เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วยนางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. พร้อมด้วย นางสาวรัตนา วรปัสสุ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย แผนงาน และงบประมาณ สวทช. นำคณะนักวิเคราะห์จากสำนักงบประมาณ นำโดย นางสาวเบญจมาศ มหาวงศ์ขจิต นางสาวกรกช ลีลาศิลป์ นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการพิเศษ และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิต พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2567 เพื่อติดตามความก้าวหน้าการทำงานของ สวทช.
สุขใจฟาร์ม
สุขใจ คือชื่อเล่นของ ภัทราพล วนะธนนนท์ ที่แม่ตั้งให้ด้วยหวังให้ชีวิตลูกมีความสุข จากเด็กน้อยที่เติบโตในชุมชนเล็กๆ ของตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ก่อนไปใช้ชีวิตวัยทำงานในวงการบันเทิงที่เมืองกรุง และพลิกชีวิตช่วงวัยกลางคนสู่อาชีพ “เกษตรกร” ที่ไม่มีใครคิดว่าเขาจะทำได้ ไม่เพียงผลผลิตคุณภาพของ ‘สุขใจฟาร์ม’ จะเป็นที่ต้องการของตลาดในพื้นที่และตลาดโมเดิร์นเทรด หากที่นี่ยังเป็น ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน’ ที่พร้อมส่งต่อองค์ความรู้และประสบการณ์ให้ผู้สนใจผลิตผักอินทรีย์ด้วยความรู้ เรื่องราวของ ‘สุขใจฟาร์ม’ จากศูนย์ (0) สู่ศูนย์เรียนรู้ระดับชุมชน (บันทึกวิดีโอกิจกรรมเสวนา) แนะนำศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม (วิดีโอ) จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’ (ข่าวประชาสัมพันธ์) เคล็ด(ไม่)ลับ ปลูกผักอินทรีย์ ให้ตลาดจำ (บันทึกวิดีโอกิจกรรมเสวนา) ‘แปลงผักสุขใจ’
ฐานต้นอ่อนผักอินทรีย์
อีกหนึ่งฐานเรียนรู้ การผลิตต้นอ่อนผักอินทรีย์ ที่สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ด้วยระยะเวลาปลูกสั้น ดูแลง่าย สื่อความรู้ เพาะต้นอ่อนอย่างมืออาชีพ
ฐานพันธุ์และเมล็ดพันธุ์
เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ เช่น ผักตระกูลสลัด ผักกวางตุ้ง พริก มะเขือเทศ
ฐานการผลิตผักอินทรีย์ในระบบโรงเรือน
ฐานเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์ในระบบโรงเรือน มีรูปแบบโรงเรือนปลูกพืชโครงสร้างต่างๆ เป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้นำไปประยุกต์ใช้ โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ ใช้วัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ไม้พื้นเมือง เสาปูน เป็นโครงสร้าง โดยมีทั้งแบบหลังคาจั่วและหลังคาโค้ง โรงเรือนปลูกพืชหลังคาจั่ว 2 ชั้น รูปแบบ สวทช. ใช้เหล็กเป็นโครงสร้าง สื่อความรู้โรงเรือนปลูกพืช (คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลด)
บันทึกวิดีโออบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการฯ เฟส 1 ปี 2566
บันทึกวิดีโออบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการ “การพัฒนาศูนย์เรียนรู้และฝึกอบรมการผลิตพืชผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 1 (คลิกที่ภาพ)
สท. จับมือ สนง.เกษตรจังหวัดสงขลา เติมความรู้ลดความเสี่ยงผลิตผักอินทรีย์
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) โดย น.ส.เลอทีชา เมืองมีศรี นักวิชาการ และคณะทำงาน ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา จัดกิจกรรมประชุมชี้แจงโครงการ ประเมิน วิเคราะห์และวางแผนการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงการผลิตผัก ณ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนใต้ร่มบุญเกษตรอินทรีย์ บ้านควนขี้แรด ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีสมาชิกเครือข่ายจากอำเภอหาดใหญ่ อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอคลองหอยโข่งและอำเภอรัตภูมิ รวม 50 คน เข้าร่วมกิจกรรมวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตผักของกลุ่มฯ ด้วยเครื่องมือ SWOT Analysis และการประเมินความเสี่ยงการผลิตผักของกลุ่มและรายบุคคล ที่เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือช่วยให้เกษตรกรวางแผนบริหารจัดการให้ได้ผลผลิตคุณภาพและปริมาณตามความต้องการของตลาด โดยหลังจากนี้เกษตรกรจะได้รับถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผักอินทรีย์จาก สท. และ สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา เพื่อลดความเสี่ยงการผลิตผักและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น กิจกรรมครั้งนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้โครงการ
การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร
คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
สท. เสริมทักษะ “ปลูกผัก-ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง” ให้เกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ
เมื่อวันที่ 5-6 สิงหาคม 2566 นักวิชาการ สท. ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักให้เกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในต.เมืองบัว และต.ไพรขลา อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ รวม 200 คน ภายใต้โครงการ “การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” เพื่อสร้างทักษะการผลิตผักไว้บริโภคและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองในครัวเรือน รวมทั้งการผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ช่วยลดต้นทุนการผลิต ซึ่งการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ใช้สถานที่ ณ บ้านโนนโพธิ์ หมู่ 9 และบ้านขาม หมู่ 2 ต.ไพรขลา บ้านโนนกลาง หมู่ 2 และบ้านบุตาโสม หมู่ 11 ต.เมืองบัว “การเพาะเมล็ดพันธุ์ผัก และการเก็บเมล็ดพันธุ์ผักไว้ใช้ในครัวเรือน” ถ่ายทอดความรู้โดย อาจารย์ชนกเนตร ชัยวิชา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุริทร์