สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการผลิตพืชที่วิจัยและพัฒนาโดย สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร ถ่ายทอดสู่เกษตรกร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชให้ได้คุณภาพ ตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ไปถึงการผลิตผลสด อาทิ พริก มะเขือเทศ ฟักทอง ผักสลัด เป็นต้น บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ “ปลูกให้เป็น ปลูกให้มีกิน” สร้างความมั่นคงทางอาหารที่แนวชายแดน “สับปะรดบ้านสา” ผลผลิตคุณภาพ-สร้างมูลค่า ด้วยความรู้-ความใส่ใจ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ PGS ใต้ร่มบุญ : ปันความรู้ สร้างแนวร่วม พัฒนาไปด้วยกัน “ฟาร์มฝันแม่” ความฝัน ความจริง และความรู้เกษตรอินทรีย์ “สมุนไพรอินทรีย์” สร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรชีวภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน รู้หลักและจัดการ สร้างผลผลิตกาแฟ
มันสำปะหลัง
“มันสำปะหลัง” พืชหัวที่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่สำคัญรองจากข้าวและข้าวโพด ปลูกง่ายในพื้นที่เขตร้อนและร้อนชื้น ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังกว่า 8 ล้านไร่ เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ สร้างรายได้ปีละหลายแสนล้านบาท ไทยเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังรายใหญ่ของโลกและเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน สวทช. ร่วมกับเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) จัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี โปรแกรมมันสำปะหลัง (พ.ศ.2560-2564) เพื่อแก้ไขปัญหาด้านมันสําปะหลังของประเทศตลอดห่วงโซ่มูลค่าเพิ่ม 6 กรอบวิจัย ได้แก่ การประเมินเชื้อพันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์มันสําปะหลัง การเขตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตมันสําปะหลัง การเตือนการณ์ การป้องกัน กําจัดโรคและแมลงศัตรูมันสําปะหลังรวมทั้งวัชพืชมันสําปะหลัง การวิจัยและพัฒนา เครื่องจักรกลการเกษตรสําหรับมันสําปะหลัง การปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิตมันสําปะหลัง แป้งดัดแปร และผลิตภัณฑ์ใหม่จากมันสําปะหลัง และการศึกษานโยบาย การตลาด และสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ อย่างเป็นระบบ และสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่มีมูลค่าสูง เพิ่มรายได้และสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่เกษตรกร ส่งผลให้มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้น สท./สวทช.
ข้าวและพืชหลังนา
“ข้าว” เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตคนไทยทั้งในแง่ของการผลิตและบริโภค จากการผลิต “ข้าว” เพื่อบริโภคภายในครัวเรือนสู่การผลิตเพื่อจำหน่ายในระบบอุตสาหกรรม ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตข้าวอันดับ 6 ของโลก และส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก (ปี 2559) สร้างรายได้ให้ประเทศปีละหลายแสนล้านบาท จากสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการผลิตข้าวและพืชเกษตร สวทช. กำหนดยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนา การปรับตัวภาคการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระยะที่ 3 (2560-2564) เพื่อสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อใช้ปรับปรุงพันธุ์พืชที่ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลิตพืชที่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเทคโนโลยีการพยากรณ์และระบบเตือนภัย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียอันเกิดจากภัยพิบัติและศัตรูพืช นอกจากเทคโนโลยีและนวัตกรรม “ข้าว” แล้ว สวทช. ยังได้สนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา “พืชหลังนา” เช่น ถั่วเขียว งา ซึ่งเป็นพืชที่ไม่เพียงช่วยปรับปรุงบำรุงดินหลังเก็บเกี่ยวข้าว หากยังสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกรอีกด้วย บทความ สิ่งพิมพ์