เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยลัยกาฬสินธุ์ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการมัดย้อมฝ้าย” ให้กลุ่มผ้ามัดย้อมบ้านหนองชำไฮ ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ ผู้อำนวยศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้การใช้เอนไซม์เอนอีซทำความสะอาดผ้าฝ้าย การสกัดสีจากพืชในชุมชน เช่น ใบมะม่วงให้สีเหลืองอ่อน เปลือกเพกาให้สีเหลืองเข้ม โดยใช้สารส้ม น้ำปูนใสและดินทุ่งกุลาเป็นสารมอร์แดนท์* ทำให้เม็ดสีเข้มขึ้นและสีย้อมติดทนนาน ผู้เข้าร่วมอบรมได้ฝึกปฏิบัติมัดย้อมผ้าเช็ดหน้าและเสื้อเป็นลวดลายต่างๆ พร้อมต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของกลุ่มฯ และทดสอบจำหน่ายในงานกาชาดของจังหวัดศรีสะเกษช่วงปลายปีนี้ *มอร์แดนท์หรือสารช่วยย้อม คือ วัตถุธาตุที่ใช้ผสมสีเพื่อให้สีติดแน่นกับผ้าที่ย้อม มีทั้งที่ได้จากเคมีและธรรมชาติ เช่น เหล็ก ทองแดง สารส้ม ดิน เปลือกไม้
‘ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ’ ผลิตภัณฑ์ Zero waste จากสวนมะพร้าว
“คิดให้ไกล ไปทีละก้าว” คือแนวคิดการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์แบรนด์ We VergiN และ Buppha ของกลุ่มวิสาหกิจเกษตรสวนดอก ต.บางยี่รงค์ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ที่มีน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นส่วนประกอบหลัก ผลิตภัณฑ์แรกของกลุ่มฯ ที่นำทางไปสู่การจัดการวัสดุเหลือทิ้งในสวนมะพร้าว จากพนักงานบริษัทที่กลับมารับช่วงดูแลสวนมะพร้าวและลิ้นจี่ของพ่อแม่บนพื้นที่ 18 ไร่ บุปผา ไวยเจริญ คิดหาหนทางเพิ่มมูลค่ามะพร้าวจากราคาที่ตกต่ำเหลือลูกละ 3 บาท “ช่วงปี 2555 ราคามะพร้าวตกต่ำมาก จากลูกละ 15 บาท เหลือลูกละ 3 บาท จะทำยังไงได้บ้างที่จะเพิ่มมูลค่าได้ จนได้ไปดูงานการแปรรูปมะพร้าวและได้แนวคิดกลับมาผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น” บุปผา นำเทคนิคที่ได้จากการดูงานมาผสมผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ใช้กรรมวิธีไม่ผ่านความร้อน ทำให้ได้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นแบบบริสุทธิ์ที่คงสารสำคัญไว้มากสุด และกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างดี เธอจึงต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยมีน้ำมันมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก อาทิ