“ผลผลิตอินทรีย์” เป็นที่นิยมของผู้บริโภคที่ให้ความใส่ใจอาหารการกินมากขึ้น แม้ราคาจำหน่ายจะค่อนข้างสูง แต่เพื่อสุขภาพแล้ว ผู้คนไม่น้อยยินดีที่จะจ่าย เมื่อความต้องการ “ผลผลิตอินทรีย์” มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสของฟากผู้ผลิตอย่าง “เกษตรกร” ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของอาชีพเกษตรกรให้ดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ “คุณภาพของผลผลิตอินทรีย์” ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้บริโภคได้เพียงใด “การทำเกษตรอินทรีย์ต้องมีอุดมการณ์และมีวิชาการ” ผลึกความคิดที่ตกตะกอนจากการเรียนรู้และมุ่งมั่นกับการทำเกษตรอินทรีย์มากว่า 20 ปีของคุณปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี และอดีตอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ “อุดมการณ์ คือ ความมุ่งมั่น มีศรัทธาและความเชื่อมั่นในวิชาชีพเกษตรกรของตัวเอง เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ และส่งต่อความรู้ให้ชุมชนได้ วิชาการ คือ เกษตรกรเป็นนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ แต่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการได้ เกษตรกรต้องเรียนรู้” คุณปิยะทัศน์ ขยายความสิ่งที่เกษตรกรต้องเรียนรู้ ประกอบด้วย ดิน เพราะดินคือหัวใจของการทำเกษตร เกษตรกรต้องรู้ว่า
ชุดเทคโนโลยี สวทช. ที่บ้านหนองมัง
การเติบโตอย่างเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง บ้านหนองมัง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ด้วยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิต สร้างรายได้ และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้สมาชิก ผลผลิตของกลุ่มฯ ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภคทั้งในและนอกพื้นที่ และยังจัดส่งผลผลิตให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในกรุงเทพฯ กลุ่มฯ จัดทำกระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม หรือ PGS (Participatory Guarantee System) ได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทย (Organic Thailand) และมีทายาทเกษตรกรและนักการตลาดรุ่นใหม่ที่บ่มเพาะความรู้เพื่อต่อยอดการทำเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มฯ ให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน ชุดเทคโนโลยีที่ สวทช. ได้สนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์โนนกลาง บ้านหนองมัง ได้แก่ โรงเรือนพลาสติกเพื่อการผลิตพืชผักคุณภาพ โครงสร้างโรงเรือน ออกแบบให้มี 2 ชั้น เพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทอากาศ เมื่ออุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงขึ้น อากาศลอยตัวออกทางช่องลมระหว่างหลังคาทั้ง 2 ชั้น ระบบบริหารจัดการโรงเรือน ดิน หัวใจของการปลูกพืช
วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง
สวทช. ทำงานในพื้นที่บ้านหนองมัง ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี มาตั้งแต่ปี 2549 โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตการทำเกษตร โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมุ่งมั่นเปลี่ยนแนวทางการทำเกษตรจากเคมีสู่เกษตรอินทรีย์ สวทช. ได้เติมเต็มความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเกษตรกร พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมถ่ายทอดสู่เกษตรกร เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และเกิด “ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง” ที่เป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านเกษตรอินทรีย์จากผู้สนใจทั่วประเทศ สื่อประชาสัมพันธ์ > ข้อมูลสรุป: วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง: ปลูกผักด้วยความรู้ผสานภูมิปัญญา > บทความ: พลังกลุ่ม พลังเกษตรอินทรีย์…ไร้สูตรสำเร็จ > บทความ: สานต่อเกษตรอินทรีย์..ตามแม่บอก-พ่อพาทำ > บทความ: ชุดเทคโนโลยี สวทช. ที่บ้านหนองมัง > บทความ: “เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง” อีกย่างก้าวของ