“อาชีพเราคือ เกษตรกร เราพัฒนาอาชีพโดยมุ่งเน้นที่ระบบนิเวศเป็นหลัก” ประโยคสั้นๆ แต่บอกถึงการทำเกษตรอินทรีย์อย่างมีเป้าหมายของ จิราภา พิมพ์แสง ประธานวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดภัยฆ้องชัยพัฒนา และประธานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ ย้อนไปกว่า 10 ปี พื้นที่ตำบลแห่งนี้เคยมี “ดงสวนผึ้ง” ที่ จิราภา ยังจำได้ดีถึงช่วงเวลาที่เข้าไร่มันสำปะหลังและต้องคอยหลบหลีกผึ้ง “ที่นี่เคยเป็นป่ามีผึ้งเยอะมาก ชาวบ้านตีผึ้ง เก็บน้ำผึ้งขายกัน สมัยก่อนหาง่าย แต่หลังๆ หายากขึ้น” จิราภา ย้อนความถึงป่าที่เคยเป็นบ้านหลังใหญ่ของผึ้ง ด้วยวิธีการเก็บน้ำผึ้งของชาวบ้านที่รมควันแล้วตัดทั้งรัง บวกกับการเช่าพื้นที่ปลูกอ้อยในระบบเคมี ส่งผลให้ประชากรผึ้งลดน้อยลง จึงเป็นจุดเริ่มให้เธอต้องการฟื้น “ดงสวนผึ้ง” เริ่มต้นจากปลูกป่าเพื่อสร้างบ้านให้ผึ้ง โดยชักชวนญาติพี่น้องปลูกป่าในพื้นที่ตนเองคนละงานคนละไร่แทนการปล่อยเช่า เมื่อเริ่มได้พื้นที่ป่าคืนมา แล้วจะทำอย่างไรให้ผึ้งกลับมา เป็นโจทย์ที่เธอต้องการหาคำตอบ “นั่งฟังอาจารย์แล้วรู้สึกว่าทำไมผึ้งขยัน
น้ำเชื่อมจากผลลำไย อาหารเสริมสำหรับ “ผึ้งพันธุ์”
ดาวน์โหลดเอกสาร
“ชันโรง”: ผึ้งจิ๋ว รายได้แจ่ม
“ใช่ผึ้งมั้ย” “เก็บน้ำผึ้งขายได้มั้ย” คำถามยอดนิยมที่คุณวสันต์ ภูผา เกษตรกรสวนผลไม้และผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงชันโรง ได้ยินเสมอจากผู้มาเยี่ยมชม “ศูนย์สาธิตการเพาะเลี้ยงชันโรง (ผึ้งจิ๋ว)” ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม แต่กว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องชันโรงและมีศูนย์สาธิตเพาะเลี้ยงผึ้งจิ๋วแห่งใหญ่นี้ได้ ก็ไม่ใช่เรื่องจิ๋วๆ จาก “ผึ้ง” สู่ “ชันโรง” ตอบโจทย์สวนผลไม้ เช่นเดียวกับเกษตรกรทั่วไปที่ต้องการให้สวนผลไม้ตนเองมีผลผลิตเพิ่ม เมื่อรู้ว่าสวนลิ้นจี่ในพื้นที่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการเลี้ยง “ผึ้ง” ช่วยผสมเกสร คุณวสันต์ไม่รีรอที่จะเรียนรู้และลงทุนร่วมครึ่งล้านบาทเลี้ยงผึ้งในพื้นที่ของตน แต่กลับไม่เป็นดังที่คาดหวัง ด้วยพฤติกรรมของผึ้งที่จะผสมพันธุ์บนอากาศ จึงกลายเป็นอาหารอันโอชะของนกประจำถิ่นอย่าง “นกจาบคา” แม้สูญเงินจำนวนมากไปแล้ว แต่ด้วยความต้องการเพิ่มผลผลิตให้สวนผลไม้ตนเอง คุณวสันต์ย้อนนึกถึงแมลงผสมเกสรอีกชนิดหนึ่งที่คุ้นเคยมาแต่เด็ก “รู้ว่าชันโรงเป็นแมลงผสมเกสร ก็ไปแคะรังชันโรงที่อยู่ใต้เตียงนอนได้มา 4 รัง เอามาใส่รังที่เหลือจากการเลี้ยงผึ้ง ผ่านไป 6 เดือนจำนวนเพิ่มขึ้นเต็มรัง ก็ลองแยกรังเอง” แม้จะรู้ว่าชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรตระกูลเดียวกับผึ้ง เพียงแต่ไม่มีเหล็กไน
“เลี้ยงผึ้ง” ที่ได้มากกว่า “น้ำผึ้ง”
เรารู้จัก “ผึ้ง” ในฐานะแมลงผสมเกสรที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่ภายใต้เหล็กไนที่เป็นอาวุธประจำกาย แมลงตัวเล็กนี้ยังสัมพันธ์กับระบบนิเวศ ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน หรือแม้แต่งบประมาณค่ารักษาพยาบาลของประเทศ โดยมี “งานวิจัย” ที่เชื่อมโยงและสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่ามหาศาลของ “ผึ้ง” – – – – – – – – – – – – – – พื้นที่แปลงสับปะรด 25 ไร่ ถูกแปลงสภาพเป็นพื้นที่เกษตรผสมผสาน ปลูกไม้ผลไม้ดอก พืชผัก เลี้ยงเป็ด วัว ฯลฯ ซึ่ง แมนรัตน์ ฐิติธนากุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 ต.บ้านคา อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ตั้งใจให้พื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ หวังช่วยปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำเกษตรเชิงเดี่ยวอย่างสับปะรดให้ชาวบ้าน
ผึ้ง/ชันโรง
“ผึ้งและชันโรง” เป็นแมลงผสมเกสรดอกไม้ที่สำคัญ ช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร ขณะเดียวกันผลพลอยได้จากแมลงทั้งสองชนิด ไม่ว่าจะเป็น น้ำผึ้ง หรือไขผึ้ง ยังอุดมด้วยคุณค่าโภชนาการ และนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกด้วย บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ “เลี้ยงผึ้ง” ที่ได้มากกว่า “น้ำผึ้ง” “ชันโรง” : ผึ้งจิ๋ว รายได้แจ่ม สิ่งพิมพ์ น้ำเชื่อมจากผลลำไย อาหารเสริมสำหรับ “ผึ้งพันธุ์” ชันโรง แมลงผสมเกสรพืชชั้นยอด วิดีโอ Club Farm Day The Series ตอน เลี้ยงผึ้ง พึ่งเทคโนโลยี Club Farm Day The