“ได้ลงมือทำ ได้เห็นความเบิกบานและการเจริญเติบโตของพืชผักในทุกวัน” คือนิยามความสุขการทำเกษตรของ จุฬารัตน์ อยู่เย็น สาวน้อยบ้านทุ่งโป่ง ต.เมืองปาน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง แต่กว่าที่จะสัมผัสถึงความสุขนี้ได้ เธอต้องฟันฝ่ากับความคาดหวังของใครต่อใคร เพื่อไปให้ถึงความพอดีของชีวิตบนเส้นทางเกษตรที่เธอเลือก ชีวิตที่เติบโตในชุมชนที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และผลิตเมล็ดพันธุ์ส่งบริษัท ผลผลิตมากมายแต่รายได้ที่ครอบครัวเธอและชาวบ้านได้รับกลับสวนทาง จึงเป็นแรงผลักให้ จุฬารัตน์ ฝันที่จะเป็นนักส่งเสริมการเกษตรของบริษัท ด้วยหวังกลับมาช่วยชุมชนให้มีรายได้มากขึ้น เธอจึงตั้งใจเข้าเรียนที่คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำทางสู่อาชีพในฝัน “จากที่เคยเห็นแต่ข้าวโพด พอเข้ามาเรียนทำให้เห็นว่ามีหลายพืชมากทั้งผัก ไม้ผล ไม้ประดับ รุ่นพี่ก็แนะนำให้เรียนสาขาพืชผัก เพราะเป็นพืชที่คนเรากินทุกวันและมีงานให้ทำได้หลายอย่าง” ช่วงปลายของการเรียน จุฬารัตน์ รับรู้ว่ามีรุ่นพี่คณะเข้าร่วม “โครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่” ได้ฝึกงานกับบริษัทเมล็ดพันธุ์และได้กลับไปทำงานที่บ้านเกิดด้วย เธอจึงติดตามกิจกรรมของโครงการฯ และตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ในรุ่นที่ 2 โดยไม่ลังเล และได้ไปเรียนรู้งานกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักกี้ซีดส์อะโกร เป็นเวลา
“ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่” กลับบ้าน สร้างอาชีพ มีรายได้
“คิดอย่างเดียว ถ้าไปเป็นลูกจ้างเขา เหนื่อยก็เหนื่อยให้เขา ไม่ได้กลับบ้านซะที แต่ถ้าเราลองทำดู โครงการ 3 ปี ถ้าไม่ได้จริงๆ ค่อยว่ากัน” สุวิตรี แดนขนาน บอกไว้ในช่วงจบปีแรกที่เข้าร่วม “โครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ รุ่นที่ 1” ถึงวันนี้จบโครงการฯ แล้ว แต่ สุวิตรี ยังคงเดินบนเส้นทาง “ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์” “กลับมาปีแรก ไฟแรง อยากหาลูกไล่ล่ะ” สุวิตรี ย้อนความถึงวันที่กลับมา “สร้างอาชีพ” ที่บ้านเกิด หลังจบการศึกษาจากสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเพิ่มพูนทักษะการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่บริษัท สุพรีมโกลด์ จำกัด อีก 6 เดือนก่อนกลับมาผลิตเมล็ดพันธุ์มะระและถั่วฝักยาวส่งให้บริษัทฯ โดยมี วรนารี แดนขนาน พี่สาวที่เรียนจบด้านเกษตรและลาออกจากงานประจำมาร่วมด้วยช่วยกัน ด้วยมองว่า “ทำของตัวเอง เหนื่อยก็เป็นของเรา” “ตอนฝึกงานกับบริษัท เรียนรู้สบายๆ แต่กลับมาเจอของจริงที่บ้าน ต้องรับสภาพทุกอย่าง เป็นแรงงานด้วย เป็นคนดูด้วย ปีแรกยังไม่ท้อ