สท. ร่วมหารือขับเคลื่อน “ผ้าทอมือและผลิตภัณฑ์ OTOP ศรีสะเกษ” ด้วยนวัตกรรม

สท. ร่วมหารือขับเคลื่อน “ผ้าทอมือและผลิตภัณฑ์ OTOP ศรีสะเกษ” ด้วยนวัตกรรม

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 นางสาวอัณณ์สุชา พฤกษ์สุนันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการพื้นที่ และนายวิวัฒน์ พร้อมพูน ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อน “ผ้าทอมือและผลิตภัณฑ์ OTOP ศรีสะเกษ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ หน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่าย ณ หอประชุมนันทพันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดย สท. ได้ร่วมนำเสนอนวัตกรรมพร้อมใช้ ได้แก่ นาโนเทคโนโลยีเคลือบเส้นใยเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ กันยูวี นุ่มลื่น กันแบคทีเรีย เพิ่มกลิ่นหอมสะท้อนน้ำ และเทคโนโลยีเอนไซม์ SilkPro ทำความสะอาดเส้นใย

“ทากิริ” ผ้าทอมือสร้างสมดุลธรรมชาติด้วยความรู้ สะท้อนภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยยาว

“ทากิริ” ผ้าทอมือสร้างสมดุลธรรมชาติด้วยความรู้ สะท้อนภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยยาว

แบรนด์ทากิริ เราตระหนักถึงทรัพยากรที่ใช้ไป เราสร้างสมดุลระหว่างธรรมชาติ ป่าและวิถีชีวิตให้ได้มากที่สุด เพราะเรารู้ดีว่าป่าคือ ชีวิต คือ วิถีชีวิตของพวกเราชาวกะเหรี่ยง -กิติพันธ์ ด่านวนาศรี- “การนำพืชมาใช้ประโยชน์ เราต้องให้ความรู้ชาวบ้านด้วยว่าจะใช้เฉพาะส่วนที่ใช้สีได้ ถากต้นไม้อย่างไรไม่ให้บอบช้ำมากและต้องรักษาแผลต้นไม้อย่างไร เพื่อให้เขาคงอยู่กับธรรมชาติต่อไป ไม่ใช่ตัดโค่นมาทั้งต้น “แบรนด์ทากิริ’ เราตระหนักถึงทรัพยากรที่ใช้ไป เราจะปลูกพืชให้สีในแปลงปลูกของเราเพื่อทดแทนและส่งเสริมการปลูกในพื้นที่ป่า สร้างสมดุลระหว่างธรรมชาติ ป่าและวิถีชีวิตให้ได้มากที่สุด เพราะเรารู้ดีว่าป่าคือ ชีวิต คือ วิถีชีวิตของพวกเราชาวกะเหรี่ยง” กิติพันธ์ ด่านวนาศรี แกนนำกลุ่มผ้ากะเหรี่ยงบ้านดอยยาว ต.ทากาศ อ.แม่ทา จ.ลำพูน บอกถึงจุดยืนของ “ทากิริ” แบรนด์ผ้าทอมือของกลุ่มฯ ทากิริ (TAKIRI) เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า ลาย ที่ครอบคลุมถึงลายผ้าทอ ลายผ้าปัก