เมล็ดใหญ่และสีสวยสดของถั่วเขียวในแพ็คสุญญากาศ สะดุดตานักช้อปสายสุขภาพให้หยิบจับ เมื่อบวกกับข้อความและตราสัญลักษณ์ “เกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากล” ชวนให้หยิบจ่าย 40 บาท (ครึ่งกิโลกรัม) ได้ไม่ยากนัก ต้นทางของถั่วเขียวอินทรีย์นี้มาจากวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์คุณภาพ และเริ่มหันมาจริงจังกับพืชหลังนาอย่าง “ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ได้ไม่นาน …เมื่อ “ถั่วเขียว” เป็นพืชหลังนาที่เกษตรกรคุ้นเคยอยู่แล้ว แต่เหตุใดพวกเขาจึงให้ความสำคัญมากขึ้น และทำไมต้องเป็นถั่วเขียวพันธุ์ KUML จากนาเคมีสู่นาอินทรีย์ “คนทำเคมีจะมองหญ้าเป็นศัตรู แต่ก่อนเราก็มองแบบนั้น ทำตามรุ่นพ่อรุ่นแม่ ทำนาให้ได้ข้าวเยอะๆ แต่ลืมนึกถึงสภาพแวดล้อม เป็นอันตรายไปหมด” วิรัตน์ ขันติจิตร สมาชิกวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ย้อนความถึงวิถีการทำนาจากรุ่นสู่รุ่นที่พึ่งพิงสารเคมีเป็นหลัก จนเมื่อได้รับแนวคิดการทำนาที่ไม่ใช้สารเคมีจากการเข้าร่วมอบรมกับชุมชนสันติอโศก บวกกับราคาสารเคมีที่เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นแรงผลักสำคัญให้พวกเขาปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิถีการทำนา “ปี 2542
ถั่วเขียวพันธุ์ดี KUML
สื่อสิ่งพิมพ์ (คู่มือ) ปลูกถั่วเขียวพันธุ์ดีด้วยความรู้ ให้ผลผลิตสูง รายได้งาม (ฉบับปรับปรุง) (ใบปลิว) ถั่วเขียวพันธุ์ดี KUML พืชหลังนา ราคางาม (โปสเตอร์) ถั่วเขียว 6 สายพันธุ์ใหม่ เพิ่มผลผลิตต้านทานโรค (แผ่นพับ) ถั่วเขียว : พืชทางเลือก สร้างรายได้ สู้ภัยแล้ง (ใบปลิว) การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังเก็บเกี่ยวถั่วเขียว (โปสเตอร์) การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย (ใบปลิว) ถั่วเขียว-ถั่วงอกคอนโด (Roll up) ถั่วเขียว KUML-การผลิต-แปรรูป (คู่มือ) ปลูกถั่วเขียวพันธุ์ดีด้วยความรู้ ให้ผลผลิตสูง รายได้งาม สื่อวิดีโอ EP
การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย
สวทช.-ม.เกษตรศาสตร์-ชุมชนบ้านดอนหวาย เปิด “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML” แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพแห่งแรก พร้อมส่งต่อแปลงปลูกทั่วไทย
สวทช. -ทีมวิจัยถั่วเขียว KUML ม.เกษตรศาสตร์ ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรบ้านดอนหวาย จ.อุทัยธานี ต่อยอดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML อย่างครบวงจร จัดตั้ง “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย” แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพด้วยความรู้ เทคโนโลยีและความใส่ใจ ส่งถึงเกษตรกรทั่วไทย สร้างรายได้หลังทำนา ส่งต่อผลผลิตคุณภาพสู่อุตสาหกรรมแปรรูป นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ความต้องการของตลาดถั่วเขียวทั้งในและต่างประเทศมีสูง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแปรรูป แต่ปริมาณการผลิตของไทยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ซึ่งในปี 2562 ไทยมีผลผลิตรวม 92,472 ตัน ขณะที่ความต้องการในประเทศสูงถึง 113,291 ตัน โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 115 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากที่ สวทช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาถั่วเขียวให้คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์