เทคโนโลยีสิ่งทอ

เทคโนโลยีสิ่งทอ

การทอผ้าเป็นศิลปะวัฒนธรรมของคนไทยที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยกรรมวิธีการถักทอเส้นใยธรรมชาติและการออกแบบลวดลายอันประณีตเป็นภูมิปัญญาเฉพาะที่สร้างอัตลักษณ์ให้ผ้าทอในแต่ละภูมิภาค แม้ปัจจุบันผ้าทอจากเส้นใยธรรมชาติถูกแทนที่ด้วยเส้นใยสังเคราะห์ แต่ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถสานต่อภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองให้คงอยู่ ทั้งยังลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มมูลค่าให้ผ้าทอพื้นเมืองอีกด้วย สท. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสิ่งทอที่นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพผ้าทอพื้นเมืองตั้งแต่กระบวนการผลิตเส้นใย การออกแบบ จนถึงการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมืองและเพิ่มรายได้ให้ชุมชน 1. การใช้เอนไซม์ ENZease (เอนอีซ) ในกระบวนการเตรียมผ้าฝ้าย โดยลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกในขั้นตอนเดียว 2. การผลิตสีผงธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่นและการเตรียมสีธรรมชาติสำหรับแม่พิมพ์จากวัสดุในท้องถิ่น 3. การเพิ่มคุณสมบัติพิเศษผ้าทอพื้นเมืองตั้งแต่ระดับเส้นใยจนถึงผลิตภัณฑ์ด้วยนาโนเทคโนโลยี บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ สืบสาน ต่อยอด ‘จกโหล่งลี้’ ลายผ้าโบราณด้วยนวัตกรรม “ทากิริ” ผ้าทอมือสร้างสมดุลธรรมชาติด้วยความรู้ สะท้อนภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยยาว ยกระดับ “ผ้าทอฝ้ายสามสี” ของดีบ้านก้อทุ่ง ด้วยนวัตกรรม ชีวนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา สร้างคุณค่า

นวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์-ยกระดับผ้าทอพื้นเมือง ผ้าชาติพันธุ์ จ.แม่ฮ่องสอน

นวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์-ยกระดับผ้าทอพื้นเมือง ผ้าชาติพันธุ์ จ.แม่ฮ่องสอน

สื่อความรู้ในโครงการ “นวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์และยกระดับผ้าทอพื้นเมือง ผ้าชาติพันธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

สวทช. หนุนนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าผ้าทอล้านนา

สวทช. หนุนนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าผ้าทอล้านนา

กลุ่มผ้าทอฯ ลำพูน ประยุกต์ใช้งานวิจัย สร้างจุดเด่นให้กับผ้าทอล้านนาตั้งแต่กระบวนการผลิตเส้นฝ้ายสู่ผ้าทอมือพื้นเมืองคุณภาพ ภายหลังจากสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) หน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัย 3 เทคโนโลยี ได้แก่ เทคโนโลยีเอนไซม์ เทคโนโลยีพิมพ์สกรีนผ้าด้วยสีธรรมชาติ และเทคโนโลยีสิ่งทอนาโน ช่วยกลุ่มผ้าทอจังหวัดลำพูน ต่อยอดการผลิตผ้าทอล้านนาจากภูมิปัญญาที่มีเอกลักษณ์ลวดลายเฉพาะตัวให้มีจุดเด่นทั้งในด้านคุณภาพของเส้นใย เนื้อผ้าที่ละเอียด การพิมพ์สกรีนผ้าด้วยสีธรรมชาติ และคุณสมบัติพิเศษด้านนาโนฯ เพื่อดูแลผลิตภัณฑ์ผ้าทอล้านนาให้เหมาะกับการใช้งานได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า สร้างรายได้ให้กลุ่มผ้าทอฯ เพิ่มขึ้นเท่าตัว ช่วยส่งเสริมอาชีพในท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น ด้าน สนง.พาณิชย์จังหวัดลำพูน เล็งหนุนตราสินค้า “ลำพูน แบรนด์” (Lamphun Brand) เพื่อให้ผ้าทอพื้นเมืองลำพูนที่ผสมผสานนวัตกรรมวิจัยสุดล้ำ ด้านหัตถอุตสาหกรรมให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)

เทคโนโลยีอื่นๆ

เทคโนโลยีอื่นๆ

เกริ่น บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ “ทากิริ” ผ้าทอมือสร้างสมดุลธรรมชาติด้วยความรู้ สะท้อนภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยยาว ยกระดับ “ผ้าทอฝ้ายสามสี” ของดีบ้านก้อทุ่ง ด้วยนวัตกรรม ชีวนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา สร้างคุณค่า “หม้อห้อมโบราณ” ‘ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ’ ผลิตภัณฑ์ Zero waste จากสวนมะพร้าว ยกระดับอาชีพกลุ่มสตรี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สานต่อ “ผ้าทอโบราณ” ด้วยความรู้และเทคโนโลยี สิ่งพิมพ์ วิสาหกิจชุมชนบ้านหนองเงือก: ชุมชนนวัตกรรมสิ่งทอ ชีวนวัตกรรม ‘ปุ๋ยชีวภาพอัดแท่ง’ เพิ่มผลผลิต ‘ต้นห้อม’ คุณภาพ กี่ทอมือยกดอกอัตโนมัติ นวัตกรรมยกระดับกี่ทอไทย สานต่อภูมิปัญญา “ผ้าทอพื้นเมือง” ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสิ่งทอพื้นเมือง วิดีโอ