สื่อความรู้ การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง
สท. เสริมทักษะ “ปลูกผัก-ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง” ให้เกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ
เมื่อวันที่ 5-6 สิงหาคม 2566 นักวิชาการ สท. ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักให้เกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในต.เมืองบัว และต.ไพรขลา อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ รวม 200 คน ภายใต้โครงการ “การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” เพื่อสร้างทักษะการผลิตผักไว้บริโภคและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองในครัวเรือน รวมทั้งการผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ช่วยลดต้นทุนการผลิต ซึ่งการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ใช้สถานที่ ณ บ้านโนนโพธิ์ หมู่ 9 และบ้านขาม หมู่ 2 ต.ไพรขลา บ้านโนนกลาง หมู่ 2 และบ้านบุตาโสม หมู่ 11 ต.เมืองบัว “การเพาะเมล็ดพันธุ์ผัก และการเก็บเมล็ดพันธุ์ผักไว้ใช้ในครัวเรือน” ถ่ายทอดความรู้โดย อาจารย์ชนกเนตร ชัยวิชา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุริทร์
เทคโนโลยีการทำเกษตรอินทรีย์ @ ฆ้องชัยพัฒนา
การผลิตมะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ การเพาะกล้าที่สวนปันบุญ การเลี้ยงชันโรงที่สวนจิราภาออร์แกนิค
“ฮักษ์น้ำยม” ปุ๋ยอินทรีย์สู่ความยั่งยืนของชุมชน
อยากให้ชาวบ้านได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดต้นทุนการผลิต ถ้าตลาดไปได้ด้วยก็ดี ชาวบ้านมีรายได้ต่อเนื่อง การทำปุ๋ยก็เป็นอาชีพหลักให้ชาวบ้านได้” -อภินันท์ บุญธรรม- “เราทำปุ๋ยอินทรีย์ไปใส่ต้นไม้พืชผลทางเกษตร ปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ดินดี ต้นไม้โต พื้นที่สีเขียวเพิ่ม ต้นน้ำของเราก็สมบูรณ์” อภินันท์ บุญธรรม ผู้ใหญ่บ้านดอนไชยป่าแขม ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา อธิบายความหมายของชื่อ “ฮักษ์น้ำยม” ปุ๋ยอินทรีย์ที่ชาวบ้านร่วมกันผลิตจำหน่ายมาได้เกือบ 2 ปี อำเภอปงเป็นต้นน้ำแม่น้ำยม หนึ่งในสี่สายน้ำต้นทางของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นสายน้ำสำคัญของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ดังนั้นความสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำจึงมีความหมายต่อหลายชีวิตที่ปลายทาง การทำไร่ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยาสูบ เป็นอาชีพหลักของชาวบ้านดอนไชยป่าแขม ด้วยวิถีการผลิตในระบบเกษตรเคมีมายาวนาน ส่งผลต่อคุณภาพของดินและต้นทุนการทำเกษตร การผลิตปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์เป็นหนึ่งทางออกที่ชาวบ้านได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในพื้นที่ โดยได้รับโรงปุ๋ยและเครื่องจักรมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 “แต่ก่อนรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยใช้กันปีละครั้ง ทำแบบวิธีกลับกอง ทำกันได้ 4-5 ปี
การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง
ดาวน์โหลดเอกสาร คลิกชมวิดีโอชุดความรู้ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพแบบไม่พลิกกลับกอง
เรื่อง “ปุ๋ยๆ กับเศษผัก 30 ตัน”
ในแต่ละวันกะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี มะเขือเทศจากดอยสูงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 60 ตัน ถูกจัดส่งเข้าโรงงานตัดแต่งผักของบริษัท คิงส์ วิช จำกัด สาขาแม่ฮ่องสอน และโรงงานตัดแต่งผักของคุณวิทยา หวานซึ้ง เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตร ผักหัวแล้วหัวเล่าถูกตัดแต่งให้สวยงามก่อนเคลื่อนตามกันบนสายพาน ผ่านการชั่งน้ำหนักบรรจุลงถุง จัดเตรียมลงตะกร้าขึ้นรถห้องเย็น พร้อมเดินทางไกลกว่า 1,500 กิโลเมตรสู่ศูนย์กระจายสินค้าของห้างค้าปลีกที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี … เมื่อของดีพร้อมส่งขาย แล้วของเสียอย่างเศษผักที่มีถึงวันละ 30 ตัน …เดินทางไปไหน “ทิ้ง” เป็นทางออกแรกที่ทั้งสองโรงงานจัดการกับเศษผักเหล่านี้ หลังจากที่ก่อตั้งโรงงานที่ ต.แม่เหาะ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อปี 2558 พร้อมกับค่าจ้างขนทิ้งเดือนละ 65,000 บาท และได้รับ “เสียงร้องเรียนเรื่องแมลงวันและกลิ่น” เป็นผลตอบแทน