมตร ใบ